เหตุกราดยิงครั้งล่าสุดในโรงเรียน ที่อยู่เมืองแนชวิลล์ เมื่อกลางดึกวันจันทร์ที่ผ่านมา บรรดาบริษัทในสหรัฐต่างพากันปิดปากเงียบ
แม้มีบางส่วนที่ได้เปลี่ยนนโยบายเพื่อควบคุมความรุนแรงและจำกัดการใช้ปืน แต่ผลที่เกิดขึ้น คือพวกเขาถูกกระแสตีกลับ และถูกตอบโต้อย่างรุนแรงจากฝ่ายนิติบัญญัติของพรรครีพับลิกัน
บริษัทใหญ่ทยอยปรับตัว นโยบายเรื่องการใช้ปืน แต่ภาครัฐกลับนิ่งเฉย
จากเหตุกราดยิงที่โรงเรียนมัธยม ในเมืองพาร์คแลนด์ รัฐฟลอริดา เมื่อปี 2561 ทำให้บรรดาบริษัทที่ยักษ์ใหญ่ในอเมริกาเร่งรัดนโยบายความปลอดภัยการใช้ปืนอย่างจริงจัง
ไม่ว่าจะเป็น บริษัท Dick's Sporting Goods ที่หยุดขายปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติแบบจู่โจมในร้านค้า ส่วนบรัษัท ซิตี้กรุ๊ป กำหนดข้อจำกัดใหม่ ขายปืนให้เฉพาะลูกค้าภาคธุรกิจเท่านั้น
นอกจากนี้ หลังจากการกราดยิงที่ร้านสะดวกซื้อวอลมาร์ท ในเมืองเอลพาโซ รัฐเท็กซัส และไนต์คลับในเมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ 1 ปีต่อมา ร้านวอลมาร์ทก็ยุติการขายกระสุนปืนพก
ท่ามกลางการปรับนโยบายของภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการใช้ปืนอย่างปลอดภัย แต่องค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับควบคุมการใช้อาวุธปืนในสหรัฐ กลับไม่มีบทบาทเข้ามาจัดการปัญหาแต่อย่างใด
สังคมเรียกร้องภาคธุรกิจเข้ามามีบทบาทการควบคุมอาวุธปืนมากขึ้น
บรรดาผู้สนับสนุนการใช้ปืนอย่างปลอดภัย ให้ความเห็นว่า ภาคธุรกิจควรมี “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ดูแลทั้งลูกค้า และพนักงานของตัวเองให้ปลอดภัยจากความรุนแรงของปืน นอกจากนี้ยังเสนอว่า
มีข้อมูลว่า บริษัทบางแห่งรวมถึงผู้ผลิตปืน ที่ขัดขวางกฎหมายที่จำกัดการใช้อาวุธปืน เป็นเพราะพวกเขาเกรงว่ากฎระเบียบใหม่นั้นจะกระทบกับธุรกิจของตัวเอง ขณะที่บางส่วนไม่คิดว่าตัวเองต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบเรื่องนี้
ขณะที่บางบริษัทก็หลีกเลี่ยงจะพูดถึงปัญหาเรื่องปืน เพราะกลัวว่าจะถูกกระแสต่อต้านทั้งจากผู้ฝั่งสนับสนุนและฝั่งคัดค้านการใช้ปืน
ปืนเป็น 1 ในประเด็นร้อนแรงที่สุดในสหรัฐขณะนี้
"จูเลียน เซไลเซอร์" ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และกิจการสาธารณะ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มองว่า “ในยุคที่มีการเเบ่งขั้ว” บริษัทส่วนใหญ่ต้องหลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถามในประเด็นอ่อนไหวนี้
“แม้ว่าผู้บริหารจะมองเห็นความจำเป็นในการควบคุมอาวุธปืน แต่พวกเขาก็ไม่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมกับปัญหา ที่อาจก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากผู้บริโภคบางกลุ่ม” เซไลเซอร์กล่าว
ภาคธุรกิจควรมีบทบาทการใช้ปืนที่ปลอดภัยมากขึ้นหรือไม่?
“พอล อาร์เจนติ” ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัย Dartmouth ตั้งคำถามว่า ภาคธุรกิจเหล่านี้มีศักยภาพที่จะสร้างความแตกต่างได้หรือไม่ และมีกลไกใดบ้างที่จะทำให้พวกเขาเข้ามามีบทบาทมากเรื่องนี้มากขึ้น
“บริษัทเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นอะไร ยกเว้นแต่พวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และพวกเขาก็ไม่ใช่องค์กรการกุศลที่ต้องรับผิดชอบสังคม”
แต่ในระยะหลายปีที่ผ่านมาหลายบริษัทเริ่มกำหนดพันธกิจของตัวเอง นอกจากรักษาผลประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นแล้ว ยังต้องรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ทั้งลูกค้า พนักงาน ซัพพลายเออร์ และ ชุมชนด้วย
“อิกอร์ วอลส์กี้” ผู้อำนวยการกลุ่มผู้สนับสนุน Guns Down America กล่าวว่า "ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจที่ผลิตปืนโดยตรง ขายปืน หรือเป็นร้านขายของชำ 'ความรุนแรงของปืนก็มาถึงหน้าบ้านคุณแล้ว'
ดังนั้น คุณมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลลูกค้า พนักงาน และชุมชนให้ปลอดภัย”
ที่มา : CNN