การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค กำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
กำหนดการที่สำคัญ ในช่วง สัปดาห์การประชุมผู้นำฯ นี้ (14-19 พ.ย.) จะเริ่มจาก
14 พฤศจิกายน 2565
15 – 16 พฤศจิกายน 2565
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งสุดท้าย เพื่อสรุปผลการทำงานที่สำคัญของเอเปคตลอดทั้งปี เจรจาจัดทำเอกสารผลลัพธ์การประชุม และเตรียมการสำหรับ 2 การประชุมสำคัญที่จะมีตามมา คือ
16 – 18 พฤศจิกายน 2565
17 พฤศจิกายน 2565
18 – 19 พฤศจิกายน 2565
นอกจากนี้ เพื่อให้การหารือของผู้นำสะท้อนมุมมองของหุ้นส่วนสำคัญของเอเปคได้อย่างครอบคลุม ไทยในฐานะเจ้าภาพฯ ได้เชิญนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียน มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรี ซาอุดีอาระเบีย และประธานาธิบดีฝรั่งเศส เข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปคในฐานะ “แขกพิเศษ” ด้วย เพื่อหารือร่วมกันถึงแนวทางการขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืนระหว่างเอเปคกับคู่ค้านอกภูมิภาค และแนวทางการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ
สำหรับรายละเอียดมี ดังนี้
18 พ.ย. 2565
19 พ.ย. 2565
การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 29 อย่างไม่เป็นทางการ ช่วงที่2 เรื่องการค้าและการลงทุนที่เปิดกว้างและยั่งยืน จากนั้น 11.30-11.45 น. จะมีการแถลงข่าวโดยนายกรัฐมนตรี
ภายหลังการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 29 เสร็จสิ้นลง นายกฯมีกำหนดหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำจีน และนางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
การจัดประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้ไทยได้แสดงศักยภาพและความพร้อมในการต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมตลอดทั้งสัปดาห์ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ “green meeting” พร้อมกับการนำเสนอความโดดเด่นทางวัฒนธรรมผ่านอาหารไทย ของที่ระลึก และการแสดงทางวัฒนธรรมซึ่งนอกจากจะแสดงออกถึงภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์และความงดงามของศิลปวัฒนธรรมไทยแล้ว ยังสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่เน้นส่งเสริมความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญของการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2022 ของไทยในปีนี้
เกี่ยวกับผู้นำและตัวแทนที่จะเข้าร่วมประชุม
การประชุมครั้งนี้จะมีผู้นำเดินทางมาร่วมประชุมด้วยตนเอง จำนวน 14 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม จีน ฮ่องกง บรูไน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น แคนาดา และชิลี
ส่วนเขตเศรษฐกิจที่ส่งผู้แทนมาร่วมประชุม มีจำนวน 6 เขต ได้แก่ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก และเปรู
มีรายนามผู้นำและตัวแทนผู้นำ ดังนี้ (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเขตเศรษฐกิจในภาษาอังกฤษ)
ส่วน 3 แขกพิเศษ ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้