พูดถึงกันมากในช่วงนี้ ก็คงหนีไม่พ้น เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ Climate Change ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่ยังจะเป็นปัจจัยแรกๆ ที่มีผลอย่างมากต่อทิศทางการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
ประเทศไทยเองได้ประกาศเป้าหมายสำคัญในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ.2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 จากการประชุม COP26 การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นหนึ่งในนโยบายของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ดังนั้น การเผชิญหน้ากับภาวะโลกร้อน จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญที่ภาคธุรกิจทุกสายงานต้องเผชิญหน้าอย่างจริงจัง และจำเป็นต้องให้การตอบสนองที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคตของธุรกิจทุกประเภท
ภาคธุรกิจจะต้องปรับตัว เพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน ประกอบด้วย
1.เพิ่มการใช้พลังงานที่มีการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดใช้พลังงานที่มาจากแหล่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การลงทุนในพลังงานทดแทนและพลังงานที่มีความสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และลม
2.การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดการใช้สารเคมีและทรัพยากรในกระบวนการผลิต การใช้วัตถุดิบที่มีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน และการเพิ่มความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐาน
3.การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีระดับคุณภาพสูงและมีการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง การส่งเสริมการใช้งานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการให้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ภาคธุรกิจที่ปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน และกฎระเบียบ Green Economy ไม่เพียงแต่จะมีส่วนสำคัญในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และการพัฒนาที่ทันสมัย สร้างคุณค่าไม่เพียงแต่สำหรับภาคธุรกิจเอง แต่ยังสร้างประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืน และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
การตั้งเป้าลดคาร์บอน จึงไม่ได้เป็นเป้าหมายของแต่ละประเทศเท่านั้น แต่กลายเป็นเป้าหมายของบริษัทชั้นนำทั่วโลก ที่ต้องบรรลุให้ได้ ดังนั้น ในแต่ละประเทศ จึงต้องออกนโยบายและกฎระเบียบเพื่อรองรับ
ขณะที่ประเทศไทย ถือว่ามีจุดแข็งหลายปัจจัย ที่สอดคล้องกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ที่จะเป็นแหล่งรองรับการลงทุนในอนาคตสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ซัพพายเชนจ์ บุคลากร
ที่สำคัญ ยังมีนโยบายในการสนับสนุนการลงทุนธุรกิจสีเขียวที่ชัดเจนทั้งจากบีโอไอ และหน่วยงานอื่น เพื่อให้ภาคเอกชนเปลี่ยนผ่านไปสู่การลงทุนสีเขียว