ทิศทางเศรษฐกิจไทย 2566 ปีเถาะ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกถดถอย จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลต่อราคาน้ำมันและต้นทุนอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อเรื่องเงินเฟ้อ โดยเฉพาะประเทศทางฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า เรื่องที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจไทยปี 2566 คือเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะกระทบภาคการส่งออก แต่คงไม่มาก เพราะสินค้าอื่นยังมีโอกาส โดยเฉพาะหมวดอาหาร เห็นได้จากช่วงไตรมาส 3 เข้าสู่ไตรมาส 4 ปี 2565 ที่ราคาพืชผลเกษตรดีขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อมาจากภาคการเกษตรส่วนหนึ่ง
เศรษฐกิจไทย 2566 โต 3.8%
ดังนั้นจึงคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะยังรักษาการเติบโตไว้ได้ที่ 3.8% ในปี 2566 จากที่คาดว่า จะขยายตัว 3.2% ในปี 2565 ที่ได้รับอานิสงส์มาจากจำนวนนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน แม้รายได้ไม่ถึงเป้า แต่ถือว่าปริมาณดีขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกคาดว่า จะทำได้ 8% และการใช้จ่ายภายในประเทศ
“ผมเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 ยังมีโมเมนตันเรื่องการเจริญเติบโต เพราะเศรษฐกิจไทยค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นไป ซึ่งนอกจากการบริโภคแล้ว ยังมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการลงทุนของภาครัฐ รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะเป็นแรงส่งที่สำคัญ โดยรัฐบาลมีโครงการธงนำอยู่ คือ EEC ขณะนี้ขับเคลื่อนไปได้ แต่จะต้องมีการเร่งมากขึ้น เพื่อความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน”นายอาคมกล่าว
3 ประเด็นท้าทายเศรษฐกิจไทย ปีเถาะ 2566
นายอาคมมองว่า การที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการลงทุน ก็ต้องมองความท้าทายในอนาคตที่จะเผชิญกับ คือ
นโยบายการคลังปี 2566
นายอาคมกล่าวถึงนโยบายการคลังว่า กระทรวงการคลังได้มีการส่งสัญญาณการขาดดุลลดลง เพื่อความยั่งยืนทางการคลังในอนาคตด้วย ส่งผลให้ปีงบประมาณ 2566 ได้มีการตั้งงบประมาณขาดดุลลดลง 5,000 ล้านบาทเหลือขาดดุล 6.95 แสนล้านบาท จากปีงบประมาณ 2565 ที่ขาดดุลเต็มเพดาน 7 แสนล้านบาท
ดังนั้นในปีงบประมาณต่อไป จะตั้งงบขาดดุลลดลงไปอีก ส่วนจะมีโอกาสเห็นการตั้งงบประมาณที่สมดุลหรือไม่นั้นมองว่า จะต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งหากต้องการให้สมดุลเร็ว จะต้องพิจารณาในเรื่องการจัดเก็บรายได้ด้วย เพราะหากเก็บรายได้ได้มากก็จะขาดดุลได้น้อยลง
อย่างไรก็ตามประเด็นที่สำคัญคือ การจัดเก็บรายได้รัฐต้องเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่สัดส่วนการจัดเก็บรายได้อยู่ที่ประมาณ 14%ต่อจีดีพี ซึ่งลดลงจากปี 2539 ที่เคยอยู่ที่ 18%ต่อจีดีพี เพราะที่ผ่านมา มีเฉพาะปรับลดอัตราภาษี แต่ไม่ได้เพิ่มเลย
"หากจะดูศักยภาพการจัดเก็บรายได้นั้น ต้องดูว่า สัดส่วนการจัดเก็บของทั่วโลกอยู่ที่เท่าใด โดย 20%ต่อจีดีพี ถือว่าตามมาตรฐาน แต่เราต่ำกว่ามาตรฐาน ฉะนั้นต้องขยับรายได้ขึ้น จึงจะสามารถปิดช่องว่างการขาดดุลงบประมาณได้ และต้องมีการหารือกับสำนักงบประมาณ ด้วยว่า รายจ่ายที่ไม่จำเป็นต้องลดน้อยถอยลงไป”นายอาคมกล่าวทิ้งท้าย