ฝีมือการบริหารธุรกิจของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่บริหาร บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ธุรกิจผลิตน้ำมันรำข้าว ของครอบครัว เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมาก
พร้อมกับคำถามว่า “พิธา” สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ จากบริษัทที่ขาดทุน สู่บริษัทที่สร้างกำไรมหาศาล สามารถปลดหนี้ 100 กว่าล้านบาท ให้กับธุรกิจของครอบครัว นำธุรกิจก้าวเป็นผู้ผลิตน้ำมันรำข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลาเพียง 2 ปี และพัฒนายอดขายสู่ระดับพันล้านบาท จริงหรือไม่
เมื่อตรวจสอบข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท มีนายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ บิดาของนายพิธา เป็นกรรมการเพียงคนเดียว ต่อมาได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเเป็น 50 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2548 โดยมีชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้ามาเป็นกรรมการเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ถึง 6 มีนาคม 2560 รวมระยะเวลาประมาณ 10 ปี
หากดูจากผลการดำเนินงานของบริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ในช่วงที่ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นกรรมการและดำรงตำแหน่ง Co-Founder & Managing Director พบว่าในช่วงปี 2549-2555 รายได้ของบริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดดจาก 18.8 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 1,045.2 ล้านบาทในปี 2555
ขณะที่รายจ่ายของบริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ก็เพิ่มขึ้นจาก 26.5 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 1,008.7 ล้านบาท ในปี 2555 เช่นเดียวกับต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นจาก 2.3 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 14.8 ล้านบาท ในปี 2555
ด้านกำไร บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด เพิ่มขึ้นจากขาดทุน 10 ล้านบาทในปี 2550 เป็นมีกำไร 31.9 ล้านบาทในปี 2554 และ 16.3 ล้านบาทในปี 2555 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2556-2560 ผลการดำเนินงานของบริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด มีรายได้ลดลงจากรายได้รวม 758.2 ล้านบาท ในปี 2556 ลดลงมาเหลือ 107.5 ล้านบาทในปี 2560 ขณะที่รายจ่ายเมื่อเทียบกับรายได้ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานมีกำไรลดลง และเริ่มประสบกับภาวะขาดทุนในปี 2559 จำนวน 145.6 ล้านบาท และปี 2560 ขาดทุน 98.98 ล้านบาท
งบการเงิน บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด 2549-2560
ปี 2549 บริษัทมีรายได้รวม 18,824,352.43 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 26,583,099.37 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 2,338,552.74 บาท ขาดทุนสุทธิ 10,097,299.68 บาท
ปี 2550 บริษัทมีรายได้รวม 338,548,895.19 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 326,333,785.99 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 4,955,501.01 บาท กำไรสุทธิ 7,259,608.19 บาท
ปี 2551 บริษัทมีรายได้รวม 649,480,177.35 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 631,724,292.86 บาท ต้นทุนทางการเงิน 4,631,958.06 บาท กำไรสุทธิ 10,174,195.40 บาท
ปี 2552 บริษัทมีรายได้รวม 497,288,883.76 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 486,837,215.66 บาท ต้นทุนทางการเงิน 5,527,944.90 บาท กำไรสุทธิ 3,179,236.13 บาท
ปี 2553 บริษัทมีรายได้รวม 681,949,427.27 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 673,292,665.98 บาท ต้นทุนทางการเงิน 7,007,129.70 บาท กำไรสุทธิ 1,076,758.40 บาท
ปี 2554 บริษัทมีรายได้รวม 1,040,204,768.48 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 984,031,790.90 บาท ต้นทุนทางการเงิน 9,350,432.59 บาท กำไรสุทธิ 31,993,074.37 บาท
ปี 2555 บริษัทมีรายได้รวม 1,045,280,150.06 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 1,008,715,008.12 บาท ต้นทุนทางการเงิน 14,807,969.18 บาท กำไรสุทธิ 16,327,468.92 บาท
ปี 2556 บริษัทมีรายได้รวม 758,200,674.15 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 744,510,559.07 บาท ต้นทุนทางการเงิน 13,114,791.63 บาท กำไรสุทธิ 470,222.32 บาท
ปี 2557 บริษัทมีรายได้รวม 937,955,109.56 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 917,868,209.83 บาท ต้นทุนทางการเงิน 15,513,178.83 บาท กำไรสุทธิ 3,424,916.90 บาท
ปี 2558 บริษัทมีรายได้รวม 675,457,764.59 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 656,672,930.53 บาท ต้นทุนทางการเงิน 18,015,398.46 บาท กำไรสุทธิ 433,099.20 บาท
ปี 2559 บริษัทมีรายได้รวม 518,576,041.04 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 642,006,186.04 บาท ต้นทุนทางการเงิน 22,207,634.46 บาท ขาดทุนสุทธิ 145,637,779.46 บาท
ปี 2560 บริษัทมีรายได้รวม 107,523,823.80 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 183,008,879.52 บาท ต้นทุนทางการเงิน 23,501,925.35 บาท ขาดทุนสุทธิ 98,986,981.07 บาท
ฐานเศรษฐกิจยังได้ตรวจสอบ งบดุลของ บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวสะท้อนสถานะทางการเงิน และฝีมือในการบริหารธุรกิจของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พบว่า บริษัทเริ่มประสบปัญหาทางการเงินในปี 2559 มีหนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์ 43.14 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 142.1 ล้านบาทในปี 2560 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
งบดุล บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ 2549-2560
ปี 2549 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 152,436,185.51 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 215,219,949.66 บาท และหนี้สินรวม 62,783,764.15 บาท
ปี 2550 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 151,883,286.77 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 246,892,890.40 บาท และหนี้สินรวม 95,009,603.63 บาท
ปี 2551 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 155,973,452.93 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 239,971,984.75 บาท และหนี้สินรวม 83,998,531.82 บาท
ปี 2552 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 152,557,845.09 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 316,455,661.18 บาท และหนี้สินรวม 163,897,816.09 บาท
ปี 2553 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 147,557,860.01 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 337,693,506.47 บาท และหนี้สินรวม 190,135,646.46 บาท
ปี 2554 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 91,538,411.84 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 294,832,891.33 บาท (ปรับปรุงใหม่) และหนี้สินรวม 203,294,479.49 บาท
ปี 2555 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 98,162,187.57 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 337,081,499.51 บาท และหนี้สินรวม 238,919,311.94 บาท
ปี 2556 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 98,632,409.89 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 425,449,769.89 บาท และหนี้สินรวม 326,817,360.00 บาท
ปี 2557 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 102,057,326.79 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 429,567,876.28 บาท และหนี้สินรวม 327,510,549.49 บาท
ปี 2558 บริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน 102,490,335.99 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 523,786,446.65 บาท และหนี้สินรวม 421,296,110.66 บาท
ปี 2559 บริษัทมีหนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์ 43,147,443.47 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 426,450,143.75 บาท และหนี้สินรวม 469,597,587.22 บาท
ปี 2560 บริษัทมีหนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์ 142,134,424.54 บาท โดยมีสินทรัพย์รวม 351,527,074.72 บาท และหนี้สินรวม 493,661,499.26 บาท
จากการตรวจสอบรายงานผู้ตรวจสอบบัญชีพบว่า ในปี 2560 ผู้ตรวจสอบบัญชีได้ตรวจสอบบัญชีแล้วแสดงความเห็นว่างบการเงินบริษัทไม่ถูกต้อง พร้อมแสดงความเห็นในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 ว่า ปี 2560 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิจํานวน 98.99 ล้านบาท มีหนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์รวมจํานวน 48.55 ล้านบาท ซึ่งบริษัทยังไม่สามารถเจรจาต่อรองหรือหาแหล่งเงินทุนมารองรับสถานการณ์ดังกล่าว
แสดงให้เห็นว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสําคัญมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดําเนินงานต่อเนื่องของบริษัท ซึ่งมีผลทําให้งบการเงินสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2560 ควรถูกจัดทําตามเกณฑ์ที่เหมาะสมกับกิจการที่ไม่ดําเนินงานต่อเนื่อง แต่ผู้บริหารของบริษัทยังคงจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะภายใต้ข้อสมมติฐานการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องของบริษัท
โดยถือว่าการขายหรือเรียกคืนสินทรัพย์และการจ่ายชําระหนี้สินของบริษัทจะเป็นไปตามปกติธุรกิจ โดยไม่คาดว่าจะมีการหยุดชะงักของการดําเนินงานตามปกติของบริษัท หากบริษัทจัดทํางบการเงินตามการดำเนินงานต่อเนื่อง หลายๆ องค์ประกอบในงบการเงินนี้จะได้รับผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญ
ทั้งหมดนี้คือฝีมือในการ บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ธุรกิจผลิตน้ำมันรำข้าว ของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ในอดีต