กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา หรือ Economics Tourism and Sports Division เผยแพร่รายงานสรุปดัชนีการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว ปี 2567 (Travel and Tourism Development Index 2024) ซึ่งเป็นการจัดอันดับโดยWorld Economic Forum (WEF) หรือ สภาเศรษฐกิจโลก
โดยTravel and Tourism Development Index (TTD) เป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว โดยพิจารณาจาก 5 เสา (Pillar) ซึ่งประกอบไปด้วย 17 ปัจจัย และ 102 ตัวชี้วัด จาก 119 ประเทศทั่วโลก สำหรับปี 2567 ประเทศไทยได้รับการจัดลำดับ (TTDI) เป็นลำดับที่ 47 ได้คะแนนเป็นจำนวน 4.12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 7 ประเทศไทยมีอันดับที่ลดลงจากเดิมในปี 2564 ประเทศไทยได้ลำดับที่ 35 มีคะแนน 4.28 คะแนน
สำหรับรายละเอียดการจัดอันดับในด้านต่างๆ เป็นดังนี้
ในขณะเดียวกัน ปัจจัยที่ต้องพึ่งระวังและพิจารณากำกับดูแลและพัฒนาให้ดีขึ้นคือ ปัจจัยผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของการเดินทางท่องเที่ยว ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 106 จาก 119ประเทศทั่วโลก และปัจจัยด้านความมั่นคงปลอดภัย ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 102 จาก 119ประเทศทั่วโลก
สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยปี 2566-2567 ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ฟื้นคืนกลับมาอย่างมั่นคงด้วยการท่องเที่ยว โดยในปี 2566 อุปสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยวขยายตัวค่อนข้างมาก จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสะสมเป็นจำนวน 28.150 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 154 จากปี 2565 หรือฟื้นคืนกลับมาร้อยละ 70 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562
ในขณะที่มีคนไทยเดินทางท่องเที่ยวเป็นจำนวน 185.66 ล้านคน-ครั้ง ซึ่งการท่องเที่ยวไทยถือว่าสูงกว่าปี 2562 แล้วที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทยเป็นจำนวน 172.14 ล้านคน-ครั้ง ทั้งนี้ ในปี 2566 การท่องเที่ยวไทยสามารถสร้างรายได้รวมจากการท่องเที่ยวเป็นจำนวนกว่า 2.09 ล้านล้านบาท ก่อให้เกิด Tourism GDP ประมาณร้อยละ 12.84 ของ GDP รวมของประเทศ
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการจ้างงานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประมาณ 4.48 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนต่อการจ้างงานทั้งประเทศถึงร้อยละ 11.21 โดยการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเป็น
ผลสืบเนื่องมาจากการที่ภาครัฐออกมาตรการวีซ่าฟรีให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน คาซัคสถาน อินเดีย และไต้หวัน เป็นการชั่วคราว
มีการขยายตัวของอุปทานภาคการท่องเที่ยวทั้งการกลับคืนมาของสาขาที่พัก และการขยายจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการจัดเทศกาลงานอีเวนต์ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในไทย มีเป้าหมายว่าภายในปี 2567 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวน 3.5 ล้านล้านบาท
ดังนั้น จากรายงานการศึกษา TTDI ฉบับนี้ ได้สะท้อนถึงความเป็นไปและความพร้อมของประเทศไทยในการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวด้านอุปทาน(Supply Side) อย่างเป็นระบบ ประเทศไทยจึงควรพิจารณาในการจัดทำนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการเดินทางและท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดการสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจากเป็นดัชนีที่ได้รับคะแนนน้อยที่สุด (หรือลำดับท้ายๆ ในขณะเดียวกัน ในอันดับที่อยู่ในระดับสูง และระดับกลางจำเป็นต้องยกระดับให้มีคะแนนที่สูงขึ้นและได้อันดับที่ดีขึ้นในเวทีสากล
สำหรับปัจจัยที่มีการลดอันดับลง อาจจะต้องมีการพิจารณาถึงเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอันดับเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของไทยอย่างยั่งยืน และยังคงเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย สร้างการจ้างงาน และลดความเหลื่อมล้ำ จึงควรมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันพัฒนาให้เกิดการยกระดับการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงต่อไป