ในที่สุด TOR เปิดประมูลข้าว 10ปี ก็ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) ประกาศ TOR เรื่อง การจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 1/2567 เปิดประมูลข้าวข้าวหอมมะลิจาก คลังกิตติชัย หลัง 2 (ข้าวหอมมะลิ 100%) จำนวน 11,656 ตัน (112,711 กระสอบ) และคลัง บจก.พูนผลเทรดดิ้ง หลัง 4 (ข้าวหอมมะลิ 100%) จำนวน 3,356 ตัน (32,879 กระสอบ) ด้วยการยื่นชองประมูล แบบเหมาคลังตามสภาพของข้าวที่เก็บรักษาที่มีอยู่จริง
โดยมีไทม์ไลน์ ประมูลข้าว 10ปีดังนี้
ข้อสังเกตที่น่าสนใจในเงื่อนไขการประมูลครั้งนี้คือ เป็นการจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐเป็นการทั่วไป ซึ่งผู้ซื้อจะนำข้าวไปขายในประเทศหรือส่งออกก็ได้ และในขั้นการขอเข้าดูตัวอย่างข้าวก่อนยื่นของเสนอซื้อ ที่จะเปิดให้ผู้ยื่นซองเข้าประมูลขอเข้าดูตัวอย่างข้าวได้ที่คลังสินค้าแต่ละแห่งนั้น
ในข้อ 4.2 ระบุว่า ให้ผู้ประมูลดูตัวอย่างข้าวทางกายภาพด้วยสายตาเพื่อประกอบการพิจารณาเสนอราคาซื้อข้าวในคลังสินค้าเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำตัวอย่างข้าวออกนอกคลังสินค้า หรือดำเนินการตรวจสอบด้วยวิธีอื่ใดกับข้าวในคลังสินค้า ทั้งนี้ องค์การคลังสินค้าขอสงวนสิทธิ์ในการเปิด - ปิดคลังสินค้าตามความเหมาะสม
สำหรับผู้ชนะการประมูลได้กำหนดไว้ใน TOR ว่าจะต้องทำสัญญาซื้อขายข้าวสารกับ อคส. ภายใน 15 วันทำการ นับแต่วันที่แจ้งผลเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผู้เสนอซื้อต้องวางหลักประกันเป็นเงินสด หรือเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารหรือเช็คธนาคาร (CASHIER'S CHEQUE) ที่ออกโดยธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
สั่งจ่าย อคส.ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าข้าวสารที่ได้ตกลงซื้อขาย หากผู้เสนอราคาซื้อที่ได้รับคัดเลือกไม่มาทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด จะถูกริบหลักประกัน
ในกรณีที่จะนำข้าว 10ปี ส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้ชี้แจงถึงมาตรฐานคุณภาพข้าวส่งออกว่า การส่งออกข้าวหอมมะลิไทย มีการกำกับดูแลและควบคุมคุณภาพ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ.2503 ซึ่งกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพไว้ชัดเจน ดังนั้น ข้าวหอมมะลิที่จะนำไปส่งออก จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานก่อน หากไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ก็จะไม่มีการออกใบรับรอง และไม่สามารถส่งออกได้
โดยผู้ประสงค์ส่งออกข้าวหอมมะลิไทย จะต้องยื่นคำร้องต่อกรมการค้าต่างประเทศ ขอให้ออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย และต้องแจ้งให้บริษัทผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (บริษัทเซอร์เวย์) ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้า โดยมีพนักงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้าไปสุ่มกำกับการทำงานของผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (เซอร์เวย์เยอร์) และเมื่อผลการตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐาน ก็จะออกใบรับรองให้ผู้ส่งออกไปประกอบพิธีการศุลกากร เพื่อส่งออกข้าวหอมมะลิไทยได้
รอบแรก
รอบสอง
แต่หากผู้ซื้อจะนำข้าวไปขายในประเทศ กรมการค้าภายในก็ได้มีการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายในประเทศไว้ชัดเจนเช่นเดียวกัน หากไม่ผ่านมาตรฐาน ก็จะไม่อนุญาตให้ใช้ตรารับรอง หรือหากสุ่มตรวจแล้ว พบว่า ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ก็จะตักเตือน พักใช้ หรือเพิกถอนการใช้ตรารับรองก็ได้
ซึ่งมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ได้กำหนดมาตรฐานว่า ลักษณะเมล็ดข้าว เป็นข้าวเมล็ดยาวมีความขาว ท้องไข่น้อยโดยธรรมชาติ ข้าวเต็มเมล็ดยาวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 7 มิลลิเมตร อัตราความยาวเฉลี่ยต่อความกว้างของข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่มีส่วนใดหัก ต้องไม่ต่ำกว่า 3.2 : 1
คุณสมบัติทางเคมีและการหุงต้ม มีปริมาณอมิโลส(ค่าความนุ่ม) 13-18% ที่ระดับความชื้น 14% มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ซึ่งมีค่าการสลายเมล็ดในด่าง ระดับ 6-7 เมื่อหุงเป็ฯข้าวสวยแล้วเมล็ดข้าวสวยจะอ่อนนุ่ม