เอกชนยักษ์ใหญ่รวมพลัง TSCN ชู SX TSCN Sustainability Award ยกระดับไทยยั่งยืน

18 ต.ค. 2567 | 09:05 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ต.ค. 2567 | 09:37 น.

เอกชนตอกย้ำพลังร่วม ชู SX TSCN Sustainability Award กระตุ้นให้เกิดการทำจริง ยกระดับประเทศไทยต้องยั่งยืน ทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่บิ๊กคอร์ป ถึง SMEs

ในงาน Sustainability Expo 2024 (SX 2024) ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภาคเอกชนไทยได้แสดงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการรวมตัวใน “เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย” หรือ TSCN (Thailand Supply Chain Network) ซึ่งเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของบริษัทขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมในประเทศไทย

 

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้อำนวยการคณะจัดงาน SX 2024 และเลขานุการคณะทำงาน TSCN

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้อำนวยการคณะจัดงาน SX 2024 และเลขานุการคณะทำงาน TSCN กล่าวว่า "ปีนี้เราเห็นความสนใจจากประชาชนและภาคธุรกิจมากกว่าที่คาดไว้ เดิมเราตั้งเป้าผู้เข้าชมงานที่ 500,000 คน แต่สุดท้ายมีผู้เข้าร่วมทั้งในงานและทางออนไลน์มากถึงกว่า 700,000 คน นับเป็นความสำเร็จที่เกินความคาดหมาย" งาน SX 2024 เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป ตลอดทั้ง 10 วันที่จัดงาน มีกิจกรรมหลากหลายที่เกี่ยวกับความยั่งยืน รวมถึงการเสวนาและนิทรรศการจากองค์กรต่าง ๆ ที่มาร่วมแสดงผลงานและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN) ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2562 โดยเป็นการรวมตัวของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของประเทศไทย บริษัทผู้ก่อตั้งเครือข่ายนี้ประกอบไปด้วยองค์กรขนาดใหญ่ 9 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จํากัด (มหาชน) บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จํากัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ซึ่งต่างเป็นองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนในประเทศไทย

คุณต้องใจอธิบายว่า "TSCN เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า เราต้องการสร้างเครือข่ายซัพพลายเชนของประเทศไทยที่แข็งแกร่งและยั่งยืน คล้ายกับโมเดลการทำงานร่วมกันของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่พาบริษัทในเครือซัพพลายเออร์ไปด้วยกันเมื่อลงทุนในต่างประเทศ เครือข่ายของ TSCN ไม่เพียงมุ่งหวังที่จะสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ยังรวมถึงการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม" TSCN มุ่งเน้นที่การ "Protect Value, Create Value, และ Innovate Value" ซึ่งหมายถึงการปกป้องมูลค่าของธุรกิจ สร้างสรรค์มูลค่าใหม่ๆ และพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เอกชนยักษ์ใหญ่รวมพลัง TSCN ชู SX TSCN Sustainability Award ยกระดับไทยยั่งยืน

 

นอกจากนี้ คณะผู้ร่วมก่อตั้ง (Co-founders) ได้มีการลงนามประกาศเจตนารมย์แนวทางปฏิบัติคู่ค้าของ TSCN หรือ TSCN Business Parter Code of Conduct เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกยึดถือและปฏิบัติตามคุณค่า และหลักการต่อไปนี้

  • การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การป้องกันมลพิษ
  • ความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การมีส่วนร่วมของชุมชน
  • ธรรมาภิบาลและจริยธรรม ประกอบด้วย ต่อต้านการทุจริต ความโปร่งใสและการรายงาน การจัดซื้อจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

 

เอกชนยักษ์ใหญ่รวมพลัง TSCN ชู SX TSCN Sustainability Award ยกระดับไทยยั่งยืน

 

หนึ่งในไฮไลต์ของงาน SX 2024 คือการมอบรางวัล SX TSCN Sustainability Award ให้กับองค์กรในเครือข่าย 48 บริษัท มีวัตถุประสงค์การกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนให้เป็นองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนต่อไป โดยองค์กรที่ได้รับรางวัลดังกล่าวได้รับการคัดเลือก และเสนอชื่อ โดย TSCN Co-founders ทั้ง 9 องค์กร เป็นบริษัทที่มีการดำเนินโครงการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับ TSCN Co-founders อย่างเป็นรูปธรรม สามารถวัดผลได้ชัดเจนในด้านสิ่งแวดล้อม และหรือด้านสังคม อาทิ โดยมีวัตถุประสงค์การกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนให้เป็นองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนต่อไป โดยองค์กรที่ได้รับรางวัลดังกล่าวได้รับการคัดเลือก และเสนอชื่อ โดย TSCN Co-founders ทั้ง 9 องค์กร เป็นบริษัทที่มีการดำเนินโครงการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับ TSCN Co-founders อย่างเป็นรูปธรรม สามารถวัดผลได้ชัดเจนในด้านสิ่งแวดล้อม และหรือด้านสังคม อาทิ

o โครงการระบบตรวจสอบย้อนกลับ บนเทคโนโลยีบล๊อคเชนเพื่อติดตามที่มาถั่วเหลืองจากแหล่งปลูก ที่ไม่บุกรุกป่า ของ บริษัท บังกี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายห่วงโซ่อุปทานปลอดการตัดไม้ทำลายป่า 100%

o โครงการกล่องหมุนเวียนของบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยการนำกล่องกระดาษลูกฟูกที่ยังคงอยู่ในสภาพดีมาใช้ซ้ำ เพื่อลดความจำเป็นในการผลิตกล่องใหม่ โครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่ เช่น กระดาษและพลังงานในการผลิต แต่ยังช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด

o ครงการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนของบริษัท ปัญจพลไฟเบอร์คอนเทนเนอร์ จำกัด เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้และลดการใช้ทรัพยากรใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้สนับสนุนกระบวนการรีไซเคิลตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการจัดการหลังการใช้งาน เพื่อลดปริมาณขยะและการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย

o โครงการบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อความยั่งยืนของบริษัท เค.เอฟ.พาราวูด จำกัด มุ่งเน้นการออกแบบและผลิตพาเลทไม้โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โครงการนี้ใช้วัตถุดิบจากไม้ที่ได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน เพื่อลดการใช้ไม้ใหม่และสนับสนุนการใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

o การจัดการของเสียอย่างยั่งยืนของบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการบำบัด การกำจัดของเสีย และการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตพลังงานจากขยะและการทำเชื้อเพลิงผสม โครงการนี้ช่วยลดปริมาณของเสียที่ต้องฝังกลบ และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

o โครงการด้านความยั่งยืนในการจัดการของเสียของ บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด มีการนำน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไปผ่านกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งก๊าซชีวภาพที่ได้จะถูกนำไปใช้เป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

o โครงการส่งมอบความรู้ทางการเงินเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานของ บริษัท แรบบิท แคช จำกัด มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลัก ESG (Environmental, Social, Governance) ด้าน "S" (Social) โดยการให้ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลช่วยให้พนักงานสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระหนี้สินและความเครียด ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่สนับสนุนความเป็นอยู่ของพนักงาน แต่ยังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรในระยะยาว

o โครงการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมหมุนเวียนแบบวงปิดของ บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นโครงการที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยใช้หลักการนำกระป๋องอลูมิเนียมที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมารีไซเคิลเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่อย่างต่อเนื่อง กระบวนการนี้ช่วยลดการใช้วัตถุดิบใหม่และลดการปลดปล่อยคาร์บอนตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

o โครงการการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท ทีพีเอ็น แพคเกจจิ้ง จำกัด มุ่งเน้นการปฏิบัติตามนโยบายการจัดหาวัตถุดิบและสินค้าที่คำนึงถึงความยั่งยืน โดยปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจและหลักปฏิบัติด้านแรงงานอย่างเคร่งครัด โครงการนี้ส่งเสริมให้ซัพพลายเออร์และคู่ค้าปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) รวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน การจ้างงานอย่างเป็นธรรม และการจัดการทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ ซึ่งช่วยสร้างความโปร่งใสและความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด

 

คุณปิยะมาศ พัฒนพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหากลุ่มบีเจซี บิ๊กซี

คุณปิยะมาศ พัฒนพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหากลุ่มบีเจซี บิ๊กซี เล่าว่า "เรามีโครงการร่วมกับซัพพลายเออร์ในการลดการใช้ทรัพยากรผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลและการลดขนาดของวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยเรายังคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เดิมไว้ แต่ลดการใช้ทรัพยากรลงอย่างมีนัยสำคัญ"

 

คุณราเชนทร์ จันทวีกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ บางโครงการยังมีการพัฒนาในการจัดการขยะและการขนส่ง อาทิ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) คุณราเชนทร์ จันทวีกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวถึงการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ด้านการจัดการของเสียว่า "ในโรงงานของเรา เราได้ร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อพัฒนาระบบจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดแล้วยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งขยะ"

 

คุณสุรสิทธิ์ ศิริสมภพ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ TSCN ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทย โดยสมาชิกในเครือข่ายต่างมุ่งมั่นในการลดการปล่อยคาร์บอนและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนความยั่งยืน คุณสุรสิทธิ์ ศิริสมภพ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ กล่าวว่า "เราได้พัฒนานวัตกรรมด้านการรีไซเคิลพลาสติก เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับผลิตภัณฑ์ของเรา และลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิตได้อย่างมาก"

และไม่เพียงแต่สร้างการพัฒนาความยั่งยืนให้กับองค์กรขนาดใหญ่ แต่ยังเปิดโอกาสให้ซัพพลายเออร์ขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการความยั่งยืนได้ โดยมีการสนับสนุนจากพันธมิตรในเครือข่ายผ่านการให้ความรู้และการพัฒนาเทคโนโลยี

 

คุณอรทัย พูลทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจต่อเนื่องประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

คุณอรทัย พูลทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจต่อเนื่องประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงบทบาทของ TSCN ในการส่งเสริมซัพพลายเออร์ขนาดกลางและขนาดเล็กว่า "เราได้จัดการฝึกอบรมและให้ความรู้กับซัพพลายเออร์ของเราผ่านโครงการต่างๆ ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถพัฒนาความยั่งยืนได้โดยไม่ต้องลงทุนมากมาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด"

การรวมตัวของ TSCN เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน เพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนในระยะยาว นอกจากการพัฒนาโครงการความยั่งยืนในประเทศแล้ว TSCN ยังมีวิสัยทัศน์ในการขยายความร่วมมือกับเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยก้าวไปสู่ระดับโลก

 

คุณกิติยา แสนทวีสุข ผู้อำนวยการหน่วยงานความยั่งยืน บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด

คุณกิติยา แสนทวีสุข ผู้อำนวยการหน่วยงานความยั่งยืน บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด กล่าวสรุปว่า "การขับเคลื่อนความยั่งยืนไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริษัทใหญ่เท่านั้น แต่ยังต้องครอบคลุมไปถึงซัพพลายเออร์ทุกระดับ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม"

การมอบรางวัล SX TSCN Sustainability Award ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการส่งเสริมให้ภาคเอกชนและซัพพลายเออร์ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย แต่ยังเป็นการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมที่ยั่งยืนในระยะยาว

ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถติตตามข่าวสารและการดำเนินงานของเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย Thailand Supply Chain Network ได้ที่ www.thailandsupplychain.com และ facebook : Thailand Supply Chain Network