ยกระดับ “ซาเล้ง -ร้านรับซื้อของเก่า” รับหลักการ BCG

09 ธ.ค. 2565 | 05:04 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ธ.ค. 2565 | 12:40 น.

ยกระดับ “ซาเล้ง -ร้านรับซื้อของเก่า” รับหลักการ BCGกรมควบคุมมลพิษ - สสส. สานพลังสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า

 

 

 

 

 

 

การนำขยะมารีไซเคิล หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ นอกจากช่วย ลดปัญหามลพิษจากขยะคั่งค้างแล้ว ยังสร้างมูลค่า ให้กับประะชาชน และผู้ประกอบการในระยะยาว ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จึงจัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า

 

ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า โครงการพัฒนาและบริหารจัดการการคัดแยกและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565ที่ผ่านมา

 

โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า และเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป ร่วมสนับสนุน โดยนายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ มอบหมาย นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดี คพ. เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม

 

 

การอบรม ร้านรับซื้อของเก่าและซาเล้ง ของกรมควบคุมมลพิษ

 

 

 

 

 

 

ปรีญาพร สุวรรณเกษ

ขณะแนวทางการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางนางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดี คพ. กล่าวว่า  จะมีซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าเข้ามาร่วมเป็นกลไกในการทำให้เศษพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ จากบ้านเรือน อาคาร สำนักงาน และแหล่งกำเนิดต่างๆ ถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทำให้ “ขยะ” ต้องไม่ใช่ “ขยะ” แต่ “ขยะ” คือ “ทรัพยากร” ที่ต้องนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

 

ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน สอดคล้องกับนโยบาย BCG โมเดลตามที่รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ และจะสนับสนุนนโยบายห้ามนำเข้าเศษพลาสติกในอีก 2 ปีข้างหน้า ซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าในวันนี้ จึงเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจรีไซเคิลที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บหรือรับซื้อขยะรีไซเคิลหรือวัสดุเหลือใช้

 

 

การฝึกอบรมในวันนี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าครั้งที่ 1 จากทั้งหมดจำนวน 5 ครั้ง ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เป็นการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท การปฏิบัติงานที่เหมาะสม ข้อควรระวังต่อวัตถุอันตรายบางประเภท ที่ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยข้างเคียง การปฏิบัติตาม

กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) ร่วมกับ สสส สมาคมซาเล้ง ยกระดับ ศักยภาพร้านรับซื้อของเก่า ซาเล้ง

นายศรีสุวรรณ ควรขจร กรรมการกองทุน สสส. กล่าวว่า การปรับทัศนคติเกี่ยวกับขยะมูลฝอย โดยมองว่าสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เป็นการเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง การปฏิบัติงานของซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า จะต้องมีหน้าที่คัดแยกวัสดุแต่ละชนิดไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก อะลูมิเนียม ทองแดง เหล็ก

 

เพื่อเพิ่มมูลค่าในการจำหน่าย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของโลหะหนักและสารพิษในพื้นที่โดยรอบ สุขภาพอนามัยผู้ปฏิบัติงานและคนในชุมชน จากการสัมผัสต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน สสส. จึงสานพลังกับกรมควบคุมมลพิษ สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า

 

ยกระดับคุณภาพชีวิตของซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ตั้งแต่สุขภาพกาย จิต ปัญญา สร้างความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพที่ปลอดภัยต่อชีวิตและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ และรวมตัวจัดตั้งเครือข่ายองค์กรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

 

นายชัยยุทธิ์ พลเสน นายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า กล่าวว่า อาชีพซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าในไทยมีมากว่า 100 ปี การยกระดับและเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเป้าหมาย ภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก และนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เป็นการสร้างประวัติศาสตร์สำคัญร่วมกัน

 

ในฐานะนายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าแห่งประเทศไทย ได้จัดเตรียมผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถมาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่คนขับซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าที่มารวมตัวกันจากทั่วประเทศ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการเปลี่ยนแปลงอาชีพนี้ให้เกิดการพัฒนา เพิ่มโอกาส เพิ่มศักยภาพ โดยหวังว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะจัดงานนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

 

นายเปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป กล่าวว่า ธุรกิจรับซื้อของเก่าเป็นธุรกิจที่อยู่คู่ประเทศไทยมาอย่างยาวนาน แต่มักไม่ได้รับความสนใจจากสังคมเท่าที่ควร ทั้งที่เป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะของประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการรีไซเคิลเองก็ขาดการพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบธุรกิจที่ทำให้เข้าถึงประชาชนทั่วไปได้ง่ายขึ้น

 

ดังนั้นการอบรมพัฒนาศักยภาพซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้ซาเล้งและผู้ประกอบการของเก่าได้มาร่วมกันพัฒนาธุรกิจรีไซเคิลไทยให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เทคโนโลยี และกลายเป็นหนึ่งในกลไกหลักที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของไทย ตามนโยบาย BCG ของประเทศได้