นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ท้องถิ่นปรับกลยุทธ์ ใช้ความได้เปรียบต้นทุนพื้นที่ หันลงทุนแนวราบราคาเริ่มต้น 3-5 ล้านบาท-5 ล้านบาท
ตลาดคอนโดฯหาดใหญ่กลับ มาเดินหน้ากันอีกครั้ง ล่าสุดเมื่อกลางมี.ค. 2566 บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) แถลงเปิดตัวโครงการ “ดีคอนโด แซนด์ หาดใหญ่” ที่ถนนปุณณกัณฑ์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มูลค่า 950 ล้านบาท จำนวน 480 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.79 ล้านบาท หวังเจาะกลุ่ม Gen Y & Z นักเรียน นักศึกษาจบใหม่ หรือ First Jobber และนักลงทุน หลัง 2 โครงการก่อนหน้าในหาดใหญ่ มูลค่าลงทุน 2,800 ล้านบาท มีผลตอบรับอย่างดี
ขณะที่บริษัท สิรีน พร๊อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวล ลอปเม้นท์ จำกัด เจ้าของโครงการ “พลัสคอนเน็กซ์” เป็นโครงการที่ 4 ที่หาดใหญ่ ถนนราษฎร์ยินดี (30 เมตร) ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จำนวน 517 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.94 ล้านบาท ขายแล้ว 95% การก่อสร้างคืบหน้า 50% คาดส่งมอบได้ปลายปี 2566 นี้
ส่วน “เอสเซ็นต์ หาดใหญ่” ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จำนวน 666 ยูนิต มีราคาเริ่ม 1.9 ล้านบาท สร้างติดห้างเซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่ ตามกลยุทธ์พัฒนาแบบผสมครบวงจรโดยมีห้างเป็นตัวนำ
นายธนวัตน์ พูนศิลป์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงการลงทุนที่พัก อาศัยประเภทอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ในอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า การเปิดตัวโครงการบ้านและคอนโดฯ ในปีนี้จะเยอะขึ้น
เนื่องจากสถานการณ์โควิดระบาด 2-3 ปี ทำให้การเปิดตัวโครง การบ้านและคอนโดฯช่วงนั้นชะลอไป พอเริ่มเปิดเมือง เศรษฐกิจเริ่มเคลื่อนโครงการต่างๆ ก็เริ่มกลับมาเปิดตัว ทั้งบ้านและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดฯ ไม่ว่าจะเป็นของ พลัส เซ็นทรัล หรือแสนสิริ ที่ขึ้นโครงการหรือสร้างค้างไว้ เนื่องจากจังหวะยังไม่สามารถขึ้นได้
“สำหรับคอนโดฯหาดใหญ่ในยุคเฟื่องฟูมากๆ มีประมาณ 28 แท่ง ซึ่งการเปิดตัวโครงการในช่วงนั้นเยอะมาก ทำให้มีปัญหากำลังซื้อไม่พอ หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็เริ่มถดถอย หลายๆ โครงการไม่สามารถปิดการขายได้ เนื่องจากลูกค้าไม่มาโอน”
สภาพการณ์ดังกล่าวในตอนนั้น ทำให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ท้องถิ่นขยาดกับการลงทุนโครงการคอนโดฯ ทำให้ตอนหลังผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากส่วนกลางเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งมีความได้เปรียบในการพัฒนาโครงการคอนโดฯ มากกว่า เนื่องจากมีความเป็นมืออาชีพ ทั้งการตลาดและควบคุมการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดได้
สำหรับกลุ่มลูกค้าคอนโดฯหาดใหญ่ หลักๆ เป็นกลุ่มผู้ปกครองที่ซื้อให้ลูกมาเรียนหนังสือ ต่อมามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งสร้างเนื้อสร้างตัว ต้องการความสะดวกในการอาศัยในเขตเมือง และกลุ่มนักเก็งกำไรที่ซื้อเพื่อให้เช่าหรือเก็บไว้ขายต่อ ตลาดผู้พัฒนาโครงการคอนโดฯจึงเป็นสนามของรายใหญ่จากส่วนกลางมาจนถึงปัจจุบัน
“การลงทุนคอนโดหาดใหญ่ที่กลับมา ก็จะเป็นการกลับมาของมืออาชีพรายใหญ่จากส่วนกลาง ส่วนกลุ่มนักพัฒนาท้องถิ่นมีทำที่อำเภอเมืองสงขลา 1 โครงการ แต่รายอื่นๆ ยังไม่เห็น”
เนื่องจากไม่สามารถแข่งในจุดแข็งของรายใหญ่จากส่วนกลางได้ ใครมาลงสนามชนโดยตรงมีแต่จะเจ็บตัว เนื่องจากนักพัฒนาท้องถิ่นไม่สามารถทำได้เร็วเท่ากับนักพัฒนารายใหญ่จากส่วนกลางได้ รวมถึงต้นทุนที่ดินที่หาค่อนข้างยาก ที่จะมาทำแข่งกับรายใหญ่ได้ ตลาดคอนโดฯหาดใหญ่จึงแข่งขันกันอยู่ในผู้ประกอบการ 3 รายดังกล่าว
“ส่วนความต้องการคอนโดฯหาดใหญ่ยังมีอยู่ ขึ้นมา 3,000 ยูนิตก็ยังไม่พอ เมื่อเทียบกับโครงการบ้านที่เปิดตัวในหาดใหญ่ ล่าสุดมีประมาณ 3,000 กว่ายูนิต เพราะฉะนั้นคอนโดฯจะขึ้นอีก 3,000 ยูนิตจะเป็นไรไป โดยเฉพาะตลาดหาดใหญ่ปีนี้ยังไปได้”
นอกจากการเป็นรายใหญ่ที่สามารถบริหารต้นทุน ควบคุมการก่อสร้าง และทำการตลาดได้แล้ว อีกปัจจัยคือ การมีทำเลที่ตอบโจทย์อย่างของ “พลัส” จับแต่ละจุดอยู่ตัวเมือง ขณะที่แสนสิริก็ใช่ หรือเซ็นทรัลทำติดกับศูนย์การค้าก็ใช่
“ทำเลเขาใช่ โลเกชั่นใช่ แล้วที่สำคัญก็คือช่วงเวลามันใช่ด้วย ซึ่งหากทำเลใช่ โลเกชั่นใช่ แต่ถ้าช่วงเวลาไม่ใช่ก็ไม่ได้ แต่ตอนนี้ช่วงเวลามันใช่”
นายธนวัตน์ กล่าวอีกว่า ตลาดคอนโดฯหาดใหญ่ ยังเข้ามาแบ่งแนวราบบางส่วนด้วย โดยเฉพาะบ้านที่มีราคาตํ่ากว่า 2.5 ล้านบาทค่อนข้างเยอะ และหลังจากนี้จะเยอะขึ้นอีก จึงเป็นที่มาของการคาดการณ์ว่า คอนโดฯในหาดใหญ่จะขึ้นมาถึง 3,000 ยูนิต เนื่องจากมีดึงลูกค้าของบ้าน แนวราบที่ราคาตํ่ากว่า 2.50 ล้านบาทไปด้วย โดยเมื่อขายได้ก็จะเปิดโครง การใหม่ต่อเนื่อง
“ตอนนี้เท่าที่ทราบ พลัส เองก็กำลังหาทำเลใหม่อยู่ เนื่องจากโครงการที่กำลังก่อสร้างสามารถขายได้ดีมาก ส่วนแสนสิริเองก็มีทำเลใหม่ของตัวเองอยู่แล้วด้วย ฉะนั้น สำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวราบในหาดใหญ่จะต้องปรับตัว เพื่อหนีตลาดบ้านราคาตํ่าว่า 2.5 ล้านบาทที่ถูกแย่งโดยคอนโดฯ โดยหันไปทำตลาดบ้านที่มีราคาเริ่มต้นที่ 3-5 ล้านบาท และ 5-10 กว่าล้านบาท” นายธนวัตน์ ชี้
‘คอนโดฯ’ ‘รายใหญ่’ยึดลงทุน หาดใหญ่
ทุนใหญ่ส่วนกลาง “แสนสิริ-เซ็นทรัล-พลัส” ดาหน้า ยึดพื้นที่ผุดคอนโดฯหาดใหญ่ ใช้จุดแข็งมืออาชีพ-แหล่งทุน แชร์ตลาดบ้านแนวราบราคาตํ่ากว่า 2.5 ล้านบาท นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ท้องถิ่นปรับกลยุทธ์ ใช้ความได้เปรียบต้นทุนพื้นที่ หันลงทุนแนวราบราคาเริ่มต้น 3-5 ล้านบาท
ตลาดคอนโดฯหาดใหญ่กลับ มาเดินหน้ากันอีกครั้ง ล่าสุดเมื่อกลางมี.ค. 2566 บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) แถลงเปิดตัวโครงการ “ดีคอนโด แซนด์ หาดใหญ่” ที่ถนนปุณณกัณฑ์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มูลค่า 950 ล้านบาท จำนวน 480 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.79 ล้านบาท หวังเจาะกลุ่ม Gen Y & Z นักเรียน นักศึกษาจบใหม่ หรือ First Jobber และนักลงทุน หลัง 2 โครงการก่อนหน้าในหาดใหญ่ มูลค่าลงทุน 2,800 ล้านบาท มีผลตอบรับอย่างดี
ขณะที่บริษัท สิรีน พร๊อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวล ลอปเม้นท์ จำกัด เจ้าของโครงการ “พลัสคอนเน็กซ์” เป็นโครงการที่ 4 ที่หาดใหญ่ ถนนราษฎร์ยินดี (30 เมตร) ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จำนวน 517 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.94 ล้านบาท ขายแล้ว 95% การก่อสร้างคืบหน้า 50% คาดส่งมอบได้ปลายปี 2566 นี้
ส่วน “เอสเซ็นต์ หาดใหญ่” ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จำนวน 666 ยูนิต มีราคาเริ่ม 1.9 ล้านบาท สร้างติดห้างเซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่ ตามกลยุทธ์พัฒนาแบบผสมครบวงจรโดยมีห้างเป็นตัวนำ
นายธนวัตน์ พูนศิลป์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงการลงทุนที่พัก อาศัยประเภทอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ในอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า การเปิดตัวโครงการบ้านและคอนโดฯ ในปีนี้จะเยอะขึ้น
เนื่องจากสถานการณ์โควิดระบาด 2-3 ปี ทำให้การเปิดตัวโครง การบ้านและคอนโดฯช่วงนั้นชะลอไป พอเริ่มเปิดเมือง เศรษฐกิจเริ่มเคลื่อนโครงการต่างๆ ก็เริ่มกลับมาเปิดตัว ทั้งบ้านและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดฯ ไม่ว่าจะเป็นของ พลัส เซ็นทรัล หรือแสนสิริ ที่ขึ้นโครงการหรือสร้างค้างไว้ เนื่องจากจังหวะยังไม่สามารถขึ้นได้
“สำหรับคอนโดฯหาดใหญ่ในยุคเฟื่องฟูมากๆ มีประมาณ 28 แท่ง ซึ่งการเปิดตัวโครงการในช่วงนั้นเยอะมาก ทำให้มีปัญหากำลังซื้อไม่พอ หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็เริ่มถดถอย หลายๆ โครงการไม่สามารถปิดการขายได้ เนื่องจากลูกค้าไม่มาโอน”
สภาพการณ์ดังกล่าวในตอนนั้น ทำให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ท้องถิ่นขยาดกับการลงทุนโครงการคอนโดฯ ทำให้ตอนหลังผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากส่วนกลางเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งมีความได้เปรียบในการพัฒนาโครงการคอนโดฯ มากกว่า เนื่องจากมีความเป็นมืออาชีพ ทั้งการตลาดและควบคุมการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดได้
สำหรับกลุ่มลูกค้าคอนโดฯหาดใหญ่ หลักๆ เป็นกลุ่มผู้ปกครองที่ซื้อให้ลูกมาเรียนหนังสือ ต่อมามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งสร้างเนื้อสร้างตัว ต้องการความสะดวกในการอาศัยในเขตเมือง และกลุ่มนักเก็งกำไรที่ซื้อเพื่อให้เช่าหรือเก็บไว้ขายต่อ ตลาดผู้พัฒนาโครงการคอนโดฯจึงเป็นสนามของรายใหญ่จากส่วนกลางมาจนถึงปัจจุบัน
“การลงทุนคอนโดหาดใหญ่ที่กลับมา ก็จะเป็นการกลับมาของมืออาชีพรายใหญ่จากส่วนกลาง ส่วนกลุ่มนักพัฒนาท้องถิ่นมีทำที่อำเภอเมืองสงขลา 1 โครงการ แต่รายอื่นๆ ยังไม่เห็น”
เนื่องจากไม่สามารถแข่งในจุดแข็งของรายใหญ่จากส่วนกลางได้ ใครมาลงสนามชนโดยตรงมีแต่จะเจ็บตัว เนื่องจากนักพัฒนาท้องถิ่นไม่สามารถทำได้เร็วเท่ากับนักพัฒนารายใหญ่จากส่วนกลางได้ รวมถึงต้นทุนที่ดินที่หาค่อนข้างยาก ที่จะมาทำแข่งกับรายใหญ่ได้ ตลาดคอนโดฯหาดใหญ่จึงแข่งขันกันอยู่ในผู้ประกอบการ 3 รายดังกล่าว
“ส่วนความต้องการคอนโดฯหาดใหญ่ยังมีอยู่ ขึ้นมา 3,000 ยูนิตก็ยังไม่พอ เมื่อเทียบกับโครงการบ้านที่เปิดตัวในหาดใหญ่ ล่าสุดมีประมาณ 3,000 กว่ายูนิต เพราะฉะนั้นคอนโดฯจะขึ้นอีก 3,000 ยูนิตจะเป็นไรไป โดยเฉพาะตลาดหาดใหญ่ปีนี้ยังไปได้”
นอกจากการเป็นรายใหญ่ที่สามารถบริหารต้นทุน ควบคุมการก่อสร้าง และทำการตลาดได้แล้ว อีกปัจจัยคือ การมีทำเลที่ตอบโจทย์อย่างของ “พลัส” จับแต่ละจุดอยู่ตัวเมือง ขณะที่แสนสิริก็ใช่ หรือเซ็นทรัลทำติดกับศูนย์การค้าก็ใช่
“ทำเลเขาใช่ โลเกชั่นใช่ แล้วที่สำคัญก็คือช่วงเวลามันใช่ด้วย ซึ่งหากทำเลใช่ โลเกชั่นใช่ แต่ถ้าช่วงเวลาไม่ใช่ก็ไม่ได้ แต่ตอนนี้ช่วงเวลามันใช่”
นายธนวัตน์ กล่าวอีกว่า ตลาดคอนโดฯหาดใหญ่ ยังเข้ามาแบ่งแนวราบบางส่วนด้วย โดยเฉพาะบ้านที่มีราคาตํ่ากว่า 2.5 ล้านบาทค่อนข้างเยอะ และหลังจากนี้จะเยอะขึ้นอีก จึงเป็นที่มาของการคาดการณ์ว่า คอนโดฯในหาดใหญ่จะขึ้นมาถึง 3,000 ยูนิต เนื่องจากมีดึงลูกค้าของบ้าน แนวราบที่ราคาตํ่ากว่า 2.50 ล้านบาทไปด้วย โดยเมื่อขายได้ก็จะเปิดโครง การใหม่ต่อเนื่อง
“ตอนนี้เท่าที่ทราบ พลัส เองก็กำลังหาทำเลใหม่อยู่ เนื่องจากโครงการที่กำลังก่อสร้างสามารถขายได้ดีมาก ส่วนแสนสิริเองก็มีทำเลใหม่ของตัวเองอยู่แล้วด้วย ฉะนั้น สำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวราบในหาดใหญ่จะต้องปรับตัว เพื่อหนีตลาดบ้านราคาตํ่าว่า 2.5 ล้านบาทที่ถูกแย่งโดยคอนโดฯ โดยหันไปทำตลาดบ้านที่มีราคาเริ่มต้นที่ 3-5 ล้านบาท และ 5-10 กว่าล้านบาท” นายธนวัตน์ ชี้
สมชาย สามารถ/รายงาน
หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,873 วันที่ 26-29 มีนาคม พ.ศ.2566