เงินเฟ้อชะลอ “คนไทย” ยังคงจ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดในแต่ละเดือน

13 มิ.ย. 2566 | 05:21 น.
อัปเดตล่าสุด :13 มิ.ย. 2566 | 08:48 น.

มาดูกัน เงินเฟ้อชะลอตัว แต่ “คนไทย” ยังจ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน  นำโด่งสุดเดือนพ.ค.ยังคงเป็นค่าโดยสาธารณะ ซื้อรถยนต์ ค่าน้ำมัน และค่าโทรศัพท์

แม้ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อไทยจะยังคงอยู่ในระดับที่สูง แต่เป็นการสูงแบบชะลอตัวลงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน หลังราคาน้ำมัน ค่าไฟ สินค้าหมวดอาหารชะลอตัวลง และฐานปีก่อนสูง นั้นหมายความว่า ประชาชนเริ่มมีกำลังซื้อมากขึ้นจากเดิม ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ดีที่มีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น 

เงินเฟ้อชะลอ “คนไทย” ยังคงจ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดในแต่ละเดือน

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวมเพื่อวัดกำลังซื้อของประชาชน 

 

ทั้งนี้สินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 1.83% ตามการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า   แต่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น3.99% เช่น ผักและผลไม้ (มะนาว ต้นหอม มะเขือ แตงโม เงาะ) ไข่ไก่ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดไม่มากนัก

เงินเฟ้อชะลอ “คนไทย” ยังคงจ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดในแต่ละเดือน

ทีนี่เรามาดูกันว่า ในเดือนพ.ค.66 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 333 รายการ สินค้าไม่เปลี่ยนแปลง 36 รายการ และราคาลดลง 61 รายการ  พบว่าประชนมีรายจ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ 18,023 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกรายการ แบ่งเป็น 

เงินเฟ้อชะลอ “คนไทย” ยังคงจ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดในแต่ละเดือน

 

  • ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,170 บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 3,922 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,704 บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,641บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,254บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล  985 บาท
  • ผักและผลไม้  1.065 บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 763 บาท
  • ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง  674 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร 428 บาท
  •  เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 401 บาท
  •  ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า  376 บาท
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม 396บาท
  • ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 241 บาท

ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ58.03%  โดย ค่าโดยสารรถสาธารณธ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 23.14% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ21.76% 

  ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ41.97%   โดย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง9.46% รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้าน 9.10% และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.96% เป็นต้น

เงินเฟ้อชะลอ “คนไทย” ยังคงจ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.2566 คาดว่า จะเริ่มทรง ๆ ตัว  โดยมีปัจจัยที่มีผลทำให้เงินเฟ้อลดลงยังคงเป็นน้ำมันที่วัยังมีความไม่ชัดเจน แม้ล่าสุดโอเปกจะปรับลดกำลังการผลิตลงมา แต่ก็ยังมีภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่จะฉุดความต้องการใช้ ประกอบกับฐานเงินเฟ้อปีก่อนที่อยู่ในระดับสูงก็จะมีผลทำให้เงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้นมาก และมาตรการลดค่าครองชีพภาครัฐ หากมีมาตรการแรง ๆ ออกมา ก็จะช่วยฉุดเงินเฟ้อลงอีก เช่น ลดค่าไฟ คาดทั้งปี 2566อยู่ระหว่าง 1.7–2.7% ค่ากลาง 2.2%