อึ้งคนไทยมี”หนี้ครัวเรือน”พุ่งสูงที่สุดในรอบ 15 ปี 

28 ก.ค. 2566 | 03:48 น.
อัพเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2566 | 07:46 น.

รายได้ไม่พอจ่าย-หนี้นอกระบบปัญหาใหญ่ที่คนไทยมี”หนี้ครัวเรือน”พุ่งสูงที่สุดในรอบ 15 ปี เป็นหนี้ในระบบประมาณ 80% และอีก 20% เป็นหนี้นอกระบบ

 

ปี 2566 คนไทยมี"หนี้ครัวเรือน"เฉลี่ย 559,400 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11.5% ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นหนี้ในระบบประมาณ 80% และอีก 20% เป็นหนี้นอกระบบ สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนมาจากการขาดวินัยทางการเงิน รองลงมาเป็นรายรับไม่พอกับรายจ่าย วางแผนการลงทุนผิดพลาด และมีความรู้ทางการเงินไม่เพียงพอ

อึ้งคนไทยมี”หนี้ครัวเรือน”พุ่งสูงที่สุดในรอบ 15 ปี 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า "ภาระหนี้ครัวเรือน" เพิ่มสูงขึ้น มากที่สุดในรอบ 15 ปี โดยมีหนี้สินรวมอยู่ที่ 559,408 บาท ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11.5 % จากปี 2565 ที่มีหนี้รวม 501,711 บาทต่อครัวเรือน  

อึ้งคนไทยมี”หนี้ครัวเรือน”พุ่งสูงที่สุดในรอบ 15 ปี 

โดยมองว่าแม้หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจะขึ้นไปแตะ 90% ของจีดีพี แต่แนวโน้มจีดีพีที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว และครัวเรือนไม่ตั้งใจจะก่อหนี้มากขึ้น อีกทั้งหนี้ที่ก่อก็เป็นหนี้ในระบบ จึงมองว่าหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหารุนแรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และเป็นปัญหาของบุคคล รวมถึงเห็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสถาบันการเงิน อยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขแบบเอาจริงเอาจังอยู่ด้วย

อึ้งคนไทยมี”หนี้ครัวเรือน”พุ่งสูงที่สุดในรอบ 15 ปี 

“หนี้ครัวเรือนในปี 2566 ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดทำแบบสำรวจมาในรอบ 15 ปี โดยมีผลมาจากเทรดวอร์ ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการระบาดของโควิด ทำให้คนก่อหนี้มากขึ้น แต่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าควร โดยแนวโน้มหนี้ครัวเรือนมีโอกาสสูงขึ้น และวงเงินในการก่อหนี้ น่าจะพีกสุดในช่วงปี 2567 เพราะต่อให้มีการเลือกตั้ง แต่ความแน่นอนทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ชัด ทำให้ประชาชนคาดว่า ยังจะต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพสูง รายได้ต่ำไปจนถึงต้นปี 2567”

สาเหตุที่หนี้เพิ่มสูงขึ้น มาจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ถึง 16.8 % มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 16.2 % เช่น รถยนต์ บ้าน มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 13.8% และ กลุ่มตัวอย่างถึง 60 % ไม่มีการออมเงิน นอกจากนี้ จากผลการสำรวจยังพบว่าคน GEN Y และ GEN Z ถึง 76 % ยอมรับว่าใช้เงินแบบไม่วางแผน 60.5% มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว และ 47.2 % กู้ยืมเงินในอนาคตมาใช้ โดยเฉพาะการใช้บัตรเครดิต  อย่างไรก็ตามคาดว่า “หนี้ครัวเรือน” จะขึ้นไปสูงสุดในปี 2567 หลังจากที่เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลยังล่าช้า โดยล่าสุดกระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP เหลือ 3.5% จาก 3.6 %

อึ้งคนไทยมี”หนี้ครัวเรือน”พุ่งสูงที่สุดในรอบ 15 ปี 

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบรายจ่ายและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในปัจจุบัน โดยพบว่า ประเทศไทยมีรายได้ครัวเรือที่ต่ำกว่า 5,000 บาท 94.1% กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจมีดังนี้ ภาคกลาง 75.4% กรุงเทพฯ 72.8 % เกษตรกร 81.4% เกษียณอายุ 81.1% รับจ้าง 71.4%

นอกจากนี้ยังพบว่ามี รายได้ครัวเรือนน้อยกว่ารายจ่าย 65.8% รายได้ครัวเรือนเท่ากับรายจ่าย 32.0% รายได้ครัวเรือนมากกว่ารายจ่าย 2.2% ส่วนใหญ่แก้ปัญหารายได้น้อยกว่ารายจ่าย ด้วยการกู้ยืมเงิน ไม่วาจะเป็นการกู้เงินจากธนาคาร การกดเงินจากบัตรกดเงินสด บริษัทสินเชื่อ กู้ยืมเงินจากญาติพี่น้อง