สังคมไทยก้าวสู่สังคมสูงวัย ส่งผลให้แนวโน้มการใช้งบประมาณดูแลเบี้ยผู้สูงอายุทยอยปรับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาระต่องบประมาณในอนาคต โดยกระทรวงการคลัง จึงได้ทำการศึกษาทางออกในการลดข้อจำกัดดังกล่าว ผ่านแนวทางลดการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุที่ร่ำรวย
โดยแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การเบิกจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี เชื่อว่าอีกไม่เกิน 1-2 ปี วงเงินงบประมาณจะทะลุ 100,000 ล้านบาทอย่างแน่นอน ฉะนั้น เพื่อลดภาระงบประมาณดังกล่าว และสร้างความยั่งยืนทางการคลังควรลดสวัสดิการที่ดูแลผู้สูงอายุที่ซ้ำซ้อนลง และจำกัดวงเงินการช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะทำให้สามารถประหยัดงบประมาณไปได้มาก
ทั้งนี้ หากพิจารณาสถิติการจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564- 2566 พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.63-ก.ย.64) มีผู้สูงอายุรวม 10.48 ล้านคน แบ่งเป็น
ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) จำนวนผู้สูงอายุ 10.91 ล้านคน แบ่งเป็น
ปีงบประมาณ 2566 ผ่านไป 10 เดือน (ต.ค.65-ก.ค.66) จำนวนผู้สูงอายุ 11.21 ล้านคน แบ่งเป็น
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2567 ได้ตั้งงบประมาณไว้สำหรับเบี้ยผู้สูงอายุวงเงิน 90,000 ล้านบาท
โดยก่อนหน้านี้นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้เตรียมแผนลดรายจ่ายไว้เสนอต่อรัฐบาลใหม่ เพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังมีเสถียรภาพอยู่ภายใต้กรอบของวินัยการเงินการคลัง เพื่อสร้างความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว
ทั้งนี้ ได้แก่ การตัดงบผู้สูงอายุที่มีรายได้สูงหรือผู้สูงอายุที่ร่ำรวย เนื่องจากควรใช้นโยบายการคลังที่พุ่งเป้ามากขึ้น เพื่อช่วยเหลือไปยังกลุ่มคนที่มีความเดือดร้อนมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
“คนรวยที่มีอายุเกิน 60 ปี ควรได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเดือนละ 600 – 800 บาทหรือไม่ และควรลดรายจ่ายตรงนี้ลงแล้วนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้อย่างอื่นดีกว่าหรือไม่ เป็นประเด็นที่จะต้องไปศึกษากันต่อว่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้เงินส่วนนี้เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนควรได้รับ หรือเป็นสิทธิของประชาชนเฉพาะที่เดือดร้อน ไม่มีความสามารถในการหารายได้เท่านั้น”