นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์เฟซบุ๊ก กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij ระบุถึงนโยบาย การเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน โดยระบุว่า ว่าด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กับ ภาระทางการคลัง
ระหว่างที่ถกเถียงกันเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินดิจิทัล 10,000 บาท ขอให้สังเกตประมาณการสถานะทางการเงินล่าสุดของประเทศให้ดีครับ
กระทรวงการคลัง เสนอประมาณการชุดนี้ในการประชุมครม.แรกของ รัฐบาลเศรษฐา สำหรับใครที่ไม่ชอบดูตารางข้อมูลแบบนี้ ผมขอสรุปประเด็นสำคัญให้ดังนี้
แล้วไง?
ประมาณการใหม่นี้กำลังสร้างความกังวลให้นักเศรษฐศาสตร์อย่างมาก เพราะอะไร?
เพราะทุกอย่างมีต้นทุน คือมี “ราคาที่ต้องจ่าย” ซึ่งราคาที่ว่านี้ปรากฏชัดเจนในส่วนของต้นทุนดอกเบี้ยของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น อย่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10ปี ทะลุ 3% ไปแล้ว เพิ่มขึ้นมากว่า 50bps ในช่วงไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา
ประมาณการนี้ยังไม่ได้รวมนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาล ซึ่งอย่างไรรัฐบาลก็ต้องกู้ หรือยืมรัฐวิสาหกิจมาแจก
วันนี้หนี้รัฐบาลมีอยู่ 11 ล้านล้านบาท
รัฐบาลต้องออกพันธบัตรใหม่มาชำระชุดเก่าตลอดเวลา ซึ่งต้นทุนก็จะมีแต่สูงขึ้น เป็นภาระต่องบประมาณมากขึ้น แนวโน้มดอกเบี้ยเราจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยหลากหลายปัจจัย เช่นการส่งออกที่ซบเซา ราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น รวมไปถึงรายจ่ายภาครัฐจากนโยบาย “กระตุ้นเศรษฐกิจ” ของรัฐบาลใหม่
จุดแข็งของไทยเราคือ เราแทบไม่มีหนี้สกุลเงินต่างประเทศ แต่อย่างไรเราก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของโลก ไม่ระวังไม่ได้ครับ
สำหรับการขับเคลื่อนนโยบาย เงินดิจิทัล 10,000 บาท ของรัฐบาลนั้น ล่าสุดในการประชุมครม. นักดแรก ที่ประชุม มีมติ มอบหมายให้นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมหารือของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อศึกษารายละเอียดของแนวทางในการดำเนินนโยบายการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ให้ชัดเจน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วน