ครบ 1 เดือน สำหรับการเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ภายหลังจากแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยตลอดเดือนที่ผ่านมา มีการประชุมครม.แล้ว 4 ครั้ง โดยมีเรื่องน่าสนใจนั่นคือ การอนุมัติโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเสนอเข้าขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 และงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2567 อย่างน้อย 82 โครงการ วงเงินรวมกว่า 322,383 ล้านบาท
โดยการเสนอขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 และงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2567 เข้ามายังครม.มีด้วยกัน 2 ล็อต ครั้งแรกในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 รวมกว่า 7 กระทรวง 1 หน่วยงาน เป็นจำนวน 74 โครงการ คิดวงเงินกว่า 302,328 ล้านบาท
ส่วนอีกครั้ง คือ ในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ได้มีการอนุมัติกรอบวงเงินคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 อีก 6 หน่วยงาน จำนวน 8 โครงการ แม้โครงการที่เสนอเข้ามาอาจไม่มีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่นัก แต่ถ้ารวมวงเงินที่เสนอขอตั้งงบประมาณเข้ามาแล้วก็มีมากถึง 20,055 ล้านบาท
ทั้งนี้จากการรวบรวมรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ ที่เสนอเข้ามายังครม. เพื่อขอมติจากที่ประชุมทั้ง 2 ครั้ง พบข้อมูลโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ แยกเป็นรายกระทรวง และรายหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
กระทรวงการคลัง
ครม.อนุมัติหลักการให้กระทรวงการคลังนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามนัยมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พื้นที่โซน C
ทั้งนี้เพื่อเป็นค่าเช่าอาคารให้กับบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) เป็นเวลา 30 ปี ในอัตราค่าเช่า 390 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน หรือปีละ 2,386,800 บาท และปรับปรุงอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% ของอัตราค่าเช่าเดิมทุก 3 ปี รวม 30 ปี วงเงินรวม 98,931.29 ล้านบาท
กระทรวงสาธารณสุข
ครม.อนุมัติหลักการให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับโครงการศูนย์การแพทย์เพื่อตอบโต้โรคอุบัติใหม่แห่งชาติบำราศนราดูร วงเงินรวมทั้งสิ้น 2,229.84 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 445,968,600 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 1,783,874,400 บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2570
กระทรวงคมนาคม
ครม.อนุมัติหลักการให้กระทรวงคมนาคมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 53 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2566 - 2576 รวมวงเงิน 146,803.44 ล้านบาท โดยวงเงินที่จะขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2567 จำนวน 24,605.68 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่มีความพร้อมในการเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 แยกเป็น
กรมทางหลวง เสนอขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 46 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2567 - 2569 วงเงินรวม 91,643.40 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการตามแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 42 โครงการ วงเงินรวม 83,957.70 ล้านบาท และแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 4 โครงการ วงเงินรวม 7,685.73 ล้านบาท มีวงเงินที่ขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 18,328.6890 ล้านบาท
กรมทางหลวงชนบท เสนอขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 3 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567 - 2569 วงเงินรวมทั้งสิ้น 4,510 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการตามแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายให้สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น และแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด มีวงเงินที่ขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 902 ล้านบาท
กรมท่าอากาศยาน เสนอขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 2 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567 - 2570 วงเงินรวม 3,100 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการตามแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น และรองรับเที่ยวบินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ มีวงเงินที่ขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 620 ล้านบาท
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เสนอขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 2 รายการ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ปี 2566 - 2576 วงเงินรวม 47,550 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการตามแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ที่เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง มีวงเงินที่ขอตั้งงบประมาณปี 2567 จำนวน 4,755 ล้านบาท
กระทรวงยุติธรรม
ครม.อนุมัติหลักการให้กระทรวงยุติธรรม นำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 3 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 5,004.19 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 1,000.83 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2569 จำนวน 4,003.34 บาท ดังนี้
1.โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวม 1,743.28 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 348.65 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2569 จำนวน 1,394.63 ล้านบาท
2.โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดยโสธร พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวม 1,616.56 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 323.31 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2569 จำนวน 1,293.24 ล้านบาท
3.โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดชัยนาท พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวม 1,644.33 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 328.86 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2569 จำนวน 1,315.46 ล้านบาท
กระทรวงการอุดมศึกษาฯ
ครม.อนุมัติหลักการให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำเสนอรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 5 โครงการ วงเงินรวม 24,032.30 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณ ตามนัยมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 21,944.72 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณสมทบ 2,087.57 ล้านบาท ดังนี้
1.โครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2567 – 2570)
2.โครงการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ภูเก็ต (พ.ศ. 2567 – 2570)
3.โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. 2567 – 2572)
4.โครงการผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ด้วยการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ระยะที่ 1 พ.ศ. 2567 – 2571 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์/สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
5.โครงการพัฒนาและผลิตยา เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความมั่นคงทางยาของประเทศ (พ.ศ. 2567 – 2576) สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์/สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ครม.อนุมัติหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 5 โครงการ 7 รายการ วงเงินรวม 13,834.25 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 2,766.85 ล้านบาท และผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2570 อีก 11,067.40 ล้านบาท ดังนี้
1. โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ รายการระบบส่งน้ำสายซอย พร้อมอาคารประกอบพื้นที่ฝั่งซ้าย สัญญาที่ 1 วงเงิน 2,050 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 410 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2570 จำนวน 1,640 ล้านบาท
2. โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน รายการเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น วงเงิน2,441.65 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 488.33 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2570 จำนวน 1,953.32 ล้านบาท
3. โครงการปรับปรุงคลองบางขนาก จังหวัดฉะเชิงเทรา 3 รายการ วงเงิน 6,492.60 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 1,298.52 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2569 จำนวน 5,194.08ล้านบาท
4. โครงการปรับปรุงคลองระพีพัฒน์แยกใต้ จังหวัดปทุมธานี รายการกำแพงป้องกันน้ำท่วมพร้อมอาคารประกอบ โครงการปรับปรุงคลองระพีพัฒน์แยกใต้ จังหวัดปทุมธานี (สัญญาที่ 1) วงเงิน 1,500 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 300 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2570 จำนวน 1,200 ล้านบาท
5. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระพีพัฒน์ จังหวัดสระบุรี รายการกำแพงป้องกันน้ำท่วมพร้อมอาคารประกอบ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระพีพัฒน์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สัญญาที่ 1) วงเงิน 1,350 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 270 ล้านบาท ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2569 จำนวน 1,080 ล้านบาท
กระทรวงมหาดไทย
ครม.อนุมัติหลักการให้กระทรวงมหาดไทยนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของ 3 หน่วยงาน จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 10,636.2438 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ตามนัยมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ดังนี้
1. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 1 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 2 วงเงินทั้งสิ้น 3,344.37 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 668.87 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 2,675.49 ล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2570
2. การประปาส่วนภูมิภาค 1 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพังงา - ภูเก็ต ระยะที่ 1 อำเภอเมือง - ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 3,269.87 ล้านบาท
โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณ จำนวน 2,452.40 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 490.48 ล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2569 จำนวน 1,961.92 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 817.46 ล้านบาท เบิกจ่ายเงินกู้ภายในประเทศ หรือเงินรายได้สมทบตามความเหมาะสมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 4,022.0000 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการที่ยังไม่ได้กำหนดสัดส่วนแหล่งเงินค่าก่อสร้างที่จะดำเนินโครงการระหว่างเงินอุดหนุนรัฐบาลกับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ได้แก่
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ครม.อนุมัติหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 2 รายการ เป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ และจัดหารถจักรยานยนต์ พร้อมอุปกรณ์ รวม 15,332 คัน วงเงิน 2,856,44 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 446.88 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 2,409.55 ล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2571 ดังนี้
1. โครงการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ (ทดแทน) เพื่อใช้ในภารกิจงานสืบสวนสะกดรอยติดตามจับกุมคนร้ายของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในสถานีตำรวจ 890 คัน วงเงิน 1,010.75 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 77.75 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 933 ล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2571
2. โครงการรถจักรยานยนต์งานสายตรวจ พร้อมอุปกรณ์ (ทดแทน) ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจงานสายตรวจในสถานีตำรวจทั่วประเทศ 14,442 คัน วงเงิน 1,845.68 ล้านบาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 369.13 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 1,476.55 ล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
กระทรวงมหาดไทย
ครม. อนุมัติหลักการให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินโครงการสถานีสูบน้ำดิบพร้อมระบบท่อส่งน้ำเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี 1 รายการ วงเงินรวม 1,030.96 ล้านบาท โดยให้ อบจ.ปัตตานี ยื่นเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อสำนักงบประมาณ
แต่ด้วยโครงการดังกล่าวข้างต้นมีวงเงินงบประมาณสูงมากสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากนำมานับรวมในสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลจะส่งผลกระทบกับวงเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรงบประมาณ ขอให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นร่วมด้วย เช่น เงินรายได้หรือเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เงินกู้ เอกชนร่วมลงทุนแล้วแต่กรณี ในโอกาสแรกก่อน หรือประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามภารกิจเพื่อดำเนินการแทน เช่น การประปาส่วนภูมิภาค และ กรมชลประทาน
สภากาชาดไทย
ครม.อนุมัติหลักการให้สภากาชาดไทยนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 2 โครงการ รวมวงเงิน 4,557.09 บาท แบ่งเป็น
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร วงเงินรวม 7,244.50 ล้านบาท แบ่งเป็น
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง วงเงินรวม 5,782.09 ล้านบาท แบ่งเป็น
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน วงเงินรวม 970.38 ล้านบาท
สำนักงานคณะกรรมการการแข่งกันทางการค้า
ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งกันทางการค้า จำนวน 470.70 ล้านบาท เพื่อบรรจุในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 ต่อไป