“แลนด์บริดจ์” หรือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน มูลค่าการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท กลายเป็นอภิมหาโปรเจกต์ใหม่ของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ที่กำลังเร่งปั้นให้กลายเป็นแม็กเน็ตใหม่ เพื่อดึงดูดใจนักลงทุนทั่วโลก
หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 มีมติรับทราบในหลักการของโครงการแลนด์บริดจ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ด้านการลงทุนครั้งสำคัญของประเทศ ที่ถูกปัดฝุ่นขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากผ่านการผลักดันมาแล้วหลายต่อหลายรัฐบาล
โดยนอกจากที่ประชุมครม. จะเห็นชอบในหลักการแล้ว ครม.ยังมีมติให้ ให้กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงการ ไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ หรือ จัดโรดโชว์ (Road Show) ในการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนผู้ลงทุนในการร่วมลงทุนโครงการ (RFP) ต่อไปอีกด้วย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการแลนด์บริดจ์ ได้ถูกสปอร์ตไลท์สองอีกครั้ง ภายหลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เข้ามารายงานและจัดเตรียมข้อมูลโครงการแลนด์บริดจ์
ก่อนนำไปโปรโมทในช่วงของการเดินทางเข้าร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ระหว่างวันที่ 11-17 พฤศจิกายน 2566 นี้ ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ของนายกรัฐมนตรี และคณะด้วย
โดยนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความลงบนโซเชียลมีเดีย X ชื่อ Srettha Thavisin ระบุว่ามื้อเที่ยงวันนี้ ผมเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมทีมงาน มาทานข้าวเที่ยง พร้อมประชุมเตรียมข้อมูลโครงการ Landbridge สำหรับการประชุม APEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นครับ ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะสามารถดึงดูดนักลงทุน และยกระดับการพัฒนาประเทศไทยไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่งครับ
ขณะที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ต่อมาด้วยว่า กระทรวงคมนาคม จะนำโครงการแลนด์บริดจ์ ไปโปรโมทในช่วงการเดินทางไปประชุมเอเปค เพื่อให้เอกชนทั้งไทยและต่างชาติเข้าร่วมลงทุนโครงการ
ทั้งนี้ตามแผนงานของการโรดโชว์ หลังจากประเดิมที่แรกบนเวที APEC ซึ่งจะมีการหารือบนเวทีการเจรจาความร่วมมือด้านการคมนาคม จากนั้นในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2567 กระทรวงคมนาคมจะเร่งเดินสายโปรโมทโครงการในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศด้วย
สำหรับโครงการ “แลนด์บริดจ์” นั้น นับเป็นหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นประตูและทางเชื่อมโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาค โดยมีวงเงินการลงทุนในโครงการต่าง ๆ สูงถึง 1,001,206.47 ล้านบาท
ตามแผนกระทรวงคมนาคม ประเมินองค์ประกอบที่สำคัญของโครงการต้องมีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทะเล และโครงข่ายเชื่อมโยงระบบราง มอเตอร์เวย์ และทางท่อ ดังนี้
1. ท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน ที่แหลมอ่าวอ่าง อำเภอราชกรูด จังหวัดระนอง ออกแบบให้สามารถรองรับสินค้าได้ 20 ล้าน TEUs ขนาดร่องน้ำลึก 21 เมตร
2. ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ที่แหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รองรับสินค้าได้ 20 ล้าน TEUs ขนาดร่องน้ำลึก 17 เมตร
3. เส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง มีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ประกอบด้วย
พร้อมกันนี้ยังประเมินว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะก่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมขนาดเบา เช่น การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์อนาคต อาหาร กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ศูนย์กระจายสินค้า เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า
รวมทั้งส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้โดยการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์และโรงแรม เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาล สถานบันเทิง และร้านค้าต่าง ๆ ระหว่างเส้นทางโครงการ
ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership : PPP) โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งโครงการในลักษณะท่าเรือเดียวเชื่อม 2 ฝั่ง (One Port Two Sides) โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย เส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังท่า
รัฐบาลตั้งเป้าหมายการผลักดันโครงการ “แลนด์บริดจ์” หลังผ่านการเห้นชอบหลักการจากครม. ล่าสุดอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ (Road Show) พร้อมทั้งเร่งจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) และจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายและสำนักงานนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ขึ้นเพื่อบริหารเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC
จากนั้นจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ก่อสร้างโครงการ โดยตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการ ในเดือนตุลาคม 2573 ดังนี้