สศช.เปิดสถานการณ์ความยากจน-ความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทย 2566

29 พ.ย. 2566 | 00:21 น.
อัปเดตล่าสุด :29 พ.ย. 2566 | 01:19 น.

จับตา เวิลด์แบงก์ และ สศช. เปิดตัวรายงาน การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำและการจ้างงานในประเทศไทย และการเปิดตัว สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของไทย เช็คความคืบหน้าได้ที่นี่

วันนี้ (29 พฤศจิกายน 2566) ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ และ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.เตรียมเปิดตัวรายงาน การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำและการจ้างงานในประเทศไทย และการเปิดตัว สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นรายงานสำคัญที่ฉายสถานภาพทางสังคมของประเทศไทยในปัจจุบันต่อสาธารณะ

ทั้งนี้ในการรายงานสถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศไทย นั้น รายงานโดยธนาคารโลกฉบับนี้นำเสนอบทวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และผลกระทบต่อศักยภาพในการพัฒนาของประเทศไทย

โดยรายงานฯ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเด็นด้านการศึกษาและการมีงานทำ อีกทั้งยังมีการนำเสนอเกี่ยวกับแนวทางเชิงนโยบายสำหรับการบรรเทาผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำ

 

สศช.เปิดสถานการณ์ความยากจน-ความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทย 2566

ขณะที่ สศช. จะรายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565 โดยต้องติดตามข้อมูลสำคัญว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงหลังจากวิกฤตโควิด-19 สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำนี้ และประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่สังคมสังคมที่มีมีส่วนร่วมและเท่าเทียมได้อย่างไรด้วย

สำหรับสถานการณ์ความยากจนของไทย นั้น ในปี 2566 มีข้อมูลจฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) รายงานจำนวนคนจนของประเทศไทย โดยเฉพาะ “คนจนเป้าหมาย” หรือ คนจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ซึ่งเป็นคนที่ได้รับการสำรวจว่าเป็นคนจนจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน ที่มาลงทะเบียนว่าจนจากข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ของกระทรวงการคลัง 

ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลประชากร 36,130,610 คนทั่วประเทศ สรุปได้ดังนี้

  • จำนวนครัวเรือนยากจน (จปฐ.) มีทั้งสิ้น 197,298 ครัวเรือน
  • จำนวนคนยากจน (จปฐ.) มีทั้งสิ้น 655,365 คน
  • จำนวนคนจนเป้าหมาย 211,739 คน

 

สศช.เปิดสถานการณ์ความยากจน-ความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทย 2566

 

ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลคนจนเป้าหมายในปี 2566 พบว่า จำนวนคนจนของประเทศไทยได้ปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเมื่อเทียบกับตัวเลขข้อมูลในปี 2565 ซึ่งทำการสำรวจพบว่า “คนจนเป้าหมาย” ของประเทศไทยในปี 2565 มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 1,025,782 คน

อย่างไรก็ตามในส่วนของสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ของสศช. นั้นจะต้องติดตามตัวเลขล่าสุดว่า จำนวนคนจนของไทยจะปรับเพิ่มขึ้นเท่าใด และสศช. จะมีข้อเสนอในเชิงนโนบายด้านใดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบ้าง