เปิดไทม์ไลน์ "ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 2566" ปลดล็อกความทุกข์ทางการเงิน

29 พ.ย. 2566 | 08:26 น.
อัปเดตล่าสุด :29 พ.ย. 2566 | 09:15 น.

เปิดไทม์ไลน์ 3 มาตรการจาก กรมการปกครอง "ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ" เริ่ม 1 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป ที่ศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานเขต เพื่อปลดล็อกตัวเองพ้นทุกข์ทางการเงิน เช็ครายละเอียดที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ เกาะติดนโยบายและมาตรการ “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ 2566”  หลังจากรัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อ 28 พ.ย.66 นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

เพื่อบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนประกาศวาระแห่งชาติ ขับเคลื่อน “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ” ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง

นายกฯเศรษฐา ประกาศตอนหนึ่งว่า รัฐบาลได้ประเมินจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้นอกระบบไว้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท รัฐบาลเห็นปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นปัญหาที่กัดกร่อนสังคมไทยมานาน และเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทยจำนวนมาก

 

เปิดไทม์ไลน์ \"ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 2566\" ปลดล็อกความทุกข์ทางการเงิน

 

"วันนี้เราจะเอาจริงเอาจัง ทำให้การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ คืนศักดิ์ศรี คืนความหวังและสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนคนไทยทุกคน"

 

 

ล่าสุด วันที่ 29 พ.ย. 66 กรมการปกครอง เปิดเผยข้อมูลว่า กระทรวงมหาดไทย ออก 3 มาตรการ “ช่วยเหลือ ป้องกัน ปราบปราม” แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและการทวงถามหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและแก้ไขปัญหาหนี้สินรายย่อยเชิงรุกให้กับประชาชน

 

มาตรการช่วยเหลือ

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและสำนักงานเขตทุกแห่งให้อำเภอรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยกรมการปกครองจะนำข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด

  • มาตรการช่วยเหลือต่อไปโดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนี้
  • ประชาสัมพันธ์การรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ 1 ธันวาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • รับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ 1 ธันวาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • รวบรวมข้อมูลลูกหนี้ แยกแต่ละประเภท 15 ธันวาคม 2566 - มีนาคม 2567
  • ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้ลงทะเบียน 1 มกราคม 2567 - สิงหาคม 2567
  • ประเมินผลการดำเนินการ 15 ธันวาคม 2566 - เสร็จสิ้นโครงการ

 

เปิดไทม์ไลน์ \"ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 2566\" ปลดล็อกความทุกข์ทางการเงิน

 

มาตรการเฝ้าระวัง/ป้องกัน

ให้อำเภอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
ให้อำเภอกำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน เฝ้าระวังบุคคลที่มีพฤติการณ์ปล่อยเงินกู้นอกระบบ ทวงถามหนี้ โดยการข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ฯลฯ โดยให้รายงานศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ดำเนินการต่อไป

ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ในพื้นที่ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ได้ดำเนินการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจ ทวงถามหนี้ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

มาตรการปราบปราม

กรณีพบกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์ปล่อยเงินกู้นอกระบบให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองจังหวัดและชุดปฏิบัติการพิเศษอำเภอ เป็นผู้ดำเนินการ

ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ บังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามผู้ที่กระทำความผิด มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรม

ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ เพื่อที่จะนำข้อมูลมาบูรณาการการให้ความช่วยเหลือร่วมกับทุกหน่วยงาน ตามอำนาจหน้าที่อย่างเร่งด่วนให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงหมาดไทย “เพราะกระทรวงมหาดไทยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักการสอบสวนและนิติการ (ส่วนอำนวยความเป็นธรรม) ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และสำนักงานเขตทุกแห่ง 02-356-9660 สำนักการสอบสวนและนิติการ (ส่วนอำนวยความเป็นธรรม) 

เปิดไทม์ไลน์ \"ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 2566\" ปลดล็อกความทุกข์ทางการเงิน

3 วิธีแก้หนี้นอกระบบ 

ขณะเดียวกันมีคำแนะนำลจาก บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (บบส.) หรือ SAM หนึ่งในหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้มีส่วนช่วยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศผ่าน “โครงการคลินิกแก้หนี้ by SAM” ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 

โดยโครงการคลินิกแก้หนี้ by SAM มีคำแนะนำ 3 วิธี "แก้หนี้นอกระบบ" ระบุว่า เปิด 3 วิธีพ้นวงจรหนี้นอกระบบเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง หากชีวิตคุณกำลังติดหล่มกับปัญหาหนี้นอกระบบแล้วอยากแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบมีแนวทางในการแก้ไขดังต่อไปนี้ 

  1. ทำงบประมาณการเงินล่วหน้า 6-12 เดือน
  2. หาเงินกู้ในระบบ เพื่อนำไปใช้ชำระหนี้นอกระบบ
  3. เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอชำระเฉพาะเงินต้น

เปิดไทม์ไลน์ \"ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 2566\" ปลดล็อกความทุกข์ทางการเงิน