ณิศรา ธัมมะปาละ วิศวกรระดับ 11 ทำการแทน ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการธุรกิจนวัตกรรมพลังงาน การไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวในงานสัมมนา Sustainable Urbanization: Better Cities and Communities จัดโดยหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ( 13 ธ.ค.66 ) ถึงบทบาท "กฟผ."ในการความสำคัญการดูแลสิ่งแวดและความยั่งยืน (Sustainability ) ว่า กฟผ.ได้ประกาศเป็นนโยบายองค์กร สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและแนวทางของ SDGs (Sustainable Development Goals: SDGs) ในการมุ่งเข้าถึงพลังงานสะอาด โดยการนำนวตกรรมดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ทุกคนเข้าถึง
" รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดให้มากกว่า 50% ในปี 2050 จากปลายแผนในปี 2030 ที่สัดส่วน 30% ดังนั้นการจะผลักดันให้สู่เป้าหมายดังกล่าว ต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กฟผ.ได้ตระหนักและกำหนดเป็นนโยบายปฏิบัติเพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน เช่นการสนับสนุนการใช้รถยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การมองหาเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ เพื่อมาตอบโจทย์ในเรื่องการทำพลังงานสะอาดเพิ่ม รวมถึงภารกิจในการส่งไฟฟ้า โดยการทำให้โรงไฟฟ้าเป็นพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
โดย กฟผ.ได้ดำเนินการ "ภายใต้กลยุทธ์ Triple S " ประกอบด้วย
S ตัวแรก : Source Transformation การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตไฟฟ้า การจัดการตั้งแต่ต้นกำเนิด โดย กฟผ.ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต จัดหาและส่งไฟฟ้าให้กับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่มุ่งทำให้โรงไฟฟ้าเป็นพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ผ่านการบูรณาการนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ การจัดทำ Grid Modernization เป็นการบริหารจัดการ มีระบบการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า มีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
S ตัวที่ 2 : Sink Co-creation การดูดซับเก็บกักคาร์บอนอย่างมีส่วนร่วม โดยที่ผ่านมา กฟผ.ดำเนินโครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้ช่วยดูดซับคาร์บอน กฟผ.เคยทำมา 2 แสนกว่าไร่ และทำมาต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ตั้งเป้าปลูกให้ได้ 1 ล้านไร่ ภายใน 10 ปี ( ปี 2565 - 2574) หรือให้ได้ปีละ 100,000 ไร่ ควบคู่กับการทำเรื่อง Carbon Capture Utilization and Storage หรือ CCUS เป็นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน โดยมีเป้าหมายเพื่อกักเก็บคาร์บอนปริมาณ 3.5-7 ล้านตัน ภายในปี พ.ศ. 2588
S ตัวที่ 3 : Support Measures Mechanism การสนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เป็นรูปธรรม โดย กฟผ. มีหน้าที่สนับสนุน นั่นคือ สนับสนุนให้คนมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการที่ได้ดำเนินการมาแล้ว ได้แก่ โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แต่คงไม่พอ โดยจะมาทำเรื่องการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management) นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน การจัดทำแพลตฟอร์ม มีการบริหารจัดการพลังงาน