ความท้าทายที่สำคัญของการขับเคลื่อน "เศรษฐกิจไทย" ให้สามารถผ่านพ้นช่วงอันตราย จำเป็นต้องเหลียวหลัง-แลหน้า เช็คทิศทางเศรษฐกิจรอบโลก ว่ามีทิศทางหรือแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำข้อมูลไว้น่าสนใจ และขอนำมานำเสนอเป็นรายประเทศว่า ในปี 2567 เศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่จะเป็นยังไงกันต่อ
สศช. ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราชะลอลงจากปี 2566 และมีทิศทางการขยายตัวที่แตกต่างกันมากขึ้นในแต่ละกลุ่มประเทศ (Growth divergence) โดยกลุ่มเศรษฐกิจหลักนำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดที่อยู่อาศัย และมีแนวโน้มที่จะเผชิญข้อจำกัดจากการใช้จ่ายภาครัฐ
ขณะที่เศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนและสหราชอาณาจักร มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำในปีก่อน ส่วนกลุ่มเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย คาดว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องท่ามกลางปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์
ด้านกลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำในปีก่อนหน้า เช่นเดียวกับเศรษฐกิจอาเซียนที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการกลับมาขยายตัวของการส่งออก
สอดคล้องกับแนวโน้มปริมาณการค้าโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นจาก ปี 2566 ที่มีอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี หากไม่นับปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของปริมาณการค้าโลก สะท้อนจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อด้านคำสั่งซื้อล่วงหน้าภาคอุตสาหกรรมในหลายประเทศ และสัญญาณขาขึ้นของวัฏจักรสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มปรากฎชัดเจนมากขึ้นนับตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566
ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปี 2567 มีทิศทางปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากระดับสูงสุดในช่วงปลายปี 2565 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการด่าเนินนโยบายการเงิน โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องและยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางและมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2567
ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลง คาดว่าจะทำให้ประเทศสำคัญ ๆ เริ่มดำเนินการเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ทั้งนี้ สศช.ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะขยายตัว 2.7% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2566 ส่วนปริมาณการค้าโลกคาดว่าจะขยายตัว 3.2% ฟื้นตัวจาก 2.1% ในปี 2566 โดยมีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศสำคัญ ๆ ดังนี้
คาดว่าจะขยายตัว 1.4% ในปี 2567 ชะลอลงจาก 1.7% ในปี 2566 ตามการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในหมวดที่อยู่อาศัย ยังเผชิญข้อจำกัดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูงและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้า
ขณะเดียวกัน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามแรงกดดันเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษา (Student Loan Repayment) ในเดือนตุลาคม 2566
ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ คาดว่า จะส่งผลให้การจ้างงานปรับตัวลดลงในระยะต่อไป ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ อีกทั้งแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มที่จะลดลง สะท้อนจากการลดลงของการขาดดุลการคลัง โดยสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ (Congress Budget Office) คาดว่าปี 2567 รัฐบาลสหรัฐฯ จะขาดดุลการคลังคิดเป็น 5.6% ของ GDP เป็นการขาดดุลลดลงจาก 6.3% ในปี 2566
ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปี 2567 ที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการหยุดทำการชั่วคราวของรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ (Government Shutdown) คาดว่า ในปี 2567 เป็นต้นไป ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย
คาดว่าจะขยายตัว 0.9% ในปี 2567 เร่งขึ้นจาก 0.6% ในปี 2566 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลกซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว ภายหลังจากที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสามารถในการลดปริมาณการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียและเพิ่มปริมาณพลังงานสำรองได้มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
อีกทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ของสหภาพยุโรป คาดว่า ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภายหลังจากอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามยังมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูงต่อไป จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดระดับสู่เป้าหมายในระยะปานกลาง
คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัว 0.8% ชะลอลงจาก 1.5% ในปี 2566 โดยเป็นผลมาจากแนวโน้มการชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ภายหลังจากขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงก่อนหน้า สอดคล้องกับแนวโน้มค่าจ้างแรงงานที่แท้จริงที่ยัง ลดลง ประกอบกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของภาครัฐ เนื่องจากรัฐบาลได้มีการประกาศมาตรการเศรษฐกิจรอบใหม่ ประกอบกับการกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากปี 2566 รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
ขณะเดียวกัน การดำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น โดยในการประชุมเมื่อวันที่ 30 -31 ตุลาคม 2566 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินมาตรการ Yield Curve Control เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับการด่าเนินนโยบายมากขึ้น
ทั้งนี้ ภายใต้แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายในปี 2567 ทำให้คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำต่อเนื่อง จนกว่าจะสามารถบรรลุอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2.0% ในระยะยาว
คาดว่าจะขยายตัว 4.3% ในปี 2567 ชะลอลงจาก 4.9% ในปี 2566 ตามการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังเผชิญกับข้อจำกัดจากปัญหาขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง สะท้อนจากยอดการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลง
ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออก ยังมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ยังคงมีเพิ่มเติม ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Caixin PMI) ภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2566 ลดลงไปอยู่ที่ 49.5 ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2566 ลดลง 7.9% ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 6 และปริมาณสินค้าคงคลังภาคอุตสาหกรรมยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงสอดคล้องกับแรงกดดันด้านเงินฝืดโดยอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ -0.2%
นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังเผชิญกับปัญหาภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของการลงทุน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายทางการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนและลดความเสี่ยงด้านหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการด่าเนินการดeเนินมาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำในปีก่อนหน้า ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ท่ามกลางการลดลงของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว รวมถึง ภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของการค้าโลกและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2567 ของเกาหลีใต้ จะขยายตัว 2.0% เร่งขึ้นจาก 1.1% ไต้หวัน จะขยายตัว 2.9% เร่งขึ้นจาก 0.8% และสิงคโปร์ จะขยายตัว 2.0% เร่งขึ้นจาก 1.0% ในปี 2566 ขณะที่เศรษฐกิจฮ่องกง คาดว่า จะขยายตัว 2.5% ในปี 2567 เทียบกับ 3.2% ในปีก่อน
ในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น ตามการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลก ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ยังอยู่ในระดับสูงส่งผลให้ธนาคารทั้งสองประเทศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในเดือนตุลาคม 2566
ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2567 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย จะขยายตัว 4.8% เร่งตัวขึ้นจาก 4.7% มาเลเซีย จะขยายตัว 4.0% เร่งตัวขึ้นจาก 3.8% ฟิลิปปินส์ จะขยายตัว 5.5% เร่งตัวขึ้นจาก 5.0% และเวียดนาม จะขยายตัว 5.4% เร่งตัวขึ้นจาก 4.6% ในปี 2566
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะขยายตัว 2.5% ต่อเนื่องจากการขยายตัว 2.6% ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.0% ของ GDP เทียบกับการขาดดุล 3.2% ในปี 2565