ปัญหาน่าห่วงสำหรับ คุณภาพการศึกษาไทย ภายหลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุข้อมูลสำคัญผ่านบทความพิเศษ “พลิกมุม PISA ปัจจัยที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทย" โดยพบว่า ปัจจุบันสถานการณ์การศึกษาของไทยเริ่มส่งสัญญาณเข้าขั้นวิกฤต เพราะเป็นปัญหาสะสมมานาน โดยเฉพาะโครงสร้างที่ยังไม่มีการแก้ไขอย่างเอาจริงเอาจัง
พร้อมทั้งยกผลคะแนนสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment : PISA) ปี 2565 เป็นการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ใน 81 ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยประเทศไทยได้คะแนนลดลงต่อเนื่อง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยมีเป็นคะแนนที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่การเข้าร่วมการประเมินในปี 2543
นั่นเพราะปี 2565 เด็กไทยมีคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ 394 คะแนน ด้านวิทยาศาสตร์ 409 คะแนน และด้านการอ่าน 379 คะแนน ขณะที่กลุ่มประเทศสมาชิก OECD มีคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ 472 คะแนน ด้านวิทยาศาสตร์ 485 คะแนน และด้านการอ่าน 476 คะแนนเท่านั้น จนทำให้เพื่อนบ้านหลายประเทศแซงไปเป็นที่เรียบร้อย
ทั้งนี้ สศช. ได้มีข้อเสนอแนะ หลังจากเห็นสถานการณ์ชัดเจนแล้วว่า เด็กไทยต้องเผชิญปัญหาในหลาย ๆ ด้านที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษา พฤติกรรม รวมไปถึงการเติบโตอย่างมีคุณภาพของเด็ก ซึ่งนอกจากจะปฏิรูประบบการศึกษา และพัฒนาบุคลากรและระบบการเรียนการสอนต่าง ๆ แล้ว
โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ท้องถิ่น และรัฐ จำเป็นต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่จะลดความเหลื่อมล้ำในการจัดบริการการศึกษา รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีศักยภาพ ดังนี้
โดยหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณและบุคลากร ควรพิจารณาจากความต้องการและบริบทของสถานศึกษาร่วมด้วย นอกเหนือจากการพิจารณาตามขนาดโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กสามารถพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนขนาดใหญ่และช่วยให้คุณภาพทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและรอบด้าน
อีกทั้งควรสนับสนุนให้สถานศึกษามีการดำเนินการหลักสูตรฐานสมรรถนะได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความยืดหยุ่นในการจัดทำหลักสูตร โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนได้
โดยต้องส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับผู้เรียน และมีกลไกรองรับเมื่อหลุดออกนอกระบบ ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มเด็กที่มาจากครัวเรือนรายได้น้อยหรือเด็กกลุ่มช้างเผือก โดยใช้กลไกการเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น เช่น มีทุนการศึกษาให้เด็กยากจน ขยายบทบาทของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
ทั้งนี้ ควรสนับสนุนให้สถานศึกษามีการดำเนินการหลักสูตรฐานสมรรถนะได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความยืดหยุ่นในการจัดทำหลักสูตร โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนได้
รวมทั้งต้องมีกลไกในการค้นหาและนำเด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบ ควบคู่กับการจัดทำฐานข้อมูลเด็กนอกระบบให้เชื่อมโยงเป็นระบบเดียว โดยอาจอาศัยกลไกระดับพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามดูแลเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งอาจช่วยให้การแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนหลุดออกนอกระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยสภาพแวดล้อมที่ดีต้องปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในการมีพื้นที่ที่สามารถรับฟังความคิดเห็น ส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมรวมทั้งสร้างบรรยากาศให้เด็กรู้สึกไว้วางใจและสนับสนุนการมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งอาจต้องมีการอบรมบุคลากรทางการศึกษาในการสร้างสิ่งแวดล้อมดังกล่าว
รวมถึงต้องมีการหารือระหว่างบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในการกำหนดข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น รูปแบบการเรียน แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดการกลั่นแกล้ง และอาจต้องมีเครื่องมือประเมินและปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างครูและนักเรียนด้วย
โดยเปิดพื้นที่การสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง เด็ก ครู ให้สื่อสารพูดคุยเรื่องเรียน ความต้องการ พฤติกรรม ศักยภาพ และการสนับสนุนที่เหมาะสม โดยโรงเรียน/ครู ควรมีข้อมูลของนักเรียนที่เพียงพอต่อการติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายคนตามลักษณะปัญหา รวมถึงมีการสังเกตสัญญาณความผิดปกติ เน้นความใส่ใจ รับฟัง ทำความเข้าใจ และไม่ปล่อยให้เด็กเผชิญปัญหาเพียงลำพัง