กรุงไทยคอมพาส ชี้ ดอกเบี้ยขาลงครึ่งปีหลัง กดดันตลาดทุน ค่าเงินบาทไทย

25 มี.ค. 2567 | 09:17 น.
อัพเดตล่าสุด :25 มี.ค. 2567 | 12:59 น.

Krungthai Compass ชี้ เฟดส่งสัญญาณ ดอกเบี้ยขาลงช่วงครึ่งปีหลัง กดดันแบงก์ชาติไทยปรับลดตาม ยัน ไม่ใช่ปัจจัยหลักเงินทุนไหลออก ส่วนค่าเงินบาทไม่อ่อนแน่นอน ขณะที่ธนาคารส่วนมากไม่ตั้งสำรองเพิ่ม

ดร.ฉมาดนัย มากนวล ผู้อำนวยการ Business Risk and Macro Research ศูนย์วิจัย Krungthai Compass เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"  ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ยังมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลต่อการปรับอัตราดอกเบี้นนโยบายของแต่ละธนาคารกลางของโลก แต่ล่าสุด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนว่าตะลดดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้งในปีนี้ 

“เฟดมีท่าทีจะเริ่มบดดอกเบี้ยนโยบายในข่วงเดือนมิถุนายนนี้ ทำให้ทั่วโลกอาจจะมีการปรับลดตาม ซึ่งเดิมทีหลายฝ่ายคาดว่า จะลดลงแรงและเร็วกว่านี้ แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ยังไม่เป็นไปตามกรอบ ทำให้เฟดลดดอกเบี้ยช้าลงกว่าที่คาด”

สำหรับไทย มีสัญญาณชัดเจนเช่นกันว่ามีโอกาสสูงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงตามเฟด สะท้อนจากบอนด์ยิวที่ลดลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย โดยส่วนตัวเชื่อว่ส ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% แบ่งเป็น 2 ครั้ง 

ขณะเดียวกันไทยยังมีตัวแปรที่ต้องจับตา เช่น นโยบายภาครัฐในส่วนของการควบคุมราคาพลังงาน เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เงินเฟ้อติดลบในช่วงที่ผ่านมา ไปจนถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลังงบประมาณออกในช่วงกลางปี

สำหรับในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งถัดไปช่วงเดือนเมษายนนี้ น่าจะยังไม่มีการปรับอัตราดอดเบี้ยนโยบาย เชื่อว่า ธปท. น่าจะรอตัวเลข GDP Q1/67 จากสภาพัฒน์ที่จะมีการแถลงช่วงเดือน พฤษภาคมนี้ ก่อนพิจารณาอีกครั้ง ดังนั้นดอกเบี้ยของไทย อาจจะเข้าสู่ช่วงขาลงได้เร็วสุดคือในการประชุม กนง. รอบเดือนมิถุนายนนี้

เงินทุนไหลออกเพราะหลายปัจจัย

ทั้งนี้ การที่เงินทุนไหลออกจากไทยในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากความต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับต่างชาติ ประกอบกับความไม่ชัดเจนในนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ทำให้หลายฝ่ายไม่มั่นใจว่า GDP ไทยจะโตเกิน 3% ได้ ดังนั้น ตัวเลข GDP Q1/67 คือตัวชี้วัดที่สำคัญตัวหนึ่ง

“ดอกเบี้ยขาลงในไทยไม่ทำให้เงินไหลเข้าอยู่แล้ว ส่วนภาพรวมของการลงทุนโดยรวมของไทยก็ยังไม่มีเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่ดึงดูดนักลงทุนได้มากเท่าที่ควร ดังนั้น สถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยจึงค่อนข้างขยับตัวได้ยาก”

ธนาคารมีทุนสำรองพอรับมือดอกเบี้ยขาลง

สำหรับความกังวลถึงการตั้งเงินทุนสำรองของธนาคารจะได้รับผลกระทบหากเข้าสู่ข่วงดอกเบี้ยขาลง จนทำให้มีการกู้เงินเพิ่มขึ้นนั้น มองว่า ไม่น่ามีปัญหา เพราะแต่ละแห่งมีทุนสำรองเพียงพอ ไม่ต้องกันสำรองเพิ่ม

ทั้งนี้ แม้จะมีผู้เข้ามาขอกู้เงินเพิ่มในช่วงขาลงของดอกเบี้ย แต่ไทยยังมีมาตราการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการแก้ปัญหสหนี้ครัวเรือนที่ ธปท. ออกมาก่อนหน้านี้แล้ว

 

ค่าเงินบาทผันผวนตามตลาดโลก

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลจากหลายฝ่ายเรื่องค่าเงินบาทผันผวน หวั่นซ้ำรอย กรณี ธนาคารแห่งชาติสวิส (Swiss National Bank) ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย กดดันให้เงินฟรังก์สวิสอ่อนค่าลง

โดยเรื่องนี้ ต้องยอมรับก่อนว่า ค่าเงินบาทไทยมีความผันผวนอยู่แล้ว หากลดดอกเบี้ยก็มีความเป็นไปได้ ที่จะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยแน่นอน แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผล เพราะมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกด้วย 

อย่าวไรก็ตาม แม้เฟด จะมีท่าทีชัดเจนว่าจะลดดอกเบี้ยนโยบาย และมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นช่วงเดือนมิถุนายนนี้ แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าจะลด 100% เพราะ เฟด ก็ต้องรอดูข้อมูลเศรษฐกิจจากหลายปัจจัยประกอบกัน 

"เศรษฐกิจของไทยน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะไม่มีภาพว่าจะกระเตื้องขึ้นชัดเจน ดังนั้นการที่เงินทุนไหลออก ค่าเงินก็อ่อนเป็นปกติ ทิศทางทุกอย่างจะชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกก็จะดีขึ้น ครึ่งปีหลังเงินบาทก็อาจจะทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้น เพราะเราลดดอกเบี้ยนโยบายตามโลก ส่วนต่างก็เท่าเดิม"