วันนี้ (2 เมษายน 2567) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเป็นการล่วงหน้าแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำหรับการดำเนินการครั้งนี้ กระทรวงการคลัง แจ้งว่า เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เรื่องการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ การปรับเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ รวมทั้งเพื่อให้ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน
ดังนั้น กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง จึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และเสนอมาให้ครม.พิจารณา
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละ 11,000 บาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจนครบ เดือนละ 11,000 บาท
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
กระทรวงการคลัง ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 2.33 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 27.96 ล้านบาทต่อปี
โดยใช้งบกลาง รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับเบี้ยหวัดและผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ
ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ มี 5 ประเภท ได้แก่