นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)ในฐานะที่ดูแลกองทุนประกันวินาศภัย ได้มีมติเสนอทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการเคลมประกันโควิด เจอ จ่าย จบ โดยรับเงินเคลมประกันวันนี้ในอัตราส่วนลดแทนที่จะรอเงินเคลมในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เคลมประกันที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับเงินจากการเคลม เนื่องจาก กองทุนวินาศภัยเหลือเงินในกองทุนน้อยมาก
ทั้งนี้ กองทุนประกันวินาศภัย มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ ซึ่งมีสิทธิ์ได้รับการชำระหนี้ ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยรายได้จากกองทุนมาจากเงินนำเงินนำส่งของบริษัทประกันวินาศภัย ในอัตรา 0.5 % ของเบี้ยประกันภัยรับ
“แทนที่ผู้ขอเคลมประกันโควิดเจอ จ่าย จบ จะใช้เวลานานเป็น 10 ปี เพื่อเคลมประกัน หากต้องการได้เงินในวันนี้เลย มีทางเลือกให้รับในอัตราที่เป็นส่วนลด เช่น สิทธิ์การเคลมประกันที่ 100 บาท อาจลดเหลือ 60 บาท โดยกองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินเคลมประกัน แทนบริษัทประกันวินาศภัยที่ปิดกิจการที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด และกองทุนประกันวินาศภัย จะจ่ายให้กับผู้เคลมประกัน รายละไม่เกิน 1 ล้านบาทตามกฎหมาย”
แหล่งข่าวจากกองทุนประกันวินาศภัย กล่าวว่า นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนวินาศภัยตั้งแต่ปี 2551 มีบริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว 14 บริษัท โดยเฉพาะในช่วงโควิด ที่มีการทำประกันแบบเจอ จ่าย จบ และมีการเคลมประกันเป็นจำนวนมาก ทำให้บริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกัน ต้องปิดกิจการลง 4 บริษัท คือ
“ผลจากการปิดกิจการของ 4 บริษัทดังกล่าว ทำให้กองทุนประกันวินาศภัยมีภาระต้องชำระหนี้แทนบริษัทประกันวินาศภัยรวมถึง 6 หมื่นล้านบาท และมีเจ้าหนี้ที่มีสิทธิ์ได้รับการชำระหนี้ มากถึง 6 แสนราย ขณะที่ ปัจจุบันเงินกองทุนเหลือไม่มากนัก โดยภาระหนี้ดังกล่าว ยังไม่นับรวมกรณีบริษัท สินมั่นคง ประกันภัย ที่อาจถูกปิดกิจการในอนาคต”
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมากองทุนวินาศภัย ได้ดำเนินการชำระหนี้แทนบริษัทประกันวินาศภัย แล้วเสร็จ 3 บริษัท คือ
ส่วนบริษัทที่ยังอยู่ในระหว่างการชำระหนี้อีก 7 บริษัท ได้แก่
ทั้งนี้ กองทุนวินาศภัยได้อนุมัติการชำระหนี้แทนบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตไปแล้ว 8.51 พันล้านบาท มีเจ้าหนี้ที่ได้รับการชำระหนี้แล้ว 1.45 แสนราย ปัจจุบันกองทุน มีการพิจารณาอนุมัติชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ 350-400 ล้านบาทต่อเดือน
“กองทุนได้พยายามหาแนวทางเพิ่มแหล่งรายได้ของกองทุน นอกเหนือจากการปรับเพิ่มเงินนำส่งของบริษัทประกันวินาศภัย จาก 0.25 % เป็น 0.50 % แล้ว กองทุนยังได้ยื่นขอให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ บรรจุแผนการก่อหนี้ ให้กองทุนในวงเงิน 3 พันล้านบาท และการยื่นของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลด้วย”