แบงก์ชาติ บทบาทและหน้าที่ หลัง “อุ๊งอิ๊ง” เผยเป็นอุปสรรคแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

05 พ.ค. 2567 | 23:15 น.

แบงก์ชาติ บทบาทและหน้าที่ หลัง “อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร” ขึ้นเวทีในงาน “10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10” เผยความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในขณะนี้ เมื่อ อุ๊งอิ๊ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ขึ้นเวทีในงาน  “10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10” เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และ ได้พูดบนเวทีตอนหนึ่งว่า  ความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ กลายเป็นวาทะกรรมสร้างความร้อนแรง และแรงกดดันให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ให้กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง

 

แบงก์ชาติ บทบาทและหน้าที่

เมื่อพลิกไปดูบทบาท แบงก์ชาติ และ หน้าที่ ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แจ้งรายละเอียดไว้ดังนี้

หน้าที่หลักของแบงก์ชาติ

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึง การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศที่ดี ซึ่งตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551  กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน ดังนี้

กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน

หน้าที่ของธนาคารกลางทุกแห่งคือ การกำหนดนโยบายการเงิน เพื่อสร้างระบบทางการเงินที่มีเสถียรภาพ รักษาระดับราคาของสินค้าและบริการไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนได้ รายละเอียดเพิ่มเติม (คลิก)

 

แบงก์ชาติ บทบาทและหน้าที่

รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

การรักษาความมั่นคงของระบบการเงินเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการเงินที่มีเสถียรภาพจึงมีความสำคัญ เพราะหากขาดเสถียรภาพอาจสามารถลุกลามเป็นวิกฤตการเงิน (financial crisis)
ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน อ่านรายละเอียด (คลิก)

กํากับระบบสถาบันการเงิน

มุ่งหาสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันความเสี่ยง โดยการกำกับดูแลสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินอย่างยืดหยุ่น เพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม และฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากภาวะวิกฤต (resilience) ซึ่งยังคงรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม อ่านรายละเอียด (คลิก)

ตลาดการเงิน

ธปท. มีหน้าที่ในการพัฒนาตลาดการเงิน และตลาดตราสารหนี้ตามกรอบนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน  อ่านรายละเอียด (คลิก)

ระบบการชำระเงิน

ระบบการชำระเงินเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ อ่านรายละเอียด (คลิก)

ธนบัตร

ธปท. ผลิตธนบัตรคุณภาพสูง ยากต่อการปลอมแปลง หมุนเวียนธนบัตรสภาพดี มุ่งเน้นให้มีความเพียงพอในทุกสถานการณ์ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและสิ่งแวดล้อมของทั้งระบบ สอดคล้องกับระบบการชำระเงินอื่น ๆ ในอนาคต เพื่อความเชื่อมั่นและพึงพอใจของประชาชน อ่านรายละเอียด (คลิก)

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ธปท. ได้ดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินไทยและภูมิภาค รวมถึงเสริมสร้างบทบาทของ ธปท. ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อ่านรายละเอียด (คลิก)

มาตรการพิเศษ

ดูแลให้ระบบเศรษฐกิจการเงินยังคงดำเนินต่อไปได้
ในช่วงที่ประสบภาวะวิกฤต  โดยเป็นการดำเนินงานนอกเหนือจากหน้าที่หลักของ ธปท. อ่านรายละเอียด (คลิก)

 

ที่มา: แบงก์ชาติ