“ฐานเศรษฐกิจ” รายงานว่า สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ( ป.ย.ป.) เปิดรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพในกฎหมายของบุคคลล้มละลาย พ.ศ. .... ประกอบด้วย 7 มาตรา โดยให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ บนเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 จนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567
โดยระบุหลักการและเหตุผลสมควรให้มีการแก้ไขว่า การดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพในกฎหมายของบุคคลล้มละลายในปัจจับันมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่ง ส่งผลให้บุคคลล้มละลายขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพจากกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
ผลกระทบของการกำหนดข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลายในกฎหมาย เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหลายฉบับที่ใช้บังคับในปัจจุบันเป็นเหตุให้บุคคลล้มละลายเป็นข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลาย และการกำหนดข้อจำกัดดังกล่าวมีแนวทางที่ไม่ชัดเจน ได้แก่ เหมารวมว่าบุคคลล้มละลายไร้ความสามารถ
การล้มละลายไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ดีเสมอไป ข้อจำกัดดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์และไม่คุ้มค่า และขัดต่อหลักสากลในเรื่องการเคารพสิทธิของบุคคลและการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และอาจขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงสมควรกำหนดแนวทางเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในกรณีที่มีการกำหนดห้วงเวลาการห้าม เพื่อมิให้เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลมากเกินไป
แต่สำหรับบุคคลที่ล้มละลายทุจริตนั้น อาจนำมาเป็นข้อจำกัดต่อไปได้ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลนั้นกลับมาสร้างความเสียหายต่อสังคมได้อีก
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาบุคลากรที่ดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพที่มีความรู้ ความสามารถ ให้อยู่ในระบบต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
โดย “ข้อจำกัด” ในการประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลาย ออกเป็น 4 ลักษณะ
โดยที่การกำหนดข้อจำกัดดังกล่าวมีแนวทางที่ไม่ชัดเจน ได้แก่ เหมารวมว่าบุคคลล้มละลายไร้ความสามารถ การล้มละลายไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ดีเสมอไป ข้อจำกัดดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์และไม่คุ้มค่า ขัดต่อหลักสากลในเรื่องการเคารพสิทธิของบุคคลและการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 4 ระบุว่า ให้ยกเลิกมาตราในพระราชบัญญัติ ที่บัญญํติว่า "เป็นบุคคลล้มละลาย” จำนวน 13 ฉบับ และให้ใช้ข้อความตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติแทน โดยกำหนดให้การ “เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต” เป็นลักษณะต้องห้ามการดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
สำหรับบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้ จำนวน 13 จังหวัด ได้แก่