วันที่ 7 มิถุนายน 2567นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนพฤษภาคม 2567 เท่ากับ 108.84 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 1.54% ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปบวกเพิ่มต่อเนื่องเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 13 เดือน
อย่างไรก็ตามหากดูจากอัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ในเดือนเมษายน 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มขึ้น 0.19 % และยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ที่ระดับต่ำอันดับ 6 จาก 129.เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และอยู่ในระดับต่ำสุดในอาเซียน จาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข ( สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย)
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 สูงขึ้น 0.63% ตามการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.37% ปรับสูงขึ้นตามราคาผักสด ไข่ไก่ เนื้อสุกร ผลไม้สด
ขณะที่ มะนาว นมเปรี้ยว ข้าวสารเจ้า ส้มเขียวหวาน ราคาปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.09% ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันน้ำมันดีเซล
อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลง อาทิ ค่าโดยสารเครื่องบิน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (น้ำยาซักแห้ง) และสารกำจัดแมลง เป็นต้น
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 – 1.0 (ค่ากลาง 0.5%) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤษภามคม 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.4 จากระดับ 51.9ในเดือนก่อนหน้า และปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกหลังจากลดลงต่อเนื่อง 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566) และยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565)
สำหรับเป็นการปรับลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ 44.1 จากระดับ 44.5 และในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.9 จากระดับ 56.8 สาเหตุมาจาก
1. ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และเกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้
2. การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้น
3. ภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคการผลิตในช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังกังวลเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า ราคาพลังงานและค่าครองชีพ และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง
นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิถุนายน ปี 2567 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากฐานราคาต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าลดลง
การต่ออายุมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าครัวเรือน ราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผักสดปรับตัวลดลง การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ระดับต่ำ