ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พ.ศ. .... สำหรับใช้ในโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่สองและลงมติวาระที่สามในวันนี้ ท่ามกลางข้อกังขาในข้อกฎหมายของกรรมาธิการในสัดสัด สส.ฝ่ายค้านว่าทำได้หรือทำไม่ได้ และสุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะกฎหมาย 2 ฉบับ 2 มาตรา ได้แก่
นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ก่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พ.ศ. .... ในวาระที่สองและวาระที่สามของสภาผู้แทนราษฎรอีกไม่ถึง 24 ชั่วโมง
นายเฉลิมพลกล่าวว่า พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 21 รัฐบาลได้เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 แสดงว่าเป็นการยืนยันตัวตนว่า มีสิทธิรับเงิน เพราะฉะนั้น เข้าใจได้ว่า เข้าสู่กระบวนการใช้จ่ายงบประมาณแล้ว เหมือนกับกระบวนการทำ PO เข้าสู่กระบวนการทำสัญญา จึงเป็นตามเกณฑ์ ตามกฎหมาย
นายเฉลิมพลกล่าวว่า ส่วนที่ระบุว่า การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติม ต้องมีเหตุผลและความจำเป็นในการใช้จ่ายงบประมาณระหว่างปี โดยไม่สามารถรองบประมาณในปีถัดไปได้นั้น รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในปี 67 ที่ต้องใช้เงิน 1.22 แสนล้านบาท เพื่อจ่ายให้เป้าหมาย 50 ล้านคน และเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม หมายความว่า คนที่ลงทะเบียนภายในวันที่ 1 สิงหาคมถึง 30 กันยายน 2567 ก็เข้าสู่กระบวนการใช้จ่ายงบประมาณแล้วก็ถือว่างบประมาณสามารถใช้จ่ายได้
“เบิกจ่ายหมายถึงจ่ายเงินออกเลย ใช้จ่ายหมายถึงทำ PO + เบิกจ่าย เพราะฉะนั้นการทำเพียงแค่ PO ถือว่าเป็นการใช้จ่ายงบประมาณแล้ว”นายเฉลิมพลกล่าว
ขณะที่ฝ่ายกฎหมายของสำนักงบประมาณได้ตอบชี้แจงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พ.ศ. .... ประเด็นคำถาม ว่า พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 21 ที่กำหนดให้การใช้จ่ายงบประมาณ พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติม จะต้องมีการใช้จ่ายเงินระหว่างปี แต่โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ตคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเงินในไตรมาสสี่ ของปี 2567 จะสอดคล้องตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้
“จึงสรุปได้ว่า การลงทะเบียนและยืนยันตัวตนของประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามระบบภายใต้โครงการ 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ถือเป็นข้อผูกพันตามกฎหมายของหน่วยรับงบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายเงินให้กลุ่มเป้าหมาย”
สำหรับการขอเบิกจากคลังหรือการเบิกจ่ายงบประมาณนั้น ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา 43 กำหนดว่า กรณีเบิกจ่ายงบประมาณไม่ทัน หน่วยรับงบประมาณสามารถขอขยายระยะเวลาการขอเบิกเงินจากคลังได้ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ โครงการ Digital Wallet เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจเป็นกรณีที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนที่ไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ได้ และเมื่อได้มีการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนของประชาชนกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็ถือเป็นข้อผูกพันที่จะนำไปสู่กระบวนการใช้จ่ายและเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง