สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบมาตรการภาษีในการสนับสนุนคนไทยที่ศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศ หรือ มาตรการ “ดึงดูดคนไทยหัวกะทิ” ประกอบด้วย
โดยมีกลุ่มเป้ากมาย คนไทยที่มีประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศอย่างน้อย 2 ปี และวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธันวาคน 2568 (วันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดการเดินทางกลับเข้าประเทศของผู้ร่วมมาตรการ)
ทั้งนี้ ระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมมาตรการ ตั้งแต่วันที่กฎหมายใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572
แหล่งข่าวคณะทำงานของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า มาตรการดึงดูดหัวกะทิจะทำให้คนไทยตัดสินใจกลับมาประเทศไทยได้ง่ายขึ้น เพราะถึงแม้จะได้เงินเดือนน้อยกว่า แต่เสียภาษีน้อยลง ค่าครองชีพถูกกว่า และมาพร้อมกับโอกาสการเติบโตในหน้าที่การงานและการสร้างครอบครัว ขณะเดียวกันก็ช่วยทั้งฝ่ายนายจ้าง ที่ไม่ต้องตั้งเงินเดือนให้สูงมาก ขณะที่ฝ่ายลูกจ้างได้เงินกลับบ้านติดมือในจำนวนที่ตัวเองยอมรับได้
“คาดว่าเป้าหมาย 500 คนในการดึงคนไทยที่ทำงานจะอยู่ในบริษัท top tier ในต่างประเทศ อาทิ Meta Netflix”
ส่วนการกำหนดมาตรการไว้แค่ปลายปี 2568 เพื่อเร่งการตัดสินใจ เหตุผลเพื่อให้สอดคล้องกับความพยายามของรัฐบาลที่จะดึงบริษัทต่างประเทศมาลงทุนเข้ามาในไทยเพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต
“การตั้ง data center มาแน่นอน ไมโครซอฟท์มาแล้ว กูเกิ้ลประกาศมาปีนี้ แต่การลงทุนคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี เหลือเพียงรัฐบาลจะให้ความมั่นใจกับกูเกิ้ลว่า รัฐบาลไทยจะเดินหน้าทำให้กูเกิ้ลในประเทศไทยเติบโตได้”
ตอนนี้ทีมกูเกิ้ลอยู่ระหว่างเสนอบอร์ดภายใน ซึ่งก่อนหน้านี้กูเกิ้ลให้เราพิจารณาในเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (direct PPA) เรื่องที่ดิน เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบซึ่งเรียบร้อยแล้ว
เราให้ความมั่นใจกับกูเกิ้ลได้ว่าในอนาคตไม่ว่าจะเป็นเรื่อง e-government ทางรัฐ โอกาสในด้านการศึกษาไทย โอกาสที่จะเป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีจะเข้ามาอย่างไร เป็นเรื่องที่เราให้ความมั่นใจได้ว่า เป็นนโยบายของรัฐบาล
นอกจากนี้กูเกิ้ลอยากจะมาฝึกอบรมคนไทยให้ใช้เครื่องมือในการเพิ่มผลิตภาพที่จะขายและมีหุ้นส่วนทางธุรกิจในไทยมาใช้ เช่น การสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา และประชาชน เกิดเป็นการแข่งขันกับไมโครซอฟท์เกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านการศึกษา
“ปีหน้าคงคึกคักมากขึ้น เริ่มมีการมาลงทุนจริง คนเริ่มเข้ามาทำงานมากขึ้น”คณะทำงานที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปิดดีลกูเกิ้ล-ไมโครซอฟท์ของนายเศรษฐาระบุ
รายงานข่าวระบุว่า ขณะนี้นายเศรษฐาหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปต่างประเทศ เพราะไม่ค่อยห่วงเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศแล้ว ซึ่งการบริษัทต่างชาติจะค่อยๆ เข้ามาลงทุนในไทย อย่างไรก็ตามหากจำเป็นต้องไปต่างประเทศก็จะเป็นในลักษณะไปเช้า-เย็นกลับ