โดยระบุว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเวลานี้ เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำความสูญเสียให้กับประเทศค่อนข้างมาก ถ้าไม่รีบแก้ไขในวันนี้ จะแก้ได้เมื่อไร ซึ่งงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีอยู่ เห็นว่าสามารถนำมาลงทุนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งทั้งระบบได้
ข้อเสนอแนะดังกล่าว ถือเป็นการสอดรับกับนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ในคราวประชุมหารือการบริการจัดการนํ้า เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่มองว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศไทยที่จะต้องแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นภายในรัฐบาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหานํ้าท่วม นํ้าแล้ง คุณภาพนํ้าดื่ม และนํ้าใช้อุปโภคบริโภค โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานเรื่องนํ้าเร่งทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดทำแผนงานด้านนํ้าระยะ 3 ปีพร้อมสั่งการให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)เร่งจัดทำแผนงานด้านนํ้าและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาโดยเร็ว
ขณะที่นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการนํ้าของประเทศอย่างเป็นระบบ และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องเร่งขับเคลื่อนให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยมีการจัดทำแผน 3 ปี และโครงการสำคัญ เพื่อกำหนดเป็นวาระด้านทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ รวม 6 แผนงาน จาก 23 หน่วยงาน จำนวน 53,892 รายการ วงเงิน 623,812 ล้านบาท โดยจะมีการนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.หลังจากมีการจัดตั้งครม.ใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
แผนงานที่ 1 การพัฒนานํ้าอุปโภคบริโภค จำนวน 27,233 รายการ วงเงินรวม 93,329 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม ครัวเรือนได้รับประโยชน์ 4.55 ล้านครัวเรือน ปริมาณนํ้าต้นทุนเพื่อผลิตประปาเพิ่มขึ้น 165 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)
แผนงานที่ 2 การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งนํ้าเดิม และพัฒนาระบบกระจายนํ้า จำนวน 11,750 รายการ วงเงิน 192,524 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 9.75 ล้านไร่ ปริมาณนํ้าเก็บกักเพิ่มขึ้น 2,147.70 ล้าน ลบ.ม.
แผนงานที่ 3 การพัฒนาพื้นที่เกษตรนํ้าฝน จำนวน 8,426 รายการ วงเงิน 97,537 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 2.60 ล้านไร่ ปริมาณนํ้าเก็บกักเพิ่มขึ้น 1,008 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรได้รับประโยชน์ 0.13 ล้านครัวเรือน
แผนงานที่ 4 การพัฒนาพื้นที่หน่วงนํ้าและการป้องกันนํ้าท่วมชุมชนเมือง จำนวน 483 รายการ วงเงิน 21,379 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 0.68 ล้านไร่ พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน 0.50 ล้านไร่ ครัวเรือนได้รับประโยชน์ 0.34 ล้านครัวเรือน ความจุในการหน่วงนํ้าเพิ่มขึ้น 1,942.35 ล้าน ลบ.ม.
แผนงานที่ 5 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรนํ้า จำนวน 5,938 รายการ วงเงิน 20,615 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่ได้รับการฟื้นฟู 3.45 ล้านไร่ พื้นที่ลดการชะล้างพังทลาย 3.37 ล้านไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 0.26 ล้านครัวเรือน ปริมาณนํ้าเพิ่มขึ้น 166 ล้าน ลบ.ม.
แผนงานที่ 6 แผนงานตามโครงการสำคัญ จำนวน 62 รายการวงเงิน 198,248 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 4.34 ล้านไร่ พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน 0.40 ล้านไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 0.94 ล้านครัวเรือน ปริมาณนํ้าเก็บกักเพิ่มขึ้น 1,239 ล้าน ลบ.ม.
นอกจากนี้ ยังมีโครงการสำคัญต่อเนื่องดำเนินการหลังจาก 3 ปี วงเงิน 106,807 ล้านบาท ภายใต้แผนงานด้านที่ 1 การเพิ่มปริมาณนํ้าต้นทุน 37 โครงการ โดยกรมชลประทาน กรมทรัพยากรนํ้า เช่น โครงการสำคัญในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ,โครงการอ่างเก็บนํ้านํ้ากิ จ.น่าน โครงการผันนํ้าเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ฯลฯ
โครงการภายใต้แผนงานด้านที่ 2 การบรรเทาปัญหาอุทกภัย 24 โครงการ โดยกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร เช่น โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ,โครงการระบบระบายนํ้าและระบบป้องกันนํ้าท่วมพื้นที่ชุมชนพิชัย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่วนต่อขยายจากบึงหนองบอนถึงคลองประเวศบุรีรมย์และคลองสี่ ฯลฯ และ โครงการภายใต้แผนงานด้านที่ 3 การแก้ไขปัญหาคุณภาพนํ้า 1 โครงการ โดยกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมนํ้าเสียและระบบบำบัดนํ้าเสียมีนบุรี ระยะที่ 2
อีกทั้ง มีรายการปรับปรุงแหล่งนํ้าของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเดิม และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่หน่วยงานขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว รวม 526 รายการ วงเงิน 13,322 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 0.52 ล้านไร่ ปริมาณนํ้าเก็บกักเพิ่มขึ้น 112 ล้าน ลบ.ม. ครัวเรือนรับประโยชน์ 86,320 ครัวเรือน
แยกเป็นแผนงานดังนี้ แผนงานที่ 1 การพัฒนานํ้าอุปโภคบริโภค (จำนวน 279 รายการ วงเงิน 3,218 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม ครัวเรือนรับประโยชน์ 73,026 ครัวเรือน ปริมาณนํ้าต้นทุนเพื่อผลิตประปา 1.41 ล้าน ลบ.ม.) แผนงานที่ 2 การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งนํ้าเดิม และพัฒนาระบบกระจายนํ้า (จำนวน 175 รายการ วงเงิน 3,357.5106 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 0.33 ล้านไร่ ปริมาณนํ้าเก็บกักเพิ่มขึ้น 10.39 ล้าน ลบ.ม.)
แผนงานที่ 3 การพัฒนาพื้นที่เกษตรนํ้าฝน (จำนวน 36 รายการ วงเงิน 2,614 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 33,570 ไร่ ปริมาณนํ้าเก็บกักเพิ่มขึ้น 13 ล้าน ลบ.ม.) แผนงานที่ 5 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรนํ้า (จำนวน 32 รายการ วงเงิน 962 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่ได้รับการฟื้นฟู 0.10 ล้านไร่) และแผนงานที่ 6 โครงการสำคัญ (จำนวน 4 รายการ วงเงิน 3,170 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์รวม พื้นที่รับประโยชน์ 55,592 ไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 13,133 ครัวเรือน ปริมาณนํ้าเก็บกักเพิ่มขึ้น 86.70 ล้าน ลบ.ม.