ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ได้จัดสรรวงเงินงบประมาณเกี่ยวกับ “งบสวัสดิการประชาชน” โดยดูแลตั้งแต่เด็กแรกเกิด กลุ่มเปราะบาง แรงงาน ไปจนถึงผู้สูงวัย กำหนดเอาไว้ในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งคิดเป็นวงเงินงประมาณรวมสูงถึง 7.49 แสนล้านบาท
ขณะที่งบประมาณ กลุ่มสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล มีวงเงินรวม 426,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41,957 ล้านบาทหรือ 10.9% จากงบประมาณปี 2567 ที่มีทั้งสิ้น 385,037 ล้านบาท
“ฐานเศรษฐกิจ” ได้ตรวจสอบรายละเอียดพบว่า กลุ่มสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลมีการจัดสรรวงเงินให้
นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ก่อนหน้านี้ว่า จากการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณที่ดูแลสวัสดิการประชาชนในปีงบประมาณ 2568 มีการจัดสรรวงเงินงบประมาณด้านสวัสดิการที่จะต้องดูแลคนทุกกลุ่มสูงถึง 7.49 แสนล้านบาท ซึ่งถ้ารวมเงินเดือนครู และบุคลากรทางการแพทย์ เข้าไปด้วย จะทำให้มีวงเงินงบประมาณที่ต้องใช้พุ่งสูงถึง 9.7 แสนล้านบาทด้วย
"ถ้ารวมเงินเดือนครู และบุคลากรทางการแพทย์ เข้าไปด้วย จะทำให้มีวงเงินงบประมาณที่ต้องใช้พุ่งสูงถึง 9.7 แสนล้านบาท"
ทั้งนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เผยแพร่รายงานความเสี่ยงทางการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว่า รัฐบาลมีภาระค้างจ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนประกันสังคม 71,384 ล้านบาท
ขณะที่สถานะเงินกองทุนประกันสังคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน แต่ยังคงมีความเสี่ยงในระยะยาว โดยเฉพาะในส่วนของกองทุนชราภาพ เงินกองทุนประกันสังคม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 มีจำนวนที่ 2,335,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.34% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปัจจัยเสี่ยงระยะสั้น จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลายลง โดยอัตราการจ่ายเงินสมทบได้กลับสู่ระดับปกติและการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยลดลง
อย่างไรก็ดี ระดับความเพียงพอของเงินกองทุนชราภาพในระยะยาว ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและแก้ไขในระยะปานกลางต่อไป โดยอัตราส่วนเงินทุน (Funding Ratio) ในปี 2566 เมื่อเทียบกับมูลค่าปัจจุบันของประมาณการรายรับ - รายจ่ายสุทธิในอีก 75 ปีข้างหน้า อยู่ที่เพียง 0.07 เท่า ถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับระดับสากล
ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวกองทุนประกันสังคมอาจจำเป็นต้องพิจารณาทบทวนอัตราเงินสมทบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นรวมไปถึงการพิจารณามาตรการอื่น ๆ ควบคู่ด้วย อาทิ การขยายอายุเกษียณ การขยายเพดานฐานค่าจ้างสูงสุด
"รัฐบาลควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณในส่วนที่รัฐบาลยังค้างจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนประกันสังคม 71,384 ล้านบาท (ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566) ในโอกาสแรกที่กระทำได้ด้วย"
ขณะที่รายจ่ายสวัสดิการบุคลากรภาครัฐในปีงบประมาณ 2566 มีจำนวนรวมที่ 514,497 ล้านบาท ขยายตัว 7.61% จากปีงบประมาณก่อน คิดเป็นสัดส่วน 16.15% ของงบประมาณรายจ่าย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยเฉพาะส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 20,508 ล้านบาท เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 36,302 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงาน จำนวน 617 ล้านบาท
ด้านกรมบัญชีกลางรายงานว่า กรมบัญชีกลางมีบทบาทโดยตรงในการดูแลสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัวของข้าราชการ โดยข้อมูลการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ประเภทผู้ป่วยนอก ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 พบว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษา 7,303 ล้านบาท มีผู้มาใช้สิทธิ 1.54 ล้านราย คิดเป็นจำนวนธุรกรรม 3.58 ล้านรายการ
"จำนวนผู้มาใช้สิทธิเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่มีผู้มาใช้สิทธิ อยู่ที่ 1.49 ล้านคน คิดเป็น 3.38 ล้านรายการ ค่าใช้จ่ายในการรักษา 6,925 ล้านบาท"
สำหรับส่วนราชการที่มีผู้ใช้สิทธิสูงสุด 3 อันดับแรก คือ
ขณะที่สถานพยาบาลที่มีผู้ใช้สิทธิมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,026 วันที่ 12 - 14 กันยายน พ.ศ. 2567