นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Surapol Opasatien” เกี่ยวกับข้อมูลหนี้ครัวเรือนล่าสุด ณ เดือนกรกฎาคม 2567 ว่า จากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตน(no privacy) บรรดาลูกหนี้ยังอยู่ในสภาพมีหลุมรายได้และภูเขาหนี้ ใน 3 ด้าน ดังนี้
1. ตัวเลขหนี้ครัวเรือนในฐานข้อมูลสถิติเครดิตบูโรเท่ากับ 13.6 ล้านล้านบาท แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน2567 มีเพิ่มบ้างคือ Nano finance ขยายตัว 4.7%เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
2. หนี้เสียที่มียอดคงค้างเกิน 3 เดือนหรือ NPL ขยับเพิ่มจาก 1.16 ล้านล้านบาทมาเป็น1.19 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.7% ของหนี้รวม ซึ่งเคยประมาณการณ์ว่าคงจะไปถึง 1.2 ล้านล้านบาทในไม่ช้าไม่นาน กล่าวตัวเลขหนี้เสียจะไหลต่อ แต่คงไม่ไหลบ่าแบบน้ำท่วมฉับพลัน
3. ขณะที่ เงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษที่มียอดคงค้างไม่เกิน 90 วัน หรือ SM มีประเด็นที่น่าสนใจกล่าวคือ ในเดือนมิถุนายน 2567ปรับลดลงมาจากไตรมาสก่อนอย่างมากจนเหลือ 5 แสนล้านบาทแต่ผ่านไป 1เดือน ในเดือนกรกฎาคม กระโดดมาเป็น 6.7แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7แสนล้านบาท
ยอดคงค้างสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษที่มียอดคงค้างไม่เกิน 90 วัน หรือ SM เดือนกรกฎาคม 2567
“สงครามการสู้รบระหว่างหนี้ปกติไหลมาเป็นหนี้กำลังจะเสีย, หนี้กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือหนี้ SM โดยมีอาวุธคือการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน Preemptive Debt Restructure หรือที่เรียกว่า DR. ภายใต้มาตรการการให้กู้อย่างมีความรับผิดชอบหรือ RL มีความเข้มข้นมากในเวลานี้ และจะเพิ่มมากขึ้นแน่ๆจนถึงสิ้นปีแน่นอน”
แต่ตัวเลขของหนี้เรื้อรัง, หนี้เรื้อรังรุนแรง ที่เข้ามาตรการช่วยเหลืออันเป็นเรือธงของการสู้รบตอนนี้ไปได้เท่าไหร่แล้ว เพราะ Ploan แบบหมุนเวียนของลูกหนี้รายได้น้อยที่มีลักษณะจ่ายดอกสะสมมาในอดีตที่มากกว่าจ่ายเข้าต้นนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ Ploan ที่มีการไหลมาเป็น SM เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญในเดือนกรกฎาคม 2567
“ความโปร่งใสในตัวเลขจะสร้างความเชื่อถือเชื่อมั่นให้กับเรือธงนะครับความจริงมันไม่เซาะกร่อนบ่อนทำลายอะไรเลย ฝากท่านผู้ดำเนินรายการช่วยขานไขนะครับกราบเรียนมาด้วยความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง ขัดเคืองใจก็อย่าใช้อำนาจเป็นธรรมนะครับ... มันบาป”