"สุรพงษ์" ลงพื้นที่ศึกษาโรงงานหัวรถจักร ต่อยอดอุตสาหกรรมระบบราง

28 ก.ย. 2567 | 09:50 น.
อัพเดตล่าสุด :28 ก.ย. 2567 | 09:59 น.

"สุรพงษ์" ลงพื้นที่ศึกษาโรงงานหัวรถจักรรถไฟ เยอรมนี พบยอดผลิตพุ่ง 300 คันต่อปี แนะช่องทางเปิดโอกาสต่อยอดอุตสาหกรรมระบบรางในไทย

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตหัวรถจักรของบริษัท Siemens

ซึ่งเป็นโรงงานผู้นำด้านเทคโนโลยีการขนส่งทางรางระดับโลก เมืองมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

\"สุรพงษ์\" ลงพื้นที่ศึกษาโรงงานหัวรถจักร ต่อยอดอุตสาหกรรมระบบราง

สำหรับการเยี่ยมชมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตหัวรถจักร โดยบริษัท Siemens มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนารถไฟในระดับโลก

ปัจจุบัน Siemens มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย ทั้งในด้านขบวนรถและระบบอาณัติสัญญาณ

โดยเฉพาะในโครงการรถไฟฟ้าหลายสาย เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว ,รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ,รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้นครมิวนิกนอกจากเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของ Siemens ยังมีโรงงานผลิตหัวรถจักร Vectron ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมมากในยุโรป

จากการเพิ่มขยายโรงงาน คาดว่าโรงงานจะสามารถผลิตหัวรถจักรได้มากกว่า 300 คันต่อปี ซึ่งการขยายโรงงานดังกล่าว

\"สุรพงษ์\" ลงพื้นที่ศึกษาโรงงานหัวรถจักร ต่อยอดอุตสาหกรรมระบบราง

แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมระบบรางของโลก

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า โรงงาน Siemens ที่มิวนิก เป็นตัวอย่างในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทยได้

"การเยี่ยมชมครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ยังเป็นการกระชับความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนี ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในอนาคต" นายสุรพงษ์ กล่าว

\"สุรพงษ์\" ลงพื้นที่ศึกษาโรงงานหัวรถจักร ต่อยอดอุตสาหกรรมระบบราง

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า การเยี่ยมชมโรงงาน Siemens ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนพัฒนาระบบรางของไทย

ซึ่งได้เห็นศักยภาพในการผลิตที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย

นอกจากนี้การขยายโรงงานของ Siemens ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมระบบรางของโลก ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบรางของไทย