การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงนามนามสัญญาจ้าง นายวีริศ อัมระปาล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าฯรฟท.)คนที่ 20 อย่างเป็นทางการ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2567 ที่ผ่านมา โดยมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟฯ เป็นผู้ลงนามเมื่อวันที่19ก.ย.ที่ผ่านมา
นับหนึ่ง การทำหน้าที่ผู้ว่าฯรฟท.อย่างเป็นทางการ ผู้ว่าฯรฟท.เปิดเผยว่านโยบายของตนเองจะขอใช้เวลาเพื่อศึกษางานประมาณ 1 เดือนก่อน และภายใน 3 เดือนแรก
มีแผนจัดการเกี่ยวกับระบบที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และโครงสร้างองค์กรต้องมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้สะสมกว่า2.3แสนล้านบาทซึ่งเป็นเรื่องใหญ่แต่จะเร่งสะสางให้ลุล่วงภายใน4ปี
ในทางกลับกัน รฟท.มี ขุมทรัพย์ 3.8หมื่นไร่ มูลค่านับแสนล้านบาท ที่โอนให้บริษัทลูกอย่าง บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ฐานะบริษัทลูก ตั้งแต่ปี2565 เพื่อนำที่ดินแปลงศักยภาพเปิดประมูลสร้างรายได้ ซึ่งผู้ว่าฯรฟท.คนใหม่ระบุได้ให้ความสำคัญในหลายทำเล
ทั้งนี้นโยบายเดิมมีเป้าหมาย 10 ปี 1.25 แสนล้านบาท 30 ปี 6แสนล้านบาทตามลำดับเพื่อลบคราบภาระหนี้สิน ที่สะสมอยู่ กว่า 2 แสนล้านบาทให้หมดไป
จากการบริหารจัดการขุมทรัพย์ใหญ่ที่สามารถสร้างรายได้มหาศาล อย่าง ที่ดินศูนย์คมนาคมพหลโยธิน 2,325 ไร่ ที่ดินแปลงใหญ่ ทำเลทองเปิดให้เอกชนพัฒนาต่อยอด
โดยมีสถานีกลางบางซื่อ(สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ศูนย์กลางเดินทางระบบรางใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน เป็นจุดขาย ตั้งเป้าหมายดึงนักลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์มิกซ์ยูส ซึ่งที่ผ่านมารฟท.เคยเปิดประมูลพื้นที่โดยรอบมาแล้วสองครั้ง แต่ ไม่ ประสบความสำเร็จ ทำให้ต้องปรับแผนครั้งใหญ่ โดยอาศัยบริษัทลูก นำที่ดินทั้งหมดออกพัฒนา ประเมินว่าเอกชนจะให้ความสนใจ
ที่ดินสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน47ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าวและโรงแรม ที่จะหมดอายุลง เซ็นทรัล ลาดพร้าวจ่ายค่าเช่าที่ดินรฟท.กว่า 1,387 ล้านบาท ประจำปี 2567 และจะหมดอายุสัญญาเช่าในปี 2571
ที่ดินรถไฟย่านรัชดาฯ 186ไร่124แปลง124สัญญา ปล่อยเช่าสร้างตึกสูงใหญ่ โรงแรม -สถานบริการอาบอบนวด ราคาที่ดินสูงสุดอยู่ที่ 1.1ล้านบาทต่อตารางวา และมีหลายแปลงที่จะหมดสัญญา ขณะเดียวกัน หลายสัญญาขอเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์เปลี่ยนรูปแบบเป็นโรงแรม3ดาวอย่างโพไซดอน ที่ประเมินว่าต้องปรับสัญญาเช่าใหม่ทั้งหมดเพื่อสร้างรายได้
นอกจากนี้ยังมีที่ดินแปลงศักยภาพรองสถานีธนบุรี 148ไร่ โดย บ้านพักพนักงานรถไฟ สถานีธนบุรี 305 ครัวเรือน เนื้อที่ 21 ไร่ รฟท. มีแผนแปลงโฉมเป็นมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่ ให้เอกชนเช่าระยะยาว 30 ปีเพราะนอกจากใกล้โรงพยาบาลศิริราช แม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว
บริเวณดังกล่าว ยังเป็นทำเลทองศักยภาพสถานีจุดตัดรถไฟฟ้า 2 สาย ระหว่างสายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) และสายสีแดง (ตลิ่งชัน -ศิริราช-ศาลายา)
ขณะเดียวกันยังสะดวกสบาย ใกล้สถานีอิสรภาพ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินยังไม่รวมที่ดินบริเวณตลาดน้อยย่านฝั่งธนบุรีติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีรูปแบบให้เอกชนเช่าพัฒนาโรงแรม3ดาวฯลฯ
ขณะระบบรางที่ต้องดำเนินงาน เร่งด่วนที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมมอบนโยบาย ให้เร่งผลักดันโครงการลงทุนของรฟท. จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 661,060 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
1. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง รังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,473 ล้านบาท
ปัจจุบันได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อขอทบทวนมติครม.และปรับกรอบวงเงิน หลังจากในช่วงที่ผ่านมารฟท. ได้สรุปผลการศึกษาและเสนอ ครม.ไป แล้ว แต่มีการดึงเรื่องกลับมาปรับแก้ไขใหม่เพื่อความรอบคอบ
2.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วง ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงิน 15,176 ล้านบาท ที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการศึกษาควบรวม 2 เส้นทางไว้ด้วยกัน ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณลดลง 110 ล้านบาท
3.โครงการไฮสปีด ไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. วงเงิน 341,351 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานโยธา 235,129 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 10,310 ล้านบาท ค่าลงทุนระบบราง-ระบบรถไฟฟ้า และเครื่องกล 80,165 ล้านบาท
ปัจจุบันประเทศจีนต้องการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายนี้ไปสู่ภูมิภาค เมื่อไทยมีการก่อสร้างโครงการไฮสปีดในระยะที่ 1 แล้ว จำเป็นต้องก่อสร้างต่อในระยะที่ 2 เพื่อให้เกิดศักยภาพการขนส่งทางระบบราง
4.โครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด)ไทย-จีน เฟส 2 มูลค่า 3.4แสนล้านบาท คาดว่าสศช.จะอนุมัติโครงการภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นจะเสนอต่อครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไป
5โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน6โครงการ ประกอบด้วย
ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 กม. วงเงิน 81,143 ล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 30,422 ล้านบาท
โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 66,270 ล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 68,222 ล้านบาท
โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 44,103 ล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,900 ล้านบาท