รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์ม THAIs (Thailand Halal Trustworthy A.I.) เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศไทย
โดยประยุกต์ใช้ AI สองแนวทาง ได้แก่ Actual Implementation ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานด้วยมือและสมองของมนุษย์ เช่น การวางระบบ HAL-Q ,งานห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล ,การใช้นวัตกรรม และการตัดสินทางศาสนา (ฟัตวา)
รวมถึง Artificial Intelligence โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยแพลตฟอร์ม THAIs จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคผู้บริโภคและภาคธุรกิจ เกิดความเชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศไทย เพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มความสามารถด้านการแข่งขัน
"การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมฮาลาลไทย ที่ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแท้จริง และสมบูรณ์"
อย่างไรก็ดี ศวฮ.ได้มีการพัฒนางานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีฮาลาลเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมฮาลาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมในหลายขั้นตอนผ่านกระบวนการมาตรฐานฮาลาลที่ชื่อว่า HAL-Q มีการใช้นวัตกรรม ,H numbers ,น้ำยาดินชำระล้าง
งานทางนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล วางระบบในโรงงานอุตสาหกรรม 1,112 โรงงาน ครอบคลุมคนงาน 158,823 คน ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ไปแล้วกว่า 188,731 ตัวอย่าง นำไปสู่พัฒนาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การสร้างบิ๊กดาต้า การพัฒนาระบบฮาลาลบล็อกเชนเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในกระบวนการทวนสอบย้อนกลับ (Traceability) ผ่านแอปพลิเคชันในรูป Thailand Diamond Halal Blockchain