กลุ่ม BRICS จะช่วยพลิกโฉมเศรษฐกิจสีเขียวได้หรือไม่

24 ต.ค. 2567 | 06:24 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ต.ค. 2567 | 06:32 น.

กลุ่ม BRICS จะช่วยพลิกโฉมสภาพภูมิอากาศโลกได้หรือไม่ เพราะสมาชิก BRICS ถือเป็นผู้นำทั้งด้านการผลิตและการเข้าถึงแร่ธาตุดิบที่สำคัญที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าพลังงานสะอาด

กลุ่มเศรษฐกิจ BRICS ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ จากนั้นอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำลังถูกจับตามองว่านั่งอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจต่อรอง เนื่องจากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจของตนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

นั่นเป็นเพราะสมาชิก BRICS ครองตำแหน่งผู้นำทั้งในด้านการผลิตและการเข้าถึงแร่ธาตุ เเละวัตถุดิบที่สำคัญที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าพลังงานสะอาด เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าและแผงโซลาร์เซลล์ ตัวอย่างเช่น บราซิลและจีน มีแหล่งสำรองกราไฟต์ธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า

ในปีนี้การเพิ่มสมาชิกใหม่ของกลุ่ม BRICS จำนวน 5 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์อย่างอียิปต์และซาอุดีอาระเบีย จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งของกลุ่มในฐานะผู้เล่นที่สำคัญในการแข่งขันระดับโลกเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความต้องการสินค้าพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกมอบข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้กับประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ในกลุ่ม BRICS+ อย่างไร

BRICS บทบาทในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัจจุบัน จีนเป็นผู้ผลิตแร่ธาตุและธาตุ 16 ชนิดที่รัฐบาลสหรัฐฯ ถือว่าสำคัญมากที่สุดในโลก ปัจจุบัน จีนคิดเป็น 60% ของปริมาณการผลิตลิเธียมและโคบอลต์ทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งใช้ในแบตเตอรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตอิตเทรียม แกลเลียม แมกนีเซียม ทังสเตน และบิสมัทรายใหญ่อีกด้วย สมาชิก BRICS อื่นๆ ต่างก็มีแร่ธาตุหายากสำรองอยู่มาก 

บราซิล ผลิตกราไฟท์ 10% ของโลก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

แอฟริกาใต้และรัสเซีย ผลิตแพลตตินัมรวมกัน 83% ของโลกสำหรับใช้ในแบตเตอรี่รุ่นถัดไป

อินเดีย เป็นผู้ผลิตธาตุหายากรายใหญ่ เช่น แบไรต์ โครเมียม และไททาเนียม

ในเดือนมกราคม 2024 สมาชิก BRICS ตกลงที่จะรวมผู้เข้าร่วมใหม่ 5 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เรียกว่า BRICS+

ตามข้อมูลของศูนย์การศึกษากลยุทธ์และระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กลุ่มใหม่นี้ครอบครองแมงกานีส 75% ของโลก กราไฟต์ 50% ของโลก นิกเกิล 28% ของโลก และทองแดง 10% ของโลก (ไม่รวมสำรองของอิหร่าน)

ในอนาคต สมาชิก BRICS+ เช่น ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำลังขยายการสำรวจ เช่น ทองคำ ทองแดง และนิกเกิล ตัวอย่างเช่น อิหร่านเพิ่งค้นพบแหล่งลิเธียมขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน อียิปต์ค้นพบแหล่งสำรองหินฟอสเฟตขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

ประเทศกลุ่ม BRICS กำลังจำกัดการค้าหรือไม่

ในเดือนมกราคม 2024 สมาชิก BRICS ตกลงรวมผู้เข้าร่วมใหม่ 5 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การเพิ่มสมาชิกเหล่านี้จะยิ่งทำให้กลุ่มนี้ครองตลาดวัตถุดิบที่สำคัญ (CRM) ระดับโลกได้มากขึ้น

BRICS ได้กำหนดข้อจำกัดต่าง ๆ ไว้แล้ว ตั้งแต่ภาษีส่งออกไปจนถึงการห้ามโดยเด็ดขาด และการจัดสรรใบอนุญาตให้กับบริษัท

ตัวอย่างเช่น ในปี 2022 แอฟริกาใต้ได้ห้ามการส่งออกโลหะบางชนิด เมื่อปีที่แล้ว จีนได้ห้ามการส่งออกกราไฟต์ธรรมชาติโดยอ้างว่าเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ ในขณะเดียวกัน รัสเซียได้กำหนดโครงการอนุญาตการส่งออกวัตถุดิบที่สำคัญ (CRM) ในตลาดสำคัญหลายแห่ง

ประเทศใดบ้างที่ซื้อวัตถุดิบที่สำคัญ จาก BRICS

ประเทศสมาชิกกลุ่ม G7 คิดเป็น 57% ของความต้องการวัตถุดิบที่สำคัญ ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจกลุ่มG7  ซึ่งรวมถึงแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ได้ลงนามข้อตกลง 40 ฉบับกับประเทศต่างๆ ที่จัดหาวัตถุดิบที่สำคัญ ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Global Trade Alert สหภาพยุโรปเป็นพันธมิตรทางการค้าที่กระตือรือร้นเป็นพิเศษ โดยมีข้อตกลงดังกล่าว 14 ฉบับ

ความต้องการ CRM ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม G7 หมายความว่า ประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดในการส่งออกของกลุ่ม BRICS โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวัตุถดิบสำคัญที่มีความเข้มข้นสูง เช่น แร่ธาตุหายากในจีนหรือแกรไฟต์ธรรมชาติในบราซิล

ในขณะที่บริษัทต่างๆ พยายามหาปัจจัยการผลิตที่จำเป็นเพื่อผลิต สินค้าสีเขียว บริษัทต่างๆ อาจเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญเนื่องจากตลาดบางแห่งกระจุกตัวทางภูมิศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์และพลวัตโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

ความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงและการวางแผนฉุกเฉินจึงเป็นประเด็นสำคัญและติดตามการพัฒนาภูมิรัฐศาสตร์และนโยบายการค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อความพร้อมของทรัพยากร

อ้างอิงข้อมูล