นายกรัฐมนตรี “แพทองธาร ชินวัตร” พร้อมคณะ มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงวันที่ 14 - 16 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู โดยเวทีนี่นับเป็นเวทีใหญ่ของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจของโลกเวทีแรกของรัฐบาล
สำหรับเนื้อหาสำคัญของการเดินทางเยือนเวทีใหญ่ระดับโลกครั้งนี้ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายกรัฐมนตรี จะได้พบกับผู้นำเขตเศรษฐกิจระดับโลก อาทิ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เพื่อกระชับความร่วมมือด้านต่าง ๆ รวมถึงพบปะกับภาคเอกชนสำคัญ ทั้ง Google Microsoft และ TikTok
โดยรัฐบาลจะขอใช้โอกาสและเวทีนี้ ยืนยันว่า ประเทศไทยพร้อมแล้วสำหรับการลงทุนและการเมืองมีเสถียรภาพ เพื่อให้เกิดการดึงดูดการลงทุนมาสู่ประเทศไทย
ขณะเดียวกันในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังได้ให้ความเห็นชอบร่างเอกสารสำคัญของประเทศไทยจำนวน 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีสาระสำคัญ แยกเป็นรายฉบับได้ดังนี้
สาระสำคัญ : ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจโลกผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล และการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย (MSMEs) ในด้านการค้า การเข้าถึงบริการทางการเงิน และระบบสาธารณสุข
สาระสำคัญ : การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในการผลักดัน การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจโลก และการบูรณาการทางเศรษฐกิจ ที่กว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น โดยส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดกว้าง เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส
สาระสำคัญ : เป็นการแสดงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนวาระ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ในการรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันที่กระทบต่อการค้าและการลงทุน โดยเน้นความร่วมมือในประเด็นใหม่ ๆ เช่น การใช้ประโยชน์จากดิจิทัล
สาระสำคัญ : เป็นการระบุแนวทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ได้สอบถามข้อคิดเห็นต่อร่างเอกสารทั้ง 4 ฉบับ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วไม่มีข้อขัดข้อง และเห็นว่า ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 4 ฉบับ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย