4. Nested Model เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การเป็นเจ้าของธุรกิจของครอบครัวในอุดมคติ โดยสมาชิกในครอบครัวตกลงที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ร่วมกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สินในธุรกิจอื่นด้วย ธุรกิจจึงมีความซ้อนกันอยู่เนื่องจากธุรกิจครอบครัวขนาดเล็กจะถูกรวมอยู่ในบริษัทครอบครัวขนาดใหญ่กว่า โดยครอบครัวเป็นผู้บริหารธุรกิจทั้งหมดและแบ่งรายได้ในรูปของเงินปันผล
โมเดลนี้สมบูรณ์แบบเพราะจะช่วยลดแรงเสียดทานจากหน่วยงานอื่นๆ ของกิจการ เป็นการสร้างการแข่งขันที่ดีและการควบคุมจุดแข็งที่แตกต่างกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ความท้าทายมากที่สุดของโมเดลธุรกิจนี้คือต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะขาดเงินทุนสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการลงทุนที่ทำซ้อนมีขนาดเล็ก
5. The Public Model เป็นโมเดลที่ธุรกิจครอบครัวดำเนินการในฐานะบริษัทมหาชนในขณะที่ยังคงเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งเจ้าของเดิมจะมีอำนาจการควบคุมธุรกิจอย่างจำกัด เนื่องจากมักนำมืออาชีพจากภายนอกมาบริหารจัดการบริษัท โดยปกติบริษัทจะอนุญาตให้ซื้อขายหุ้นภายนอกได้ โมเดลนี้เหมาะอย่างยิ่งในการกอบกู้บริษัทที่อาจใกล้จะล้มละลายทางการเงิน เนื่องจากธุรกิจจะได้รับทรัพยากรมากขึ้นจากการขยายการขายหุ้นสู่สาธารณะ
อย่างไรก็ตามธุรกิจสามารถเปลี่ยนจากโมเดลหนึ่งไปเป็นอีกโมเดลหนึ่งได้ เพียงแต่ต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว บทบัญญัติทางกฎหมาย และนโยบายการกำกับดูแลอื่นๆ เป็นต้น การเลือกโมเดลความเป็นเจ้าของธุรกิจที่เหมาะสมที่สุดจะช่วยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของที่อาจเป็นอุปสรรคการอยู่รอดของบริษัท เนื่องจากการต่อสู้ทางกฎหมายที่ยืดเยื้อ
การขาดแผนการสืบทอดกิจการที่ชัดเจน และขาดกรอบทางกฎหมายที่เหมาะสมทำให้ธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ล้มเหลว โดยทั่วไปแล้วความสามารถในการทำกำไรและความยั่งยืนของบริษัทจากรุ่นสู่รุ่นนั้นพิจารณาจากวิธีที่เจ้าของคนปัจจุบันและสมาชิกในครอบครัวจัดการกับการสืบทอดกิจการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำโมเดลความเป็นเจ้าของธุรกิจที่เหมาะสมที่สุดมาปรับใช้กับทุกฝ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤติในภายหลัง
ที่มา: Mbugua, D. 2021. The Best Business Model For Family Businesses. Available:
https://www.ibtimes.com/best-business-model-family-businesses-3113310
หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,824 วันที่ 6 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565