โดยได้พัฒนาโครงสร้างครอบครัวเกี่ยวกับความมั่งคั่งเลียนแบบการทำธุรกิจนั่นเอง และนอกเหนือจากการจัดการความมั่งคั่งแล้ว บางครอบครัวยังตัดสินใจส่งต่อมรดกด้วยการก่อตั้งมูลนิธิครอบครัว โดยทายาทรุ่นต่อมาเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน ซึ่งมูลนิธิใช้เพื่อประโยชน์ในพันธกิจหรือผลประโยชน์ของครอบครัว ถือเป็นอีกหนึ่งกุญแจสู่ความสำเร็จในการถ่ายโอนความมั่งคั่งจากคนหลายรุ่นโดยเชื่อมโยงคนรุ่นต่อไปผ่านการกุศล ซึ่งการกุศลจะช่วยให้ลูกๆสามารถสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจได้
2. ตั้งกองทุนธุรกิจครอบครัวในอนาคต อีกทางเลือกหนึ่งหลังจากขายธุรกิจครอบครัวและทำทรัพย์สินเหล่านั้นให้กลายเป็นทุน คือ การให้เงินทุนแก่สมาชิกในครอบครัวรุ่นต่อไปเพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบธุรกิจของตนเอง โดยบางครอบครัวมอบเงินทุนให้กับคนรุ่นต่อไปเพื่อลงทุนหรือเปิดตัวสตาร์ทอัพ
ขณะที่บางครอบครัวให้เป็นการยืมเงิน ในบางครั้งสินทรัพย์จะอยู่ในกองทรัสต์ (trust) ซึ่งผู้รับผลประโยชน์สามารถยืมออกไปได้ ครอบครัวจะทำหน้าที่เหมือนเป็นธนาคารโดยจัดหาเงินทุนให้กับคนรุ่นต่อไปในการเป็นผู้ประกอบการ
แต่ในขณะเดียวกันก็มีการคุ้มครองความมั่งคั่งด้วย อย่างไรก็ตามหากสมาชิกรุ่นต่อไปไม่พร้อมหรือไม่ต้องการทำธุรกิจ บางครอบครัวอาจเลือกให้ทุนแก่ผู้ประกอบการภายนอกผ่านกองทรัสต์ (trust) ที่คล้ายคลึงกับมูลนิธิครอบครัว เช่น ก่อตั้งกองทรัสต์เพื่อประโยชน์ของนักธุรกิจในการให้เงินเพื่อการฝึกงานและซื้อเครื่องมือที่จำเป็น ขณะที่บางครอบครัวรวบรวมกองทุนสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจและตั้งเป็น Investment Holding เพื่อร่วมกันลงทุน
3. รักษาบทเรียนและมรดกของผู้ก่อตั้งธุรกิจครอบครัว เมื่อทายาทรุ่นต่อไปถูกแยกออกจากผู้ก่อตั้งธุรกิจครอบครัว ก็มีโอกาสอย่างมากที่ข้อมูลเชิงลึกของผู้ประกอบการที่ประเมินค่ามิได้จะสูญหายไป ดังนั้นควรใช้ประโยชน์จากผู้ที่ปรึกษาให้ช่วยบันทึกเรื่องราวความเป็นของธุรกิจครอบครัวและทำให้มรดกตกทอดเหล่านั้นยังคงอยู่
จะทำให้ครอบครัวสามารถส่งต่อมรดกไปยังคนรุ่นหลังที่อาจไม่รู้เรื่องราวในอดีตมากนักได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเอกสารที่เรียงตามลำดับเวลาเท่านั้น อาจเป็นบทเรียนที่ได้เรียนรู้ระหว่างเส้นทางการทำธุรกิจก็ได้ ทั้งนี้การแบ่งปันข้อผิดพลาดและความท้าทายที่เคยเอาชนะมาได้นั้นค่อนข้างมีพลังต่อคนรุ่นหลัง
ดังนั้นหากมีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งอยู่ในครอบครัว การเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นแบ่งปันไหวพริบและภูมิปัญญาที่ตนได้พัฒนาขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ย่อมจะสามารถช่วยให้ครอบครัวพัฒนาและสานต่อจิตวิญญาณของผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง เรื่องราวความสำเร็จใหม่ๆของธุรกิจครอบครัวมักเริ่มต้นขึ้นหลังจากการ disruption แล้วทั้งนั้น
นอกจากนี้เมื่อครอบครัวได้สานต่อมรดกความเป็นผู้ประกอบการของครอบครัวแล้ว ยังสามารถช่วยสร้างและสานต่อสายสัมพันธ์พิเศษระหว่างพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และลูกๆ อีกด้วย ทั้งนี้โปรดตระหนักไว้เสมอว่าการสิ้นสุดมรดกธุรกิจครอบครัวของคนรุ่นหนึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของคนรุ่นต่อไปก็เป็นได้
ที่มา: Ascent Private Capital Management. May 8, 2023. Business founders Ways to pass on business knowledge after selling the family business. Available:https://ascent.usbank.com/private-capital-management/ascent-resources-and-insights/business-founders/maintaining-family-business-legacy.html
หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,912 วันที่ 10 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566