วันนี้ (วันที่ 28 พฤษภาคม 2567) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) จัดประชุมการรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 งานสำรวจและออกแบบ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ระยะที่ 3 เพื่อระดมความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการออกแบบโครงการให้มีความเหมาะสม
โดยมี ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT เป็นประธานการประชุมฯ และผู้แทนหน่วยงานจากภาครัฐ บริษัทสายการบิน ผู้ประกอบการให้บริการภาคพื้น ผู้ประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ และผู้ให้บริการด้านขนส่ง ทั้งภายในและภายนอก ทดม.จำนวนกว่า 200 คนร่วมการประชุม
ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT หรือ ทอท. กล่าวว่า แผนการพัฒนาสนามบินดอนเมือง เฟส 3 ซึ่งทอท.จะเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี และสามารถบริหารจัดการได้ถึง 50 ล้านคนต่อปี ภายใต้งบลงทุนรวมซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงินให้แล้วรวม 36,829 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบเบื้องต้น และเตรียมจะเปิดรับฟังจัดประชุมการรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 2 ในวันนี้
ล่าสุดทอท.ได้ปรับแผนลงทุนพัฒนาสนามบินดอนเมือง เฟส 3 โดยได้ดึงโครงการอาคารผู้โดยสารส่วนบุคคล หรือ ไพรเวท เจ็ท เทอร์มินัล ซึ่งเดิมทอท.จะลงทุนราว 1,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการนี้เอง แต่ล่าสุดได้ปรับแผนใหม่ มาเป็นการเปิด Public Private Partnerships หรือ PPP ดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งจะเป็นพื้นที่ไพรเวท เจ็ท เทอร์มินัล แห่งที่ 2 บนพื้นที่ใหม่บริเวณ คลังสินค้า 4 ในสนามบิน คาดว่าสัญญาสัปทาน 15-20 ปี เพื่อดึงดูดตลาดไพรเวท เจ็ท ที่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงเดินทางเข้าไทย และให้บริการด้านการซ่อมบำรุงเครื่องบินส่วนบุคคลที่จะมาใช้บริการด้วย
การลงทุนสร้างไพรเวท เจ็ท เทอร์มินัล ในพื้นที่ใหม่นี้ จะเพิ่มการรองรับเครื่องบินส่วนบุคคล เพิ่มได้อีก 30 เที่ยวบิน สร้างรายได้ทอท.ราว 2-3 พันล้านบาท หากรวมการให้บริการเที่ยวบินส่วนบุคคล ที่ใช้บริการไพรเวท เจ็ท เทอร์มินัล ของเอ็มเจ็ท ที่รองรับได้ 30 เที่ยวบินต่อวัน ก็จะทำให้สนามบินดอนเมืองรองรับเที่ยวบินไพรเวทเจ็ทได้รวม 60 เที่ยวบินต่อวัน ซึ่งที่ผ่านมาเราได้รับเสียงสะท้อนว่าเครื่องบินไพรเวท เจ็ท อยากมาไทย แต่เราไม่บริการในส่วนนี้น้อยมาก หากเทียบกับสิงคโปร์ ที่มีไพเวท เจ็ท เทอร์มินัล ให้บริการเครื่องบินไพรเวท เจ็ท ได้มากถึง 200 เที่ยวบินต่อวัน
สำหรับในส่วนของสัญญากับเอ็มเจ็ท ที่จะหมดสัญญาในปี 2569 สำหรับพื้นที่ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน จะไม่มีการต่อสัญญา และจะต้องเข้าสู่กระบวนการ Public Private Partnerships (PPP) เช่นกัน และในขณะเดียวกันเอ็มเจ็ท ก็ยังสามารถมาร่วมประชุมในไพรเวท เจ็ท เทอร์มินัล ในพื้นที่ใหม่ได้ด้วย ซึ่งทอท.จะเปิดให้กว้างให้เกิดการแข่งขัน เพราะอยากให้มีผู้ประกอบการมากกว่า 1 ราย
ทั้งนี้หลังการนำโครงการไพเวท เจ็ท เทอร์มินัล ในพื้นที่บริเวณคลังสินค้า 4 มาเปิด PPP ให้เอกชนลงทุน ทอท.ก็จะนำงบในส่วนนี้ตัดมาใช้ในการขยายลานจอดที่ติดกับทางเชื่อมของอาคารผู้โดยสาร (Pier) ทางด้านทิศใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารได้มากขึ้น ซึ่งเราได้วางตำแหน่งของสนามบินดอนเมืองไว้ว่า จะต้องเป็นสนามบินที่มีความสะดวกสบาย รองรับการให้บริการแบบ Point To Point ทั้งเที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศ ต่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เน้นการเชื่อมต่อเที่ยวบิน หรือ คอนเนคติ้ง ไฟล์ท
การเปิด PPP นอกจากมีโครงการไพเวท เจ็ท เทอร์มินัล แห่งใหม่แล้ว ก็จะมีการเปิด ppp ในโครงการ Junction Terminal (อาคารพื้นที่เชิงพาณิชย์) ในสนามบินดอนเมือง คาดว่ามูลค่าการลงทุนอยู่ที่ราว 2,500 ล้านบาท
สำหรับแผนการลงทุนขยายสนามบินดอนเมือง เฟส 3 ที่ทอท.จะลงทุนเอง มูลค่าการลงทุน 36,829 ล้านบาท หลักๆจะเป็นการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ (International Terminal) เทอร์มิยัล 3 บริเวณด้านทิศใต้ของสนามบิน มีพื้นที่ใช้สอยประมาณกว่า 166,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศได้สูงสุด 23 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2572
จากนั้นจะปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศ ร่วมกับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สามารถรองรับผู้โดยสารภายในประเทศได้สูงสุด 27 ล้านคนต่อปี รวมพื้นที่ใช้สอยมากถึง 240,000 ตารางเมตร คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2574 ทำให้สนามบินดอนเมือง มีพื้นที่รองรับผู้โดยสารรวมกว่า 400,000 ตารางเมตร และมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการบินเพื่อรองรับการเดินทางภายในประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ
รวมถึงการปรับปรุงอาคารคลังสินค้า 1 และ 2 เพื่อรองรับคาร์โก้ ใต้ท้องเครื่องบิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับสินค้าได้ 5 แสนตันต่อปี การสร้างอาคารจอดรถยนต์เพิ่มอีก 4 พันคัน เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวจากปัจจุบันให้บริการอยู่ 2 พันคัน การปรับปรุงถนนภายในสนามบินให้เป็น 8 ช่องทางจราจร และยังอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทดอนเมือง โทลเวย์ ในการเชื่อมต่อจากโทลเวย์ เข้าสนามบิน ซึ่งทอท.จะลงทุนพื้นที่ในส่วนของสนามบิน ขณะที่ดอนเมือง โทลเวย์ จะลงทุน Ramp เชื่อมเข้าสนามบิน
“ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการฯ โดยคาดว่าจะออกแบบก่อแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2567 และในโครงการนี้ไม่มีการสร้างรถไฟฟ้าไร้คนขับ หรือ APM ในการเชื่อมทางเดินทางภายในสนามบิน ตั้งแต่แรกแล้ว ทั้งนี้เมื่อออกแบบรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จ จากนั้นจะมีการเปิดประมูลหาผู้รับเหมา โดยจะเปิดประมูลรวมเป็นแพ็คเกจเดียว เนื่องจากมีหลายโครงการในการพัฒนา และมีความซับซ้อนในการก่อสร้าง และจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างระหว่างปี 2568 – 2574”
ดังนั้นเบ็ดเสร็จแล้วการขยายสนามบินดอนเมืองเฟส 3 จะมีการเปิดประมูลใน 3 โครงการ ได้แก่