วันที่ 6 ธันวาคม 2565 วันนี้นำโดย นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย ประกาศเชิญชวน สื่อมวลชนทุกแขนง! เกษตรกรชาวสวนยาง & องค์กร-สถาบันฯที่เกี่ยวข้องกับยางพารา! "บอกเล่าความความเสียหาย ที่ขายผลผลิตต่ำกว่าต้นทุนจากการดูดายไม่เอาใจใส่ของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง " วันนี้ เวลา14.00 น. พร้อมกันที่หน้าสำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช (หลังสถานีรถไฟจันดี) นอกจากนี้ ยังมี ภาคีเครือข่ายชาวสวนยางและชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย,วิสาหกิจชุมชนฯน้ำยางสดและแปรรูปยาง,กลุ่มเอกชนแปรรูปยางแผ่นรมควัน และกลุ่มผู้ค้าน้ำยางและยางแผ่นรายย่อย
เช่นเดียวกับ นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เนื่องจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำมาเป็นเวลายาวนาน แต่การแก้ไขจากผู้ที่มีอำนาจรับผิดชอบ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และขายยางในราคาต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิตมาโดยตลอด และนโยบายการประกันรายได้ กก.ละ 60 บาท ไม่เคยตอบโจทย์ไม่ถึงมือเกษตรกร เท่ากับเป็นการประกันให้กับพ่อค้ามาตลอด 3 ปี เป็นการถลุงงบประมาณของรัฐ
เพราะฉะนั้นภาคีเครือข่ายฯได้นำเสนอในที่ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ให้รัฐยกเลิกการประกันรายได้ยางพารา มาเป็นการจ่ายชดเชยปัจจัยการผลิตไร่ละ1,500 บาท ไม่เกินคนละ 25 ไร่ เม็ดเงินจะตกถึงมือเกษตรกรโดยตรง และให้กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คิดต้นทุนการผลิตพืชยางพาราใหม่ โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตยางพาราตั้งแต่ ปี 2560 อยู่ที่ 63.65 บาท/กิโลกรัม จนปี 2565 รัฐปล่อยให้สินค้าลอยตัว กระทรวงพาณิชย์และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ยอมออกมาควบคุมดูแลหรือตรวจสอบว่าสินค้าราคาแพงเกินความเป็นจริงหรือไม่ ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า
แต่สินค้าทางการเกษตรกลับตกต่ำ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันที่ราคาพุ่งขึ้นไปแตะ 12 บาทต่อกิโลกรัม กระทรวงพาณิชย์กลับออกมาบอกว่าราคาปาล์มแพงต้องควบคุมราคา หมายความว่าอย่างไร เพราะฉะนั้นนี่คือเหตุผลที่ต้องทำให้ภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย วิสาหกิจชุมชุมชนแปรรูปยาง และผู้ประกอบการยางรายย่อย ต้อออกมาเป็นปากเสียงแทนพี่น้องเกษตรกรอีกครั้งหลังจากที่นั่งดูละครน้ำดีเน่ามา 3 ปี กว่าๆ จึงขอเชิญชวน ตัวแทนเกษตรกร กลุ่มสถาบัน และเครือข่ายทุกๆ เครือข่ายเข้าร่วมหารือและร่วมกันแถลงข่าวที่หน้าตลาดกลางยางพารานครศรีฯหลังสถานีรถไฟ จันดี ก่อนยกทัพเคลื่อนไหวต่อไป
นายสุนทร รักษ์รงค์ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวกระตุ้นชาวสวนยาง ผู้เสียสิทธิต้องแสดงตน บ่นกันจังราคายางตกต่ำ ได้รับความเดือดร้อน แต่พอมีแกนนำเขานัดชุมนุม ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 โดยให้ไปรวมตัวกันที่หน้าศาลากลางทุกจังหวัดที่มียางพารา เพื่อแสดงพลังและส่งเสียงให้ผู้มีอำนาจได้ยิน
บางคนขาดความกล้าหาญ ทั้งที่เป็นแค่การรวมพลังไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญไทย และชอบด้วยกฎหมาย หากพี่น้องชาวสวนยางไม่เสียสละ ชัยชนะจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ประเภทนอนกินแรงคนอื่นที่บ้าน พอราคายางสูงขึ้นตัวเองพลอยได้ผลประโยชน์ด้วย พอได้แล้วครับกับการอยู่ในลัทธิหวังพึ่งและทำแทน ราคายางไม่มีวันสูงขึ้น ถ้าผู้เสียสิทธิไม่แสดงตนหลายคนถามว่านัดกันเวลากี่โมง แกนนำในแต่ละพื้นที่กรุณาทำการประชาสัมพันธ์ และนัดหมายกันเองเพราะความพร้อมของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน
เก็บบรรยากาศ "ม็อบสวนยาง" คึกคัก