นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การจัดงานมหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023 จ.ระยอง สืบเนื่องจาก มติครม. เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ได้เน้นพืชเกษตร ในเขต EEC ครบวงจรจากผู้ผลิตตลาดห่วงโซ่คถณค่า (Value Change) โดยมุ่งเน้นความต้องการของผู้บริโภค ที่พัฒนาเทคโนโลยี ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งใน EEC ทั้ง 5 เสาหลัก ไม่มียางพาราอยู่
"ในฐานะนายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และตนเป็นชาวระยองที่อยู่ในเขตพื้นที่ EEC จึงต้องลุกขึ้นมารัฐบาลเตือนรัฐบาล เพราะยางพาราตามตัวเลขกรมวิชาการเกษตร ปี 2464 ประเทศไทยผลิตยางพาราได้ปริมาณ 5,168,837 ตัน ส่งออกเป็นวัตถุดิบ 4,176,529 ตัน คิดเป็นร้อยละ 80.80 ของผลผลิตยาง ซึ่งมีมูลค่า 175,977 ล้านบาท ใช้ในประเทศเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ 925,808 ตัน คิดเป็นร้อยละ 17.91 ของผลผลิตยาง มีมูลค่าการส่งออก 379,424 ล้านบาท ทำรายได้เข้าประเทศรวม 555,401 ล้านบาท เป็นอันดับ 1 ในสินค้าเกษตร โดยข้าวเป็นอันดับ 2 เพียง 170,000 ล้านบาท"
ทางสมาคมสหพันธ์ จึงต้องลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยจะจัดงานนี้ขึ้นของภาคประชาชน โดยความร่วมมือจากหลายประเทศ รวมทั้งผู้นำเกษตรกร และภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยางพารา ได้แก่ นายอำนวย ปะติเส นายกสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง,
Dr.Boonthong Bouahome President of LRA (นายกสมาคมยางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) Mr. Chen Jinlong Executive Dilecter Xinthai Long Industary Co.Ltd (ผู้แทนภาคธุรกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน), นายจิระวิทย์ มีชูภัณฑ์ ผู้อำนวนการการยางพาราแห่งประเทศไทย เขตภาคกลางและภาคตะวันออก
นายธีระพงศ์ พงศ์อุทธา ผู้อำนวยการการยางพาราแห่งประเทศไทย จังหวัดระยอง นายอิทธิพงศ์ จักษ์ตรีมงคล นายอำเภอวังจันทร์ และนายบุญสวยโสภณ สกุลกิจเจริญชัย ประธานจัดหารายได้ และประชาสัมพันธ์ สมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราไทย โดยใช้งบประมาณที่เกิดจากการ " ร่วมด้วย ช่วยกัน" ทั้งจากภาคเอกชน ขึ้นในวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2566 ภายในงานมีการจัดให้ลงนามเพื่อจับคู่ธุรกิจโดยมีเครื่องจักร เป็นต้น ฯลฯ
นอกจากนี้ภายในงานก็ยังมีนิคมอุตสาหกรรมได้มาออกบูท ขาย-เช่าที่ดินและจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อีกด้วย ทางด้านการจัดแสดงนิทรรศการได้มีหน่วยงานราชการหลากหลายโดยเฉพาะวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
รวมทั้งภาคีเครือข่ายจากภาคประชาชน ชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย ร่วมกันจัดหลักสูตรการดูแลสุขภาพ หลักสูตรการเป็นผู้นำเกษตรทันสมัย ด้วย
นายอุทัย กล่าวในช่วงท้ายว่า นอกจากยางพารา ยังมีพืชเกษตรอื่นๆ โดยได้มาจัดบูทการลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้จุลินทรีย์ อินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภัณฑ์ครบวงจร รวมทั้งมีอุปกรณ์การเกษตรคุณภาพดี อาทิ การติดตั้งระบบการให้น้ำ สปริงเกอร์ โซ่ล่าเซล นำมาจำหน่ายในราคาพิเศษ อีกด้วยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงใครขอเชิญชวน ให้มาร่วมด้วยช่วยกัน เกษตรกรไทยก็จะสามารถก็จะสามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ตาม มติ ครม. 9 สิงหาคม 2565 อย่างแน่นอน