เอกชนจี้รัฐเร่งแก้PETAไม่หยุดปม“ลิงเก็บมะพร้าว”

13 มิ.ย. 2566 | 19:00 น.

กะทิไทยยังโดนแบนจากตลาดยุโรป สหรัฐ เอกชนจี้รัฐเร่งแก้PETAยังจวกไทยไม่หยุดปมใช้ลิงเก็บมะพร้าวกระทบส่งออก แนะจ้างล็อบบี้ยิสหวังหยุดปัญหาจากการกล่าวอ้างที่ไม่จริง

แหล่งข่าวจากวงการส่งออกผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เปิดเผยว่าปัจจุบันองค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA)  ยังคงเผยแพร่ข้อมูลการใช้ลิงเก็บมะพร้าวในประเทศไทยเพื่อป้อนผลผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กะทิ โดยร้องขอให้ผู้บริโภคหยุดการซื้อสินค้าจากประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐลดการซื้อสินค้าและเป็นสาเหตุให้ผู้นำเข้าหรือคู่ค้าในตลาดปลายทางทั้งสหรัฐและยุโรป

เอกชนจี้รัฐเร่งแก้PETAไม่หยุดปม“ลิงเก็บมะพร้าว”

สอบถามมายังเอกชนผู้ผลิตและส่งออกกะทิในประเทศไทย ซึ่งเอกชนได้ชี้แจงแล้วว่าไม่มีการใช้ลิงเก็บมะพร้าวในอุตสาหกรรม ขณะที่สวนมะพร้าวรุ่นใหม่จะใช้พันธุ์มะพร้าวที่มีลำต้นเตี้ยจึงไม่จำเป็นต้องใช้ลิงเพื่อเก็บมะพร้าวอีกต่อไป

เอกชนจี้รัฐเร่งแก้PETAไม่หยุดปม“ลิงเก็บมะพร้าว”

“ไทยกินส่วนแบ่งตลาดกะทิพร้อมรับประทาน 80% ทั่วโลก แต่ตอนนี้กำลังถูกกระแสว่าไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าวมาทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องการซื้อสินค้าจากไทย  ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลและเอกชนร่วมกันออกหนังสือรับรองMonkey Free Plusให้เอกชนแต่ละรายว่าไม่มีการทารุณกรรมสัตว์ในกระบวนการผลิต แต่PETA ก็ยังไม่หยุดเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว”

 

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เอกชนหลายรายได้ชี้แจ้งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นว่าหากปล่อยสถานการณ์เป็นไปอย่างนี้คู่แข่งจาก ฟิลิปปินส์ และศรีลังกาอาจชิงส่วนแบ่งตลาดไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อยากให้ภาครัฐเข้ามาทำการล็อบบี้องค์กรเอกชนดังกล่าวให้เปิดรับข้อมูลและเผยแพร่เนื้อหาที่ตรงกับสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและเลิกการไม่ซื้อสินค้ากะทิจากประเทศไทย นอกจากนี้ จะเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์สินค้าอื่นๆของไทยด้วย

สำหรับการส่งออกสินค้ากะทิข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ระบุว่า  ปี 2560-2564 มีการส่งออกเฉลี่ยปีละ 1.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นปี 2562 ปริมาณ 12,764 ล้านบาท ปี 2563 ปริมาณ 13,286 ล้านบาท ปี 2564 ปริมาณ 13,328 ล้านบาท

เอกชนจี้รัฐเร่งแก้PETAไม่หยุดปม“ลิงเก็บมะพร้าว”

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมากรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป จัดทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง และออกแถลงการณ์ของสมาคมฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปลูกและเก็บมะพร้าว ซึ่งไม่ได้ใช้แรงงานลิงในอุตสาหกรรมส่งออก เผยแพร่ต่อผู้นำเข้า/ห้างที่จำหน่ายสินค้าในหลายโอกาสอย่างต่อเนื่อง และผู้นำเข้าส่วนใหญ่เข้าใจวัฒนธรรมของไทย และที่สำคัญมะพร้าวที่เข้ามาแปรรูปในอุตสาหกรรม ใช้แรงงานคนและเครื่องจักร สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้