อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" หรือ ฝนน้อยน้ำน้อย ถี่ขึ้นและยาวนานขึ้น สำหรับไทย ประเมินกันว่า ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศปีนี้ จะน้อยกว่าค่าปกติ 5%และ สถานการณ์อาจลากยาวไปจนถึงต้นปี 2567 อาจกระทบพืชผลเกษตร ที่อาจส่งผล กระทบต่อภาคเกษตร และ อาจสร้างความเสียหาย 10,000-30,000 ล้านบาท
"เอลนีโญ" มีผลโดยตรงกับภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารโดยในปี 2559 ไทยเคยเกิดเอลนีโญ สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมอาหารประมาณ 39,574 ตัน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรสูญเสียไป 14,532 ตัน
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)เปิดเผยว่าตั้งแต่ม.ค.66ถึงมิ.ย.67 ไทยจะเผชิญกับวิกฤติ "เอลนีโญ"ที่เกิดจากฝนทิ้งช่วงไปนาน ดังนั้นอาจส่งผลต่อสินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าส่งออกอย่างเกษตรอาหาร สรท.ได้ทำการประเมินสินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบประกอบด้วย
1.ข้าว คาดว่าผลผลิตรวมข้าวนาปรังและนาปีจะ ลดลงจากปี ก่อน 33.2 ล้านตัน หรือลดลง 0.6% ถึง 0.9% และปัญหาภัยแล้งจะส่งผล กระทบต่อผลผลิตข้าวอย่าง ชัดเจนช่วงครึ่งหลังปี 2567 โดยตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย อิรัก แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และญี่ปุ่นซึ่งคาดว่าทั้งปีไทยน่าจะส่งออกข้าวได้7-8ล้านตัน
2.มันสำปะหลัง คาดว่าปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังจะลดลงจากเดิม 34.98 ล้านตัน เหลือ 31.7 ล้านตัน เนื่องจากขาดแคลน วัตถุดิบในการผลิต โรคใบด่างในพื้นที่เพาะปลูก และภัยแล้ง เกษตรกรไม่สามารถจัดหาพันธุ์เพื่อนำมาเพาะปลูกได้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่ออุปทานของ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในปี 2566 อยู่ที่9 ล้านตัน
3.ทุเรียน/สับปะรด ประสบปัญหาภัยแล้งหนักปริมาณน้ำในแม่น้ำและลำห้วยแห้งโดยเฉพาะพื้นที่นอกชลประทานไม่เพียงพอ ผลผลิตทุเรียนไม่เติบโตไม่สมบูรณ์ มีขนาดเล็กลง และ ผลผลิตสับปะรดอาจมีความเสี่ยงลดลงราว 20%
4.กุ้ง การส่งออกหดตัวจากสถานการณ์ภัยแล้ง และการเฝ้า ระวังโรคระบาด เกษตรกรปรับลดพื้นที่เลี้ยงลดจำนวน ลูกพันธุ์ และชะลอการลงลูกกุ้ง ทำให้ผลผลิตออกสู่ ตลาดลดลง 10-15%
5.อ้อย หากช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2566 มีฝนตกน้อยจะกระทบค่อนข้างมากต่อผลผลิตอ้อยในฤดูหีบปี 2566/67 จากการประเมินเบื้องต้นอาจทำให้ ผลผลิตอ้อยลดเหลือเพียง 70-80 ล้านตัน
6.ทูน่า ปัญหาภัยแล้งส่งผลให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ชาวประมงจับปลาได้น้อยลง ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง สินค้ามีราคาสูงขึ้น
ทั้งนี้ "น้ำ" ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการผลิตภาคอุตสาหกรรม เมื่อภัยแล้งรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2558 ทำให้ต้องขอความร่วมมือผู้ผลิตทุกภาคส่วน ลดการใช้น้ำลงถึง 10% โรงงานต้องเดินเครื่องน้อยลง ซึ่งกระทบกำลังการผลิตของประเทศ สำหรับปีหน้า มีแนวโน้มว่า "ภัยแล้ง"จะหนักยิ่งกว่าปีนี้ ดังนั้น ต้องเก็บน้ำต้นทุนในฤดูฝนปีนี้ให้ได้มากที่สุด ผ่านการทำบ่อจิ๋ว บ่อสาธารณะ การขุดลอกคูคลอง และการลงทุนเทคโนโลยีประหยัดน้ำและใช้น้ำซ้ำ เป็นต้น