นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และในฐานะ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ (30 ต.ค.66) ทางสมาคมได้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อประชุมหารือปัญหาเกษตรกรนั้น จากสถานการณ์ ที่มีการประเมินว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปัญหา เรื่องผลผลิตที่เริ่มออกสู่ตลาด และราคาเริ่มตกต่ำ ทั้งภาคอีสาน และทุกภูมิภาค และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะเร่งด่วน ก่อนมีการประชุม นบข. ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีจะมอบหมาย นั้น
โดบทางสมาคมได้นำคณะที่ปรึกษา ผู้บริหารกรรมการสมาคม และกรรมการ รวม 44 คน 12 จังหวัด ได้นำเข้าหารือในครั้งนี้ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรที่เป็นธุรกิจฐานรากที่ใหญ่ที่สุดและเป็นธุรกิจที่สำคัญในการเชื่อมโยงต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ ซึ่งทางสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ยังคงแสดงจุดยืนโดยยึดอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรเป็นหลัก ภายใต้วิสัยทัศน์ "ข้าวคือชีวิต ชาวนาสวางเศรษฐกิจให้ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" โดยมีวัตถุประสงค์ "สร้างข้าวให้ล้ำค่า สร้างชาวนาให้มั่นคง"
“สมาคมฯ ได้ติดตามและทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐมาโดยตลอดทุกรัฐบาล ซึ่งทางสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยถือว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของสมาคมฯ ที่จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนไปกับภาครัฐเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในภาครวมของเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยได้สรุปประเด็นนำเสนอเพื่อพิจารณาให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐที่มีการแก้ปัญหา ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวดังนี้
1.ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำที่มีความสำคัญที่สุดในภาคธุรกิจเกษตรกรรม ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง และการรักษาสมดุลทางด้านกสิกรรมควบคู่กับการรักษาระบบนิเวศ การจัดสรรงบประมาณเพื่อเตรียมความพร้อมในการขุดลอก คู คลอง ห้วย หนอง บ่อ บึง แหล่งน้ำสาธารณะเพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำในยามขาดแคลน และช่วยชะลอน้ำในฤดูน้ำหลากควบคู่ไปกับการพักน้ำและเป็นการรักษาระดับน้ำตันทุน
อันเป็นการบูรณาการโครงสร้างเพื่อประโยชน์สูงสุดในเรื่องแหล่งน้ำที่ภาครัฐสามารถทำได้ทันที รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพโดยเกษตรกรและชุมชนมีส่วนร่วม การรักษาและดูแลแหล่งต้นน้ำ แบบมีวิสัยทัศน์ จัดทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบปลอดภัยไร้ผลกระทบ เพื่อรองรับผลกระทบวิกฤตภัยแล้งในปีต่อไป
2. การวิจัยและจัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีประสิทธิภาพ มีความทนทานทั้งหนาวและร้อน ผลผลิตที่ตอบโจทย์ของเกษตรกร ควบคู่กับอายุที่จำกัดด้วยสภาวะผันแปรทางธรรมชาติเช่นทนแล้ง ทนหน่าว ทนโรค และมีคุณภาพเป็นที่ต้องการทั้งตลาดบริโภคภายในประเทศ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
3. ส่งเสริมโครงสร้างการลดต้นทุนการผลิต เช่น ปุ๊ย ยา และต้นทุนพลังงาน เช่นน้ำมัน ไฟฟ้า รวมถึงการส่งเสริมเพื่อเข้าถึงเครื่องมือ เครื่องจักรกลนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพเกษตรกรในอนาคต
4. การพักหนี้เกษตรกร ที่ทางภาครัฐมีนโยบายดำเนินการแล้วนั้น ทางสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เห็นชอบให้รัฐจัดทำโครงการพักต้นและดอกเบี้ยตามกรอบระยะเวลา 4 ปี เพื่อเป็นการผ่อนลมหายใจให้กับเกษตรกรและเป็นการตั้งหลักในการดำรงชีพ ซึ่งทางภาครัฐควรมีโครงการช่วยเหลือพื้นฟูสมรรถภาพทางการเงินเพื่อสร้างความเข้มแข็งในอาชีพเกษตรกร และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านวินัยการเงินให้กับภาครัฐ ในส่วนกรณีที่เกษตรกรมีกำลังสามารถใช้ต้นได้ ทางภาครัฐควรละเว้นดอกเบี้ยเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรผู้นั้นด้วย
5. สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ขอให้ภาครัฐพิจารณาจัดทำโครงการช่วยเหลือค่าปรับปรุงบำรุงดินคำเก็บเกี่ยว และค่าบริหารจัดการ ไรละ 2,000 บาท ไม่เกิน 20 ไม่ราย เนื่องจากปัจจุบันปัจจัยการผลิต มีต้นทุนที่สูงและราคาข้าวเปลือกไม่มี ความแน่นอน อีกทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งเงินส่วนนี้จะสามารถช่วยเหลือในเรื่องความผันแปรในด้านต่าง โดยมิต้องใช้นโยบายอื่น ส่วนเรื่องราคาผลผลิตก็ให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งจะทำให้รัฐลดภาระในการเข้ามาแทรกแซงราคาข้าวเปลือก อันจะทำให้ตลาดข้าวขาดเสถียรภาพ 6. เสนอให้มีโครงการจำนำยุ้งฉางในส่วนของเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนค่าเก็บฝากตันละ 1,500 บาท เพื่อเป็นการคงรักษาวิถีชีวิตเกษตกร และเป็นการช่วยชะลอการขาย อันเป็นที่มาของปัญหาปริมาณผลผลิตกดทับ
นายปราโมทย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในระยะยาว อาทิ 1. การจัดตั้งกองทุนเพื่อการเกษตร เพื่อเป็นหลักประกันในความเสี่ยง และสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกร ซึ่งสามารถกู้ยืมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือเพื่อใช้เป็นทุนสำรองเมื่อภาคเกษตรประสบปัญหาในด้านต่างๆ
2.การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการซาวนา เพื่อเป็นหลักประกันชีวิตให้กับเกษตรกรเหมือนหลักการประกันสังคมมีสิทธิรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย บุตรหลานเบิกค่าเล่าเรียนได้ มีบำนาญหลังการเสียชีวิตเป็นต้น โดยทั้งสองกองทุนให้ภาครัฐเป็นผู้ดูแลและสนับสนุนการจัดทำโครงการโดยอาศัยความสมัครใจของเกษตรกรสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเด็นข้อเสนอดังกล่าว จะสามารถนำเสนอให้หน่วยงานภาครัฐรวมถึงรัฐบาลได้ใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการพิจารณาจึงเรียนมาเพื่อได้โปรดพิจารณาดำเนินการดังกล่าว
นายปราโมทย์ กล่าวว่า ทางรองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความมั่นใจว่า ไร่ละ 1,000 บาท รัฐบาลไม่มีปัญหา แต่ถ้าจะปรับเพิ่มเป็น ไร่ละ 2,000 บาท ต้องลุ้นว่าวันที่ 1 พฤศจิกายน อีกครั้ง ว่าจะสามารถจ่ายได้หรือไม่ เพียงแค่ท่านรับปากแค่นี้ชาวนาทั้งประเทศก็รู้สึกอุ่นใจแล้ว ก็หวังว่าโครงการเดิมที่รัฐเคยให้ไม่ว่าโครงการสินเชื่อชะลอการขาย/ดอกเบี้ยชดเชยให้ภาคผู้ประกอบการช่วยเก็บข้าว ก็ยังมีต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ข้าวราคาไม่ตกต่ำ รวมทั้งมาตรการระยะสั้น ระยะย่าวที่สมาคมได้ร้องขอเพื่อให้
อนึ่ง รายขื่อเข้าพบ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ภาคกลาง
1 นายปราโมทย์ เจริญศิลป์
นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย
2 นายเดชา นุตาลัย
อุปนายกสมาคมฯ กรุงเทพมหานคร
3 นายอัฑฒ์ศุภกิจ พงษ์เภตรารัตน์
ที่ปรึกษาสมาคมฯ กรุงเทพมหานคร
4 นายเชาวฤทธิ์ พรมดี
กรรมการสมาคมฯ กรุงเทพมหานคร
5 นายกัณ ทัพเนตร
กรรมการสมาคมฯ กรุงเทพมหานคร
6 นายธนากร ฉิมพันธุ์
ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมฯ จ.สุพรรณบุรี
7 นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ ที่ปรึกษาสมาคมฯ จ.ชัยนาท
8 น.ส.ปิยมน ตาปนานนท์
กรรมการสมาคมฯ จ.ชัยนาท
9 น.ส.นนทิยา ตาปนานนท์
กรรมการสมาคมฯ จ.ชัยนาท
10 นายบัญชา พวงสวัสดิ์
อุปนายกสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
11 น.ส.อัจฉรา พวงสวัสดิ์
กรรมการสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
12 นายชาญยุทธ ตรีศัพท์
เหรัญญิกสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
13 นายธีรสินทร์ ธนชวโรจน์
เลขาธิการสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
14 น.ส.พลอยพิชชา ธนชวโรจน์ ผช.เลขาธิการสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
15 นายธนันท์รัฐ ธนชวโรจน์
ผช.นายทะเบียนสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
16 นายธเนศ สนธิ
กรรมการ และที่ปรึกษาสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
17 นางจันทร์เจ้า โพสุทธิ์
กรรมการสมาคมฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
18 นายฐิติภณ พุ่มบรรเทา
อุปนายกสมาคมฯ จ.ปทุมธานี
19 นายพินิจ เพ็งส้ม
อุปนายกสมาคมฯ จ.นครปฐม
20 ชนกัณ บุญคอย
กรรมการสมาคม ฯกรุงเทพมหานคร
ภาคเหนือ
1 นายธวัช ฤกษ์หร่าย
กรรมการสมาคมฯ จ.กำแพงเพชร
2 นายจำเรียง สีม่วง
กรรมการสมาคมฯ จ.กำแพงเพชร
3 นายโกวิทย์ กลิ่นบุปผา
กรรมการสมาคม จ.กำแพงเพชร
4 นายมาโนช เกตุทนงค์
กรรมการสมาคมฯ จ.กำแพงเพชร
5 นายปทุม ดำเลิศ
กรรมการสมาคมฯ จ.กำแพงเพชร
6 นายประภัสร์ อ่อนฤทธิ์
กรรมการสมาคมฯ จ.กำแพงเพชร
7 นายปรีชา สวนบ่อแร่
กรรมการสมาคมฯ จ.กำแพงเพชร
ภาคอีสาน
1 นายทวี สมใจ
อุปนายกสมาคมฯ จ.บุรีรัมย์
2 นายคิมย้ง รัตนบรรยกิจ
กรรมกาสมาคมฯ จ.บุรีรัมย์
3 นายบุญเลิศ ด้วงนิล
กรรมการสมาคมฯ จ.บุรีรัมย์
4 นายทองศรี บุตรวิชา
กรรมการสมาคมฯ จ.บุรีรัมย์
5 นายประยุทธ์ ขันหนองโพธิ์
กรรมการสมาคมฯ จ.ขอนแก่น
6 นายชัยชาญ เพชรสีเขียว
กรรมการสมาคมฯ จ.ขอนแก่น
7 นาย สรรเพชญ์ นิ่มกัน
กรรมการสมาคมฯ จ.นครราชสีมา
8 นายชัย ชาติผดุง
กรรมการสมาคมฯ จ.นครราชสีมา
9 น.ส.บุญยอง ฉัดพิมาย
กรรมการสมาคมฯ จ.นครราชสีมา
10 นางจำรัส อิทธิกุล
อุปนายกสมาคมฯ จ.ชัยภูมิ
11 นางรุ่งรัตน์ อุดมรักษ์
กรรมการสมาคมฯ จ.ชัยภูมิ
12 นายวันชระ วุสันเที๊ยะ
กรรมการสมาคมฯ จ.ชัยภูมิ
13 นายจิตติภูมิ วรรณชัย
กรรมการสมาคมฯ จ.ชัยภูมิ
14 นายสมปอง วรรณเกตุ
กรรมการสมาคมฯ จ.ชัยภูมิ
15 นายอุดมชัย เครือละม้าย
อุปนายกสมาคมฯ จ.นครนายก
16 นายประดิษฐ์ เจียรสถิตย์
กรรมการสมาคมฯ จ.นครนายก
17 นางมณฑิชา ชาคิผดุง
กรรมการ จ.นครราชสีมา