เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายกษมา โพธิใหญ่ ตัวแทนสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย ได้ทำหนังสือถึง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม
ทั้งนี้เพื่อร้องขอความเป็นธรรม กรณีผู้ค้ามาตรา 7 จงใจฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ฝ่าฝืนมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ สร้างความเดือดร้อนเสียหาย และเป็นการเอารัดเอาเปรียบสังคม โดยเฉพาะ บริษัท ผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B 100) และเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม
น้ำมัน
โดยหนังสือร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวได้อ้างถึง 1. มติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจครั้งที่ 1/2567 2.มติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 1/2567 วันที่ 7 มิถุนายน 2567
3. มติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจครั้งที่ 2/2567 วันที่ 10 มิถุนายน 2567 4. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 มิถุนายน 2567
เนื้อหาหนังสือระบุว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และ มติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งแห่งชาติ (กนป.) ที่ได้อ้างถึง 1 - 4 นั้น ให้ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ซื้อ น้ำมันไบโอดีเซล (B 100) จากผู้ผลิต ตามราคาประกาศของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เท่านั้น โดยไม่มีการขอ ส่วนลดพิเศษจากผู้ผลิตน้ำมัน B100 แต่อย่างใด อันเป็นการแก้ไขโครงสร้างราคาน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มอย่างเป็นระบบ เท่าเทียม เป็นธรรม และยั่งยืน สุดท้ายแล้วผลประโยชน์จะตกแก่ชาวเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม
ต่อมา บริษัท บีบีจีไอ ไบโอดีเซล จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ค้ามาตรา 7 ได้ออกประกาศ และได้กําหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตน้ำมัน B100 ปฏิบัติ ดังนี้ ผู้ซื้อจะซื้อไบ โอดีเซลจากผู้ขายในราคาและเงื่อนไข ดังนี้
1.1 ราคารับซื้อไบโอดีเซลรับเองหน้าโรงงานผู้ขาย (บาท/ลิตร) = ราคาประกาศ สนพ. - ค่าดําเนินการ โดย - ราคาประกาศ สนพ. ที่ใช้อ้างอิงเป็นราคา ประกาศ ณ วันที่ส่งมอบ - ค่าดําเนินการคิดเป็น 0.75 บาท ลิตร โดยความจริงแล้วค่าดําเนินการก็คือส่วนลดราคานั่นเองเป็นการใช้คําพูดหลีกเลี่ยงคําว่าส่วนลดราคา
1.2 ผู้ขายต้องแสดงหลักฐานการซื้อ CPO จากโรงสกัดที่รับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรในราคา ไม่ต่ำกว่า 5.50 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเงื่อนไข ที่สมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย ไม่สามารถทําได้เลย เพราะการรับซื้อทะลายปาล์มมีการรับซื้อโดยตรงจากโรงสกัดเท่านั้น และทางผู้ค้ามาตรา 7 ไม่สามารถ กําหนดราคาซื้อขายทะลายปาล์มเองได้เลยเป็นอํานาจหน้าที่ ที่อยู่ในความควบคุมของส่วนราชการ กรมการ ค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น
กรณีที่ผู้ผลิต B 100 ต้องแสดงหลักฐานการซื้อ CPO จากโรงสกัดที่รับซื้อผลปาล์มจาก เกษตรกรในราคาไม่ต่ำกว่า 5.50 บาท ต่อกิโลกรัม นั้น
ผู้ผลิต B100 ไม่ได้เป็นผู้ซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรแต่อย่างใด แต่จะซื้อ CPO จากโรงสกัด หรือ ผู้ผลิต CPO เท่านั้น ผู้ผลิต CPO จะรับซื้อผลปาล์มจากคนกลางที่ซื้อปาล์มจากลานเท หรือ ชาวสวนปาล์ม
ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ ควรต้องร่วมกับกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ตรวจสอบราคาขายผลปาล์ม ที่ลานรับซื้อ หากใครกดราคาเกษตรกร ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย ส่วนโรงสกัดที่รับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกร ในราคาเท่าใดนั้น อยู่ภายใต้การควบคุม และกํากับดูแลของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ มิใช่ปล่อยให้ผู้ค้ามาตรา 7 เป็นผู้กําหนดราคาซื้อผลปาล์ม ผู้ค้ามาตรา 7 ไม่ควรเข้าไปมีส่วนในการจัดการรับซื้อผลปาล์ม แทนกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นอกจากนี้ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) หรือ บริษัท PTTOR (กลุ่มบริษัทใน เครือของปตท.) กลับรับซื้อน้ำมันไบโอดีเซล (B 100) จากผู้ผลิตไบโอดีเซล (B 100) ในราคาที่ต้องมีส่วนลดจาก ราคาประกาศของ สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
โดยได้เรียกผู้ผลิตบางราย มาต่อรองราคาส่วนลด หากบริษัทผู้ผลิตรายใดไม่มีส่วนลดก็ไม่ทําการซื้อขายด้วย เป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นไปตามประเพณีปกติการค้า เอาเปรียบสังคม ทําให้ผู้ผลิตไบโอดีเซล (B 100) และชาวเกษตรกรที่ปลูกปาล์มได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
ในเรื่องผู้ค้ามาตรา 7 เอารัดเอาเปรียบผู้ผลิตน้ำมัน B100 และเกษตรกร
เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน หลายภาคส่วนมีความพยายามที่จะแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งแห่งชาติ (กนป.) ได้ผลักดันให้ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ซื้อ น้ำมันไบโอดีเซล (B 100) จากผู้ผลิต ตามราคาประกาศของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เท่านั้น โดยไม่มีการขอส่วนลดพิเศษจากผู้ผลิตน้ํามัน B100
อันเป็นการแก้ไขโครงสร้างราคาน้ำมันปาล์มอย่าง เป็นระบบ และยั่งยืน สุดท้ายแล้วผลประโยชน์จะตกแก่ชาวเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โดยกระทรวงพลังงาน ควรเข้ามาควบคุม กํากับดูแลผู้ค้ามาตรา 7 ต้องซื้อขายน้ำมัน B100 ตามราคาประกาศของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน อย่างเคร่งครัด หากผู้ค้ามาตรา 7 ไม่ดําเนินการตามให้นํากฎหมาย พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาใช้บังคับเป็นบทลงโทษ
โดยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงานได้มีหนังสือด่วนที่สุด ขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รับซื้อ ไบโอดีเซล (B 100) ในราคาอ้างอิงของสํานักงานนโยบาย และแผนพลังงาน อันเป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลและเป็นการช่วยเหลือชาวเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม
แต่ บริษัท บีบีจีไอ ไบโอดีเซล จํากัด กลับสร้างเงื่อนไขใหม่ ที่ทางสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทยไม่ สามารถปฏิบัติได้และยังขอส่วนลดราคาอีก 0.75 บาทต่อลิตร จากราคาประกาศของ สนพ. และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด(มหาชน) กลับรับซื้อน้ำมันไบโอดีเซล (B 100) จากผู้ผลิตไบโอดีเซล (B 100) ในราคาที่ต้องมีส่วนลดจากราคาประกาศของ สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
อันเป็นการเอารัดเอาเปรียบสังคม และ โดยเฉพาะผู้ผลิตน้ํามันไบโอดีเซล (B 100) ตลอดจนเอา เปรียบเกษตรกรไม่ใส่ใจใยดีต่อการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่ คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กนป.) ได้ร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 รับซื้อน้ำมันไบโอดีเซล (B 100) จากผู้ผลิตตามราคาประกาศของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงาน
การกระทําของ บริษัท บีบีจีไอ ไบโอดีเซล จํากัด เป็นการจงใจฝ่าฝืนคําสั่งของมติ คณะรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และ มติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ที่ได้พยายามแก้ปัญหาโครงสร้างราคาน้ำมันปาล์มอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรและประเทศชาติ อย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเอง
การกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 311. มาตรา 313
ทั้งนี้ มาตรา 311 ระบุว่า “กรรมการ ผู้จัดการ หรือ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงาน ของนิติบุคคลใดตาม พระราชบัญญัตินั้น กระทําการหรือไม่กระทําการ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วย กฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้นต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท”
“มาตรา 313 กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงาน ของบริษัท หรือนิติ บุคคลที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ หลักทรัพย์ซื้อขาย ในศูนย์ ซื้อขายหลักทรัพย์ใด ฝ่า ฝืนมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 309 หรือมาตรา 311 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปีและปรับเป็นเงิน”
โดยหนังสือฉบับนี้ สมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย จึงร้องขอความเป็นธรรมต่อท่านในฐานะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ได้โปรดช่วยดําเนินการเพื่อไม่ให้ กลุ่มผู้ค้ามาตรา 7 กระทําความผิด อย่างต่อเนื่อง และไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างในการเอารัดเอาเปรียบต่อสังคม ผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B 100) และ เกษตรกร แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเอง จงใจขัดขืนคําสั่งผู้บังคับบัญชาระดับสูง โดยไม่ใส่ใจผลกระทบอย่างร้ายแรงที่ตามมา ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง
และเพื่อความเป็นธรรมแก่ ผู้ผลิตน้ำมันไบโอ ดีเซล (B 100) และในอนาคตอันใกล้ สมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย ขอให้ทางรัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ได้นําระบบบ BLOCK CHAIN มาใช้ในห่วงโซ่ธุรกิจปาล์มน้ำมัน เพื่อควบคุมราคาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งกันและกันและสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ทันที
และ ขอให้ท่านได้โปรดตรวจสอบเป็นการ และสั่งการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะเข้าตรวจสอบ/สอบสวนข้อเท็จจริงทั้งพยานบุคคลที่ เกี่ยวข้องพยานเอกสาร และพยานวัตถุ และดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเร่งด่วน เคร่งครัด ต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรม และแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน