ราชกิจจาฯ ประกาศพื้นที่ระบาด ห้ามครอบครอง ปลาหมอคางดำ 19 จังหวัด

17 ส.ค. 2567 | 07:39 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ส.ค. 2567 | 07:39 น.

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ เขตพื้นที่แพร่ระบาด และห้ามครอบครอง “ปลาหมอสีคางดำ” หรือ “ปลาหมอคางดำ” 19 จังหวัด เพิ่มครอบคลุมจังหวัดพื้นที่ระบาดใหม่

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ กรมประมง จำนวน 2 ฉบับลงวันที่ 14 และ 16 สิงหาคม 2567 ซึ่งในฉบับแรก เป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญอยู่ที่ ห้ามมิให้บุคคลใดมีไว้ในครอบครองปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตนอกพื้นที่การแพร่ระบาดตามที่อธิบดีกรมประมงกำหนด

ห้ามครองครองปลาหมอคางดำ

 

ยกเว้น การเคลื่อนย้ายปลาหมอคางดำเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบตามโครงการของรัฐ เช่น การทำน้ำหมักขีวภาพ การนำไปแปรรูปเป็นปลาป่น แต่ต้องเคลื่อนย้ายแบบแห้งเท่านั้น

ราชกิจจาฯ ประกาศพื้นที่ระบาด ห้ามครอบครอง ปลาหมอคางดำ  19 จังหวัด

ส่วนประกาศฉบับที่สอง เป็นประกาศกรมประมงเรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การแพร่ระบาดปลาหมอคางดำมีบัญชีแนบท้ายประกาศ ใน 19 จังหวัด 76 อำเภอ ประกอบด้วย

 

1.จันทบุรี (อ.นายายอาม-อ.ท่าใหม่)

 

2.ระยอง (อ.แกลง,อ.เมืองระยอง,บ้านฉาง)

 

3.ฉะเชิงเทรา (อ.บางคล้า,อ.บางปะกง,อ.บ้านโพธิ์,อ.เมืองฉะเชิงเทรา)

 

4.สมุทรปราการ (อ.เมืองปราการ,อ.บางบ่อ,อ.บางพลี,พระประแดง,พระสมุทรเจดีย์)

 

5.นนทบุรี (อ.เมือง,อ.บางบัวทอง,อ.ไทรน้อย,อ.บางกรวย-บางใหญ่,อ.ปากเกร็ด)

 

6.กรุงเทพมหานคร (เขตบางขุนเทียน, ทวีวัฒนา, ดุสิต, ราชเทวี, ดินแดง, ทุ่งครุ, บางกอกน้อย, ลาดกระบัง, จอมทอง และ หนองแขม)

 

7.นครปฐม (อ.นครชัยศรี-อ.เมือง-อ.ดอนตูม-อ.สามพราน)

 

8.ราชบุรี (อ.เมือง-อ.ดำเนินสะดวก-อ.ปากท่อ-อ.โพธาราม-อ.บางแพ-อ.วัดเพลง)

 

9.สมุทรสาคร (อ.เมืองสมุทรสาคร,อ.บ้านแพ้ว,อ.กระทุ่มแบน)

 

10.สมุทรสงคราม (อ.อัมพวา,อ.เมืองสมุทรสงคราม,อ.บางคนที)

 

11.เพชรบุรี (บ้านแหลม ,หนองหญ้าปล้อง,เขาย้อย,เมืองเพชรบุรี,ท่ายาง,ชะอำ และบ้านลาด)

 

12.ประจวบคีรีขันธ์ (ปราณบุรี,กุยบุรี,สามร้อยยอด,หัวหิน,อำเภอเมือง ,ทับสะแก,บางสะพาน,บางสะพานน้อย)

 

 

13.จังหวัดชุมพร

14.สุราษฎร์ธานี

15.นครศรีธรรมราช

16.สงขลา

17.ชลบุรี

18.พัทลุง

19.ปราจีนบุรี (บ้านสร้าง)