โลจิสติกส์ไทย ยอดเปิดใหม่ ก.ค. เพิ่ม 8.1% ลงทุนจากต่างชาติพุ่ง 6.3 พันล้านบาท

29 ก.ย. 2567 | 01:21 น.
อัพเดตล่าสุด :29 ก.ย. 2567 | 01:31 น.

สนค. รายงานสถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ ไทยยอดเปิดกิจการใหม่เดือน ก.ค. เพิ่ม 8.1% ส่วนปิดกิจการลดลง 25% ขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศ มูลค่า 6.3 พันล้านบาท จีนครองแชมป์ ด้านธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุด การขนส่งและขนถ่ายสินค้า

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า รายงานว่า สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยถึงการเปิดปิดกิจการโลจิสติกส์ เดือน กรกฎาคม 2567 ปัจจุบันธุรกิจโลจิสติกส์มีจำนวนนิติบุคคลรวม 43,848 ราย ประกอบด้วย เปิดกิจการใหม่ 334 ราย เพิ่มขึ้น 8.1% และปิดกิจการ 81 ราย ลดลง 25% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ธุรกิจโลจิสติกส์ที่น่าจับตามอง คือ การขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร ซึ่งเปิดกิจการใหม่ จำนวน 122 ราย คิดเป็น 43.7% ของกิจการเปิดใหม่ทั้งหมด โดยธุรกิจที่มีสัดส่วนการเปิดกิจการใหม่รองลงมา คือ การขนส่งสินค้าอื่น ๆ ทางถนน และกิจกรรมตัวแทน รับจัดการส่งสินค้าและตัวแทนออกตามลำดับ

นอกจากนี้ การลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจโลจิสติกส์ เดือน กรกฎาคม 2567 มูลค่า 6,371.81 ล้านบาท คิดเป็น 14.75% ของการลงทุน ในกลุ่มโลจิสติกส์ในประเทศไทย สัญชาติที่มีการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีน เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกง สำหรับธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุด ได้แก่ การขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคน โดยสาร คิดเป็น 40.86% ของการลงทุนจากต่างชาติในกลุ่มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลก จากข้อมูลการส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัวถึง15.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และจากแคชบอร์ดธุรกิจบริการโลจิสติกส์ของ สนค. ชี้ให้เห็นมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยโดยรวบทั้งการนำเข้าและการส่งออก (ในรูปของเงินบาท) ในเดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 20.5% 

โดยปัจจัยบวกสำคัญมาจากการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั่วโลกรวมถึงการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในยุโรป ส่งผลให้การบริโภคฟื้นตัว และ IMF ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกจะได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และเศรษฐกิจยุโรปพื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำที่สุดแล้ว

นอกจากนี้ การที่สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีน(GACC) ได้อนุมัติให้ด่านท่าเรือกวนเหล่ย มณฑลยูนนานเป็น "ด่านจำเพาะเพื่อการนำเข้าผลไม้" เข้าสู่จีน โดยด่านดังกล่าวตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน สามารถขนส่งสินค้าออกจากท่าเรืแเชียงแสน ใช้เวลาในการขนส่งประมาณ15 วัน นอกจากนั้น เกี่ยวบินบรรทุกสินค้าเส้นทางกรุงเทพฯ-เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน ก็กลับมาเปิดทำการบินอีกครั้ง หลังหยุดไปในช่วงโควิด-19 จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่องทางการขนส่งสินค้าไทยเข้าสู่จีนได้

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่น่าติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น 

1. ความสงบในทะเลแดง ซึ่งกลุ่มฮูตียังคงทวีความรุนแรงในการโจมตีเรือสินค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้การขนส่งทางเรือต้องอ้อมไปยังแหลมกู๊ดโฮป ซึ่งใช้ระยะเวลาและระยะทางมากขึ้น และค่าระวางเรือยังไม่มีแนวโน้มลดลงได้ในเวลาอันสั้น  

2.รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาตรการจำกัดชั่วโมงทำงานล่วงเวลาของพนักงานขับรถบรรทุก ทำให้การกระจายสินค้าภายในประเทศญี่ปุ่นขาดช่วงเนื่องจากพนักงานขับรถบรรทุกไม่เพียงพอ และอาจต้องใช้เวลาปรับตัวอีกระยะหนึ่ง จึงอาจกระทบต่อสินค้าที่ 

ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็มีการดำเนินการของกระทรวงพาณิชย์ที่น่าตามองและอาจเป็นโอกาสมองผู้ประกอบการกิจโลจิสติกส์ในอนาคต คือการเชื่อมโยงการค้ากับคาชัคสถานเพื่อเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างไทยกับคาซัคสถาน ซึ่งเป็นประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชียกลาง และเป็นฉุดยุทธศาสตร์สำคัญทางโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคอื่น ๆ 

ขณะเดียวกัน โดยเฉพาะเข้าสู่ทวีปยุโรปผ่านการขนส่งทางบก เช่น รถไฟส่วนของสหภาพยุโรป ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ชาติสมาชิก เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาเครือข่ายทางรถไฟครอบคลุมสมาชิกสหภาพยุโรป รวมถึงสเปน ซึ่งสามารถเป็นหนึ่งในช่องทางกระอายสินค้าที่สำคัญของไทยสู่สหภาพยุโรปได้ในอนาคต