กรมส่งเสริมการค้าระหง่างประเทศ รายงานว่า ช่วงปี มกราคม – สิงหาคม 2567 ไทยส่งออกสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปทั่วโลก เป็นอันดับ 1 มีมูลค่าการส่งออก 20,809 ล้านดอลลาร์ หรือ 6.8 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10.55% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย และมีการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นใน 4 ประเทศยุโรปใต้ พบว่าเป็นการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่
ทั้งนี้ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญอันดับ 23 มีมูลค่า 19.5 ล้านดอลลาร์ โดยกรีซนำเข้ารถยนต์ขนส่งสินค้า มูลค่า 219.2 ล้านดอลลาร์ ขณะที่กรีซนำเข้ารถยนต์ขนส่งสินค้าจากไทยเป็นอันดับ 8 มีมูลค่า 10.9 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งชาติ เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคม 2567 การผลิตรถยนต์ในอิตาลี มีจำนวนประมาณ 23,000 คัน ลดลง 54.7% เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2566 และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 มีการผลิตรถยนต์ในอิตาลี 225,000 คัน ลดลง 35.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าเดือนกรกฎาคม 2567 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ของอิตาลีโดยรวมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ -24.8%
ขณะที่ ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ของอิตาลีโดยรวม หดตัว 17.6% ดัชนีการผลิตยานยนต์ หดตัว 21.8% และดัชนีการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ หดตัว 18.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
สำหรับแนวโน้มการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบจากไทยมายังประเทศยุโรปใต้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปอื่น ๆ ที่อยู่ในภาวะหดตัว เช่น สหราชอาณาจักร -49.01% เนเธอร์แลนด์ -4.24% ฝรั่งเศส -46.59% ออสเตรีย -62.48% และสวิตเซอร์แลนด์ -51.02% และหากพิจารณาตัวเลขการนำเข้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบจากไทยของอิตาลีในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงขึ้นโดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ารถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุก
ขณะที่ การผลิตของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในอิตาลีหดตัวลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้งานรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการบรรทุกขนส่งหรือการเกษตร ดังนั้น ปี 2567 คาดว่า สถานการณ์การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบจากไทยมายังอิตาลี จะยังคงมีแนวโน้มเติบโตเช่นเดียวกับกรีซ ไซปรัส และมอลตา
นอกจากนี้ แนวโน้มความต้องการยานยนต์กิจการพิเศษ ซึ่งออกแบบตามความต้องการพิเศษ เพื่อใช้ในภารกิจพิเศษ เช่น กิจการทหาร การบรรเทาสาธารณภัย เริ่มเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นในตลาดยุโรป เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างสูงสุด เช่น รถยนต์ Cyber truck ของ Tesla
อย่างไรก็ดี หากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของไทยที่สนใจเจาะตลาดรถยนต์ SPV ในยุโรปใต้เพิ่มมากขึ้น อาทิ ไซปรัส กรีซ มอลตา ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึกของประเทศนั้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม วัฒนธรรม รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในประเทศ และกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าดังกล่าวมายังยุโรปใต้ เนื่องจากเป็นตลาดใหม่ที่ยังมีจำนวนคู่แข่งไม่สูงมาก ในขณะที่ ตลาดรถยนต์ในอิตาลียังคงเป็นตลาดที่ค่อนข้างท้าทายแก่ผู้ส่งออกไทย เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ในอันดับต้น ๆ ของโลก
ทั้งนี้ ไทยถือเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่มีศักยภาพของโลก ดังนั้น ผู้ส่งออกสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยที่มีความสนใจ ในการขยายการส่งออกสินค้าดังกล่าวมายังตลาดในยุโรปใต้ ควรเข้าเยี่ยมชมงานแสดงสินค้ารถยนต์ที่สำคัญ