“บังกลาเทศ” เคยเป็นตลาดนำเข้าข้าวนึ่งที่สำคัญของไทย ดังนั้น การประกาศปรับลดภาษีนำเข้าข้าวนึ่งของบังกลาเทศ จึงเป็นโอกาสดีสำหรับข้าวนึ่งไทยที่จะเข้าไปชิงส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวนึ่งในบังกลาเทศอีกครั้งหนึ่ง
ล่าสุด สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงธากา รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศ โดยกระทรวงการคลังบังกลาเทศ ได้เผยแพร่ประกาศเลขที่ S.R.O. No-364-AIN/2024/93/Customs ว่าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีนำเข้าชั่วคราว สินค้าพิกัด 1006.30.99 ชนิดสินค้าข้าวนึ่งและข้าวขาว (ข้าวธรรมดาที่มิใช่ข้าวหอม) โดยลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร (Custom Duty) เหลือร้อยละ 15 จากอัตราปกติร้อยละ 25 และอากรควบคุมสินค้านำเข้า (Regulatory Duty) เหลือร้อยละ 5 จากอัตราปกติร้อยละ 25 ส่งผลให้อัตราภาษีรวม (Total Tax Incidence) ของสินค้าพิกัดดังกล่าวลดลงเหลือร้อยละ 25.00 (จากอัตราภาษีรวมปกติร้อยละ 62.50) การลดหย่อนอัตราภาษีใหม่นี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
สาเหตุการลดภาษีนำเข้า เนื่องจากบังกลาเทศต้องการกระตุ้นให้ภาคเอกชนนำเข้าข้าวจากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในตลาดภายในประเทศ และตามราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศฉบับดังกล่าวนั้น กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดให้ผู้นำเข้าแต่ละรายที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต้องสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อแจ้งขอใช้สิทธิต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องแจ้งปริมาณนำเข้า ช่วงเวลานำเข้า ทั้งนี้บังกลาเทศจะมีการประกาศลดหย่อนภาษีนำเข้าข้าวเป็นช่วงๆ ตามสถานการณ์ในประเทศ ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสของผู้ส่งออกข้าวนึ่งและข้าวขาวของไทยพิจารณาการส่งออกข้าวไปบังกลาเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงาน ณ เดือนกันยายน 2567
ทั้งนี้ ประเทศผู้นำเข้าข้าว อาทิ อินโดนีเซีย อิรัก มาเลเซีย เคนยา และจีน มีแนวโน้มนำเข้าข้าวลดลง สต็อกข้าวโลก ปลายปี 2567/68 คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 177.43 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.74 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.42 จากปีการผลิต 2566/67 ที่มีปริมาณ 176.69 ล้านตัน โดยจีนมีสต็อกข้าวมากที่สุด ปริมาณ 104.00 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีสต็อกข้าว 103.00 ล้านตัน รองลงมา คือ อินเดีย 38.50 ล้านตัน อินโดนีเซีย 4.22 ล้านตัน ฟิลิปปินส์ 3.60 ล้านตัน และไทย 2.75 ล้านตัน